วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2552

เล่าเรื่องพื้นๆ ตอนที่ 3 พื้นไร้คาน (Flat Slab)

ต่อตอนที่ 3 นะครับ


1.3. พื้นไร้คาน (Flat Slab)

พื้นชนิดนี้ก็คือ พื้นคอนกรีตหล่อในที่เหมือนพื้นออนบีมนั่นเอง แต่เป็นการออกแบบคนละระบบกัน เพียงแต่ว่าพื้นไร้คานเป็นพื้นที่ทำการออกแบบโดยไม่ได้มีการถ่ายน้ำหนักไปยังคาน (ชื่อมันก็บอกอยู่แล้วว่าพื้นไร้คาน มันจะมีคานได้ไง 55)

ทีนี้หลายคนคงสงสัยว่า เอ๊ะ พื้นไร้คานแล้วมันจะอยู่ได้มั๊ย แข็งแรงมั๊ย ตอบคืออยู่ได้ครับ และพื้นแบบนี้อาคารขนาดใหญ่นิยมทำมากกว่าพื้นออนบีมซะด้วยซ้ำ คำถามต่อมาคือ

“อ้าวถ้างั้นบ้านทั่วๆไปทำไมถึงไม่นิยมใช้ล่ะ เห็นไปที่ไหนก็คานตรึม ถ้าไม่มีคานได้ แล้วจะสร้างคานไปทำไม”

ตอบคือ ผมว่ามันอยู่ที่ความคล่องตัวของผู้ออกแบบมากกว่าครับ เช่นอาคารขนาดเล็กพวกบ้าน, สำนักงาน ลักษณะรูปแบบการวางผังของอาคารจะไม่เป็นกริดๆเป็นตารางๆ การออกแบบพื้นให้เป็นระบบพื้นออนบีมจะสามารถทำการถ่ายน้ำหนักได้ง่ายกว่าและทำให้โครงสร้างโดยรวมประหยัดกว่า การออกแบบพื้นเป็นพื้นระบบไร้คานครับ

เพราะสมมุติฐานของการออกแบบพื้นไร้คานคือ “แผ่นพื้นที่เสริมเหล็กสองทางหรือมากกกว่า และถือเสมือนว่าเป็นแผ่นพื้นเดียวทำการถ่ายน้ำหนักไปยังหมวกหัวเสา หรือ แป้นหัวเสา และทำการถ่ายน้ำหนักไปยังเสาอีกที” ทำให้ความหนาของแผ่นพื้นไร้คานในบางช่วงต้องหนามาก และไหนยังเรื่อง ระบบการก่อสร้างที่ไม่ชำนาญ, การทำแป้นหัวเสา, การทำหมวกหัวเสา(ดูรูป)





















ต่างกันกับการออกแบบโครงสร้างให้เป็นระบบเสา,คาน คือ พื้นบางช่วงจะเป็นพื้นทางเดียว, พื้นสองทาง, พื้นยื่น อาจเสริมเหล็กไม่เท่ากัน ทำให้ต้นทุนในการก่อสร้างถูกกว่า และผู้รับเหมาคนไทย, ช่างไทย ทำพื้นออนบีมชำนาญมาก (อาจตีลังกาทำได้) บางท่านอาจทำโดยไม่ต้องดูแบบแค่นึกภาพเอาก็ทำได้


แต่ข้อดีของพื้นไร้คานก็มีเหมือนกันครับ คือ อย่างแรกคือ เมื่อมันไม่มีคาน มันก็สามารถเพิ่มความสูงของระดับชั้นต่อชั้นได้(Floor to Floor height) (การออกแบบของอาคารเรื่องความสูงของพื้นถึงฝ้าบางโครงการมีความจำเป็นมาก เช่นพวกอาคารที่มีความต้องการจำนวนชั้นมากๆ แต่ถูกควบคุมโดยกฎหมาย ห้ามความสูงเกินเท่านั้นเท่านี้ ทำให้ระดับความสูงของชั้นแต่ละชั้นจำเป็นมาก) ที่เพิ่มได้ก็เพราะมันไม่มีคานนั่นเอง


อีกเรื่องคือลักษณะของอาคารที่เป็นกริดๆ ตารางๆ เท่ากัน ซ้ำๆกันหลายชั้น การออกแบบให้เป็นพื้นไร้คานอาจสามารถทำให้ลดต้นทุนในการก่อสร้างได้ อย่างน้อยคือเรื่องระยะเวลาการก่อสร้าง โดยเฉพาะผู้รับเหมาหรือช่างที่ชำนาญ สามารถทำได้เร็วมาก ส่วนเรื่องปริมาณวัสดุเช่นจำนวนคอนกรีตกับเหล็กเสริม ผมว่าขึ้นอยู่กับการออกแบครับว่าจะเป็นยังไง ถ้าสำหรับตัวผมที่เคยทำ ผมว่ามันขึ้นอยู่กับลักษณะอาคารมากกว่า บางอาคารก็ประหยัดได้ บางอาคารก็ไม่ครับ

วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2552

เล่าเรื่องพื้นๆ ตอนที่ 2 (พื้นออนกราวน์)

ต่อเรื่องพื้น ตอนที่2
คราวที่แล้วผมเล่าเรื่องพื้น ออนบีมไปแล้ว ก็จะต่อด้วยพื้นออนกราวน์นะครับ

1.2 พื้นคอนกรีตออนกราวน์ การที่จะเลือกใช้พื้นคอนกรีตออนกราวน์นี้ จะใช้ในกรณีเป็นพื้นชั้นล่างเท่านั้น เพราะชื่อมันบอกว่าออนกราวน์ มันก็ต้องอยู่ข้างล่างจริงมั๊ย
โดยทั่วไปการที่เลือกใช้เป็นพื้นออนก ราวน์ เหตุผลคือ ประหยัดครับ เพราะการถ่ายน้ำหนักของพื้นออนกราวน์ที่ว่าเป็นการถ่ายน้ำหนักไปยังดินโดย ตรง สามารถลดน้ำหนักที่กระทำไปยังคานและเสาได้ ทำให้สามารถลดขนาดของคาน ขนาดของเสาลงไปได้ และไหนจะตัวพื้นเองที่เสริมเหล็กน้อย ความหนาก็ไม่มาก

ดังนั้นพื้นออนกราวน์ที่อยู่ได้ คือ การบดอัดของดินที่อยู่ใต้พื้นเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดครับ (สำคัญกว่าตัวพื้นเองด้วยซ้ำ)เพราะถ้าหากดินหรือทรายที่อยู่ใต้พื้นคอนกรีต ออนกราวน์นั้นทรุด คอนกรีตก็จะเกิดการแตกร้าวได้อย่างไม่ต้องสงสัย อีกเรื่องที่อยากจะบอกคือ เรื่องเหล็กเสริมในพื้นออนกราวน์นั้นจะเป็นเพียงแค่ เหล็กเสริมกันร้าวเนื่องจากอุณหภูมิเท่านั้น ไม่ได้เป็นเหล็กเสริมที่จะออกแบบไว้สำหรับกำลังโดยตรง ดังนั้น เหล็กเสริมที่จะใช้อาจเป็นเพียงเหล็ก 6 มิล วางเป็นตะแกรง 25 เซนติเมตร ,20 เซนติเมตร หรือเป็นเหล็ก wire mesh 4 มิล หรืออาจจะเป็นเพียงแค่ไม้ไผ่ผ่าซีกก็ได้ ข้อควรระวังอีกเรื่องของพื้นคอนกรีตออนกราวน์ที่ควรรู้คือเรื่องรอยต่อ ระหว่างพื้นกับคานครับ ควรที่จะต้องเป็นรอยต่อที่แยกกันอย่างสิ้นเชิงในแง่ของโครงสร้างครับ ดูรูป


เพราะว่าถ้าเราทำการออกแบบพื้นให้เป็นพื้นคอนกรีตออนกราวน์แล้ว แต่ตัวพื้นยังวางอยู่บนคานตามรูปที่สอง พื้นที่ว่าจะกลายเป็นพื้นที่ถ่ายน้ำหนักของตัวพื้นเองลงไปยังคานที่อยู่ด้าน ใต้ทำให้พฤติกรรมของโครงสร้างผิดๆปจากที่ได้ออกแบบคำนวณไว้กลายเป็นพื้นออ นบีมทันที ภายหลังปัญหาก็จะตามมาว่าพื้นนั้นไม่สามารถรับน้ำหนักได้เนื่องจากมีคานยัน อยู่ด้านใต้ แต่ตัวพื้นเองไม่ได้ออกแบบเสริมเหล็กไว้เพียงพอที่จะรับน้ำหนัก มีเหล็กเป็นเพียงเสริมกันร้าวเนื่องจากอุณหภูมิเท่านั้น และปัญหาอีกเรื่องนึงคือ ถ้าโครงสร้าง ทั้งคาน เสาตอม่อ และฐานรากไม่ได้ออกแบบเผื่อน้ำหนัก สำหรับพื้นออนกราวน์ไว้ มันอาจมีน้ำหนักมากไปกว่าที่ควรเป็นครับ เพราะการถ่ายน้ำหนักผิดไปจากที่วิศวกรคำนวณไว้คือดันมีคานไปรับน้ำหนักพื้น ครับ

เล่าเรื่องพื้นๆ ตอนที่ 1 (พื้นออนบีม)

คราวนี้จะเล่าเรื่องพื้นสำหรับใช้ในการออกแบบโครงสร้างว่าควรเลือกใช้ยังไง เช่น พื้นคอนกรีตออนบีม ออนกราวน์ พื้นสำเร็จ พื้นโพส ฯลฯ คงมี ผู้ออกแบบหลายคน สงสัยว่าการก่อสร้างอาคารๆนึง มีพื้นให้เลือกตั้งหลายแบบ แต่ละแบบเป็นยังไงและควรเลือกใช้ยังไงวันนี้จะเล่าคร่าวๆ ให้ฟังครับเพื่อที่จะนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง และเพื่อความประหยัดครับ

พื้นเป็นโครงสร้างที่สำคัญมีหลายแบบหลายวัสดุ ผมจะขอแยกประเภทไว้คร่าวๆดังนี้ แล้วจะเล่าที่ละอันให้ฟังครับ
1. พื้นคอนกรีตหล่อกับที่

1.1 พื้นคอนกรีตออนบีม
1.2 พื้นคอนกรีตออนกราวน์
1.3 พื้นไร้คาน

2. พื้นคอนกรีตอัดแรง

2.1 พื้นคอนกรีตสำเร็จรูปชนิดอัดแรง
2.2 พื้นคอนกรีตโพสเทนชั่น

3. พื้นไม้

เริ่มเลยนะครับ

1. พื้นคอนกรีตหล่อกับที่ ก็ตามชื่อที่บอกแหละครับ คือพื้นที่หล่อเอง ทำแบบหล่อเอง วางเหล็กเทปูนเอง ไม่ได้หล่อจากที่อื่นแลล้วยกมาวาง ผมขอแยกเป็น 3 แบบละกันนะครับ

1.1 พื้นคอนกรีตออนบีม น่าจะเป็นพื้นที่นิยมใช้มากที่สุด เพราะช่างไทยคุ้นเคย และมีประสบการณ์ในการทำพื้นมาแทบจะเรียกได้ว่าหลับตาทำก็ ชื่อมันก็บอกอยู่แล้วครับว่า ออนบีม มันก็แปลอยู่แล้วว่าวางอยู่บนคาน คือมีการถ่ายน้ำหนักจากพื้นไปสู่คาน โดยอาจแบ่งวิธีการถ่ายน้ำหนักของพื้นได้สองแบบ คือ พื้นทางเดียว กับพื้นสองทาง ทีนี้ถามว่าแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าป็นพื้นทางเดียวหรือพื้น สองทาง ตอบคือ วิธีการตรวจสอบ ถ้าเอาความยาวของพื้นด้านสั้นไปหาร ความยาวของพื้นด้านยาว แล้วได้ค่ามากกว่า 0.5 แล้วแสดงว่า เป็นพื้นสองทาง














น้ำหนักของพื้นและน้ำหนักที่อยู่บนพื้นจะถ่ายไปยังคานตามลูกศรชี้คือในกรณีของพื้นสองทาง น้ำหนักของพื้นในพื้นที่สีน้ำเงินจะถูกไปยังคานสีน้ำเงิน พื้นสีเขียวจะถูกถ่ายไปยังคานสีเขียว ส่วนพื้นสองทางการถ่ายน้ำหนักจะแบ่งครึ่งกันไปยังคานแต่ละฝั่งเท่าๆกันครับ

ข้อดีของพื้นออนบีมคือ ข้อแรก พื้นจะไม่ทรุดเหมือนพื้นออนกราวน์ครับเพราะการถ่ายน้ำหนักของพื้นจะไปอยู่บนคานและคานจะถ่ายน้ำหนักไปยังเสาอีกที แต่พื้นออนกราวน์นั้น อยู่ในสมมุติฐานว่าน้ำหนักทั้งหมด ถ่ายไปยังดินโดยตรงไม่ได้วางบนคาน

ข้อดีอีกข้อหนึ่งของพื้นออนบีม คือ ในกรณีที่ใช้เป็นพื้นชั้น 2 จะไม่มีปัญหารั่วซึมของน้ำครับ เห็นได้ว่า แบบบ้านทั่วๆไปที่เป็นพื้นสำเร็จรูปวาง วิศวกรจะหลีกเลี่ยงการวางพื้นสำเร็จบนพื้นห้องน้ำ และพื้นระเบียงเพื่อป้องกันปัญหาการรั้วซึมของน้ำ แต่ขอย้ำไว้หน่อยนะครับ คุณสมบัติพื้นฐานของคอนกรีตเป็นวัสดุที่ไม่สามารถป้องกันการรั่วซึมของน้ำได้ครับ ดังนั้น การป้องกันการรั่วซึมจะสามารถกันได้ระดับหนึ่งเท่านั้น ไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์

สำหรับข้อควรรู้อีกข้อหนึ่งสำหรับพื้นคอนกรีตออนบีมอีกเรื่องหนึ่งคือ ระยะเวลาการถอดค้ำยันของพื้นครับ เพราะว่าการที่คอนกรีตจะรับกำลังได้เต็ม 100 % นั้นคือ ระยะเวลา 28 วัน ดังนั้นเวลาการที่จะสามารถถอดค้ำยันได้อย่างน้อยๆคือ 14 วันครับ เพราะเป็นระยะเวลาที่คอนกรีตพื้นสามารถรับกำลังได้แล้วเกิน 70% แต่ก็ต้องค้ำยันด้วยเสาไม้ไว้เป็นช่วงๆคือ ทำเป็นไม้ป็อบค้ำไว้ จนกว่าจะครบ 28 วันคอนกรีตจึงจะสามารถรับน้ำหนักไว้เต็มที่ ดังนั้น ในการเลือกที่จะใช้คอนกรีตออนบีม เรื่องที่ควรพิจารณาคือ แผนการก่อสร้างครับ คือสมมุติว่าพื้นที่เทคอนกรีตออนบีมไว้นั้นเป้นพื้นที่ไม่ได้อยู่ชั้นล่าง อาจอยู่ชั้นสอง ชั้นสาม จำเป็นต้องรอเวลาถึง 14 วันหลังเทคอนกรีตจึงจะสามารถถอดแบบหล่อคอนกรีตด้านล่างได้ ดังนั้นในช่วงเวลาการรอ 14 วันช่างจะไม่สามารถทำงานก่ออิฐหรืองานอื่นๆได้เลย ทำให้ผู้รับเหมาส่วนใหญ่ จึงอยากหลีกเลี่ยงพื้นออนบีม ไปใช้พื้นสำเร็จกัน อีกอย่างคือเรื่องต้นทุนของการวางพื้นสำเร็จ ก็อาจถูกกว่าเมื่อเทียบกับ พื้นหล่อกับที่ ในเรื่องของไม้แบบ และเรื่องของ ระยะเวลาการก่อสร้างครับ


วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2552

การก่อสร้างอาคารบนบ่อปลาเก่า อันตรายนะขอเตือน

เป็นเรื่องการทรุดตัวที่ไม่เท่ากันของฐานรากน่ะครับ

มีอาคารอยู่แห่งหนึ่งในต่างจังหวัด ถ้าจำไม่ผิดอยุธทยา ครับ
วิศวกรออกแบบไว้เป็นเข็มลึก 8 เมตรโดยไม่รู้ว่าที่ๆ จะทำการก่อสร้างเป็นบ่อปลาเก่า ที่ถมดินไว้แล้ว
ผังอาคารออกแบบไว้บางส่วนอยู่บนดินธรรมดา บางส่วนอยู่บนบ่อปลาเก่าที่ว่า
ตอนตอกเข็มเจ้าของก็ไม่รู้ว่าจะต้องดูอะไรบ้าง ก็ปล่อยให้สร้างอาคารไปจนเสร็จ

ดูรูปนะครับ


จริงๆแล้วคนตอกเข็ม ต้องรู้ครับว่าชั้นดินเป็นยังไง และต้องแจ้งเจ้าของงานให้เปลี่ยนความยาวเข็ม
แต่คนตอกเข็มเป็น คนงานครับเขาไม่สนหรอกว่า ชั้นดินเป็นยังไงสร้างอาคารอะไรยังไม่รู้เลย เขาให้ตอก 8 เมตร ก็ 8 เมตร ห่วงแค่ว่ากี่วันจะเสร็จ ตรงไหนดินนิ่มๆ สบายเลย

ถ้างานไหนมี คนคุมงานก็รำคาญนิดหน่อยแค่นั้น งานเสร็จช้าลงนิดนึง

ทีนี้ตอนอาคารสร้างเสร็จใหม่ๆ ทาสีก็สวยดีครับ ผ่านไปสัก 4-5 เดือนเริ่มเห็นผล
ผนังเริ่มร้าว ก็ตามผู้รับเหมามาซ่อม ซ่อมรอยฉาบผนัง ซ่อมเสร็จก็ร้าวอีก ไปๆมาๆ สัก 2 รอบเริ่มเอะใจ
พอดีผมได้มีโอกาสเข้าไปดู ก็ถามข้อมูลการก่อสร้าง มันก็ปรกติดี ผู้รับเหมาเป็นเพื่อนกันกับผมครับไว้ใจได้ว่าไม่มั่ว ถามข้อมูลดินแถวๆนั้นก็ได้ความว่า ตอกกัน ประมาณนี้ แต่ผมดูลักษณะการร้าวของอาคารมันฟ้องว่า เกิดจากการทรุดตัวไม่เท่ากันของฐานรากแน่ๆครับ ตามตำราที่เรียนมาจากอาจารย์ว่า
กำแพงที่ร้าวเป็นรอยแนว 45 องศา จากมุมอาคารนึงไปอีกมุมอาคารนึง มันเกิดจากการทรุดตัวไม่เท่ากัน
เลยทดลองเจาะดินไปตรวจดู เลยรู้ว่าชั้นดินมันแปลกๆ ถามไปถามมาเลยรู้ว่า มันคือบ่อปลาเก่า

เจ้าของตอนแรกก่อนรู้สาเหตุว่าเป็นบ่อปลาโวยมาก ผู้รับเหมาห่วย คนออกแบบห่วย วิศวกร สถาปนิกทั้งทีมไม่ได้เรื่อง พาล ไปถึงเรื่องฮวงจุ๊ย ว่าไม่ดี จะให้รับผิดชอบให้ได้ พอรู้ตอนหลังก็อ่อนลง ผมจำไม่ได้ว่าเจ้าของงานหรือผู้รับเหมาเป็นคนจ้างผู้รับเหมาตอกเข็ม

แต่สรุปก็ยังไงก็ให้ผู้รับเหมาเพื่อนผมรับผิดชอบ ไม่จ่ายเงินประกันผลงาน ผู้ รับเหมาก็รับผิดชอบไม่ไหวครับ และก็ไม่ได้ตั้งใจให้เกิดด้วย สุดท้ายเจ้าของไปซ่อมเอง ยึดเงินประกัน และผมก็ไม่ได้เข้าไปดูอีกเลยครับว่าเขาซ่อมยังไง เพราะผมเข้าไปดูในฝ่ายตัวโกงครับ(เพื่อนผู้รับเหมา) ไม่ใช่ฝ่ายพระเอก เข้าไปอีกรอบอาจโดนด่า

ที นี้ เพื่อนๆอาจสงสัยว่าการแก้ไขต้องทำไง ตอบคือ ยาวครับ ต้องทำการเสริมเสาเข็ม เป็นเข็มเจาะ และเสริมฐานราก ส่วนที่อยู่บนบ่อปลาใหม่ทั้งหมด
อาคารที่เสร็จแล้วต้องรื้อ ฟินิชชิ่งใหม่ ทำพื้นใหม่ ทาสี ทำฝ้า

ดินทรุดจากการถมที่ก่อนการสร้างบ้านทำยังไง ตอนที่ 2

งั้นมาต่อกันนะครับ

ว่าการทรุดตัวที่ไม่เท่ากันของฐานรากมีผลยังไง
ตอบคือ มีผลร้ายแรงมากครับ คืออาจทำให้อาคารวิบัติ หรือพังมาทั้งหลังได้ครับ

ดูรูปนะครับ
สมมุติว่าอาคารนึงสร้างมา โดยที่ตอกเข็มลงไปในชั้นดิน ที่คิดว่าแข็งแล้ว แต่เราไม่รู้ว่าชั้นดินที่อยู่ใต้ดินเป็นยังไง
เล้วเกิดมีอยู่เสาเข็มนึง ปลายเข็มยังอยู่บนชั้นดินอ่อน ด้วยสาเหตุอะไรก็แล้วแต่ แต่ปลายเข็มอื่นๆมันอยู่บนชั้นดินแข็ง
มันจะเป็นสาเหตุทำให้อาคารเกิดการทรุดตัวไม่เท่ากันครับ
เพราะว่า เมื่อ การก่อสร้างอาคารเสร็จสักพักจะมีน้ำหนักมากดทับลง ตามที่วิศวกรคำนวนไว้ แต่ ฐานรากจุดนั้นรับไม่ได้
มันก็จะเกิดการทรุดตัวไม่เท่ากัน

ทีนี้สาเหตุของการที่เข็มไม่ได้วางอยู่บนชั้นดินมีหลายสาเหตุครับ
เช่น ผู้รับเหมาตอกเข็ม มักง่ายไม่ตอกไปจนถึงชั้นดินแข็งที่ว่า ตอกๆไปพอดูปลายเข็มที่อยู่บนดินว่าเท่าๆักันก็หยุดตอก แบบว่าเหนื่อยและไม่มีคนดู
เขาเรียกว่าลักไก่ครับ
เพราะการคุมงานตอกเข็มจะต้องทำการ check blowcount ทุกต้นครับว่ามันถึงชั้นดินแข็งหรือยัง
อธิบาย วิธีการเชคง่ายๆคือ ดูว่าถ้าตอกหลายๆทียังไม่ลงก็แสดงว่าแข็งแล้ว แต่รายละเอียดมีมากกว่านั้นครับและต้องอาศัยการคำนวน เช่นต้องรู้น้ำหนักตุ้ม
ต้องคำนวนหา ระยะยกของแต่ละุตุ้ม จึงจะรู้คร่าวๆว่าเขมต้นนั้นรับน้ำหนักได้เท่าไร

เพื่อนๆอาจเคยเห็น Site งานบางที่่ ที่ตอกเข็มเสร็จใหม่ๆยังไม่ตัดหัวเข็ม จะเห็นปลายเข็มโด่มาพ้นดินไม่เท่ากัน บางที่โด่มาเป็นเมตร
บางหลุมตอกไปจนหมดเข็ม ก็ยังต้องใช้เสาส่งลงไปใต้ดินอีก

นั่นคือสาเหตุที่ไม่ทำการตรวจสอบชั้นดินก่อนครับ ถ้ามันโผล่มามาก ก็เปลืองเพราะว่าต้องตัดทิ้ง ถ้าลึกไปใต้ดินอาจมีปัญหาอีก

นี่แค่สาเหตุนึงนะครับ
ยังมีเรื่องเข็มหักระหว่างขนย้าย เรื่องชั้นดินที่คาดไม่ถึง ไม่ได้เตรียมเข็มไว้พอ

มีเรื่องตลกเล่าให้ฟังครับ
มีผู้รับเหมาท่านนึง มารับงานก่อสร้าง บ้านน้องที่รู้จักกัน แล้วน้องเขาให้ผมเข้าไปดูงานให้เพราะมีปัญหา
เรื่อง คือ ในแบบ เข็มจะต้องตอก 18.00 เมตร ฐานละ 1 ต้น แต่มีอยู่ฐานนึง เข็มหักระหว่างขนย้าย และเหลือเข็มเศษ ผู้รับเหมาจึงเอาเข็มต้นที่หักยาวแค่ 9 เมตร 2 ต้น และเสริมเข็มใหม่ยาว 6 เมตรแถมให้อีกต้น แล้วบอกเจ้าของบ้านว่าขาดทุนนะเนี่ย ต้องตอกตั้ง 3ต้น
เจ้าของบ้านก็ไม่รู้เรื่อง โอเคไปเพราะเห็นว่า ได้เข็มรวมตั้ง 24 เมตร คุ้ม
ผลคือ อนาคตบ้านทรุดแน่ครับเพราะเข็มทั้ง 3 ต้นที่ว่าไม่ได้วางอย่บนชั้นดินแข็งเลย
วิศวกรคุมงานก็ไม่เคยมาดู ร้องไปถึงสภาแน่ะ น้องเขาเอาไปโพสในพันทิพย์ ด่าผู้รับเหมาแหลก
ต้องแก้ไข กันยาว

ดินทรุดจากการถมที่ก่อนการสร้างบ้านทำยังไง ตอนที่ 1

ดินทรุดตัวเป็นเรื่องใหญ่ครับ ถ้าทำไม่ดีโอกาสเสี่ยงสูงครับ

การทรุด ตัวของดินถ้าอยู่ในสมมุติฐานว่ามันทรุดเท่ากันหมดก็ไม่พรือครับ ถ้าฐานรากรับน้ำหนักได้สร้างไปก็ไม่เป็นไรครับแต่ที่น่ากลัวที่สุด
คือการทรุดตัวไม่เท่ากันของฐานราก พังมาเยอะแล้ว

คืองี้ครับ อรัมภบทหน่อยนะครับ
ทีู่้รู้ๆกันคือการรับน้ำหนักของโครงสร้างอาคารจะถ่ายน้ำหนักของอาคารทั้งหมดที่มีไปที่ฐานราก
และฐานรากจะมีอยู่สองอย่างคือ ฐานรากแผ่ กับฐานรากแบบเสาเข็ม จะเลือกแบบไหนตอบง่ายนิดเดียว
คือว่าน้ำหนักอาคารที่ลงไปแต่ละฐานรากมีเท่าไร เอาไปลบกับการรับน้ำหนักของดินตรงนั้น ว่ารับได้ไหวหรือป่าว
ถ้ารับได้ก็ใช้ฐานแผ่ ถ้ารับไม่ได้ก็ต้องเป็นเสาเข็มทิ่มลงไปอยู่บนที่ชั้นดินที่แข็งกว่า

ทีนี้ไปดูเสาเข็มการรับน้ำหนักของเสาเข็มมันก็มีสองส่วนคือ รับน้ำหนักที่ปลายเข็มกับ กับแรงฝืดรอบเข็มอย่างไหนมากกว่ากัน
ตอบคือถ้าปลายเข็มไปนั่งอยู่บนชั้นดินแข็งนะ จะรับน้ำหนักได้เป็นหลายเท่าของแรงฝืดเลยทีเดียว


















ทีนี้จะรู้ได้ไงว่าดินตรงนั้นเป็นยังไงรับได้เท่าไร ต่อให้วิศวกรเก่งแคไหนมาดูหน้างานก็ไม่รู้ครับ มั่วเอาทั้งนั้น
นอกจากการทำการทดสอบ

คือสภาพดินที่อยู่ใต้ดินมันไม่เท่ากันครับ (ไม่เรียบเหมือนผิวดิน)ตามรูป













แล้วการทดสอบก็มีหลายอย่างครับคือว่าเราอยากรู้อะไรและอยากรู้แม่นแค่ไหน ยิ่งแม่นมากก็แพงมากครับ
เช่น อยากรู้ว่าเราจะวางฐานรากแผ่ที่ระดับลึกจากผิวดินไป 1 เมตร ดินจะรับน้ำหนักได้เท่าไร ก็ต้องขุดเอาดินตรงนั้นไปทดสอบ หาค่าความหนาแน่นของดิน ฯลฯ แล้วคำนวนหา
การรับน้ำหนักของมันครับ แต่ถ้า่อยากรู้แบบแม่นๆ ก็ ต้องเอาน้ำหนักจริงมากดแล้ว ค่อยๆเพิ่มๆดูว่ามันพังที่กี่ตัน
ผมเคยทำงานที่โรงกลั่น จ้างคนมาทดสอบ เอาแมคโคตัวใหญ่มากด รอหลุมละครึ่งวัน หลุมละหลายบาทเลย แล้วเขาอยารู้ทุกจุดด้วยนะ บาน

แต่ ที่คนส่วนใหญ่ทำการทดสอบการรับน้ำหนักของดินกันคือ การทำ Borring Log คือการเจาะเอาดิน โดยใช้ปั้นจั่นตัวเล็ก เจาะเอาดินมาแล้วทำบันทึกชั้นดินแต่ละชั้น
แล้วเก็บตัวอย่างไปทดสอบในแลป ว่ามีดินแต่ละชั้นเป็นไงมีคุณสมบัติยังไง แล้วเอามาคำนวน หาการรับน้ำหนักของดิน อยากรู้กี่จุด ก็สั่งได้ตามงบ

บางคนต้องการจะรู้ว่าเขาจะต้องตอกเข็มยาวเท่าไรเขาก็สั่งเข็มยาวๆมาลองตอกดูเลยครับ ตอกหลายๆจุดบน site เพราะใต้ดินไม่เหมือนกัน
เรียกว่า pilot test แล้วเอาค่าการทรุดตัวของเสาเข็มในแต่ละตุ้มที่ตอกลงไป โดยนับจำนวนตุ้มเทียบกับการทรุดของเสาเข็มเท่าไร
มาคำนวนการรับน้ำหนัก เรียกว่า Blow count ตอกเสร็จไม่มั้นใจเข็มเทสเข็มอีก แล้วแต่ความกลัวครับ

ที่ง่ายหน่อยคือ ถามข้างเคียงครับว่าเขาใช้เข็มเท่าไร แต่ได้แค่ใกล้เคียงนะครับ
กับอีกวิธีนึงคือถามบริษัทตอกเข็ม เจาะเข็ม เจ้าถิ่นครับ ถามข้อมูลว่าพอรู้ไหม ว่าดินแถวไซด์เราเป็นไง ตอกได้เท่าไร

เรื่องเทสมีอีกเยอะครับ

เสริม นิดนึงครับ การหาค่าความหนาแน่นของดินในสนาม (Field Density ) จะทราบผลแค่ผิวดินส่วนที่ทำการทดสอบเท่านั้นครับว่าแน่นหรือเปล่า
เป็นผลหยาบๆ เพราะเป็นการทดสอบในสนาม คร่าวๆเทียบกับผลในห้องแลป ที่ดินตรงนั้นสามารถทำบดอัดได้สูงสุดเท่าไร เทียบเป็นเปอร์เซนต์เอา
เช่น 90 - 95% เทียบกับ ผลที่ทดสอบในแลป
วิธี ทำ สนุกดีเหมือนทำกับข้าวคือใช้ช้อนตักดินในหลุมจำเพาะขึ้นมา แล้วเอาไปคั่วในกระทะ เตาแกสปิ๊กนิ๊ก หาค่าความชื้น ตอนทำคนมาลุ้นเยอะ
ส่วนใหญ่เอาไว้ใช้กับงานถนนครับเพราะว่าเขาต้องการรู้เดี๋ยวนั้นว่า รถมันบดได้แน่นพอยัง

ต่อตอน 2 ครับ http://my-construction-knowledge.blogspot.com/search/label/ดินทรุดจากการถมที่ก่อนการสร้างบ้านทำยังไง ตอนที่ 2

ดินทรุดในบริเวณที่ดินเรา ป้องกันยังไง

มีคนถามมาว่า ดินที่ถมภายในเขตที่ดินเราทรุดต้องทำยังไง

ผมลองตอบดูนะครับว่า ว่าตรงกับที่สงสัยหรือเปล่า

คือที่ดินมันทรุด น่ามีสาเหตุมาจาก ดินภายในมันไหลออกไป ข้างนอกครับ
คือมันอาจไหลออกไปทางด้านข้าง ดังนั้นเราจึงควรทำกำแพงกันดินเพื่อกัน
ไม่ให้ดินมันไหลออกไป

กับอีกสาเหตุนึงคือ ดินทรุดเนื่องจาก ดินที่ถมใหม่
ไม่ได้อัดให้แน่น ดินที่ถมไว้ด้านล่างเป็นก้อนดินแข็งๆใหญ่ๆ แล้วปาดด้านบนเรียบ ดูแรกๆก็สวยดี
แต่พอนานๆไปดินด้านล่างที่เป็นก้อนเริ่ม แตก และอัดแน่นขึ้น ด้านบนเลยทรุดเป็นเหมือนโพรงกระต่ายในป่าครับ ถ้าเป็นอย่างนี้แก้ง่าย แค่ถมดินใหม่ก็จบ


ส่วนวิธีทำกำแพงกันดินมีหลายวัสดุให้เลือกใช้ขึ้นอยู่กับงบ และก็ความสูงที่ต่างระดับกันของ ที่ข้างเคียง
ถ้าเอาจริงๆมันสามารถหาได้ครับ โดยต้องคำนวน หาความลึก ของเสาเข็ม หาระดับน้ำใต้ดิน, หาคุณสมบัติของดิน ยาวครับ

ที่ดีที่สุดคือ ผูกเหล็ก เทคอนกรีต
รองลงมาก็แผ่นพื้น
ที่แย่หน่อยก็ก่ออิฐ
เคยเห็นตามคันนาเป็นไม้ไผ่ก็ได้เหมือนกัน
ถ้าแบบพอเพียงก็ปลูกหญ้าแฝก ในแนวสโลบ(ตามในหลวง)

ส่วนราคาเอาที่เคยทำนะครับ ถ้าเป็น กำแพงกันดินแบบวางแผ่นพื้น ความสูงดิน ภายในกับภายนอกสูงต่ำกันประมาณ 1.00
ราคา อยู่ที่ประมาณ 1800 บาท ต่อเมตร ความยาวอยู่ที่ 400 เมตร ถ้างานน้อยต้องเหมาครับ

ลองดูรูปนะครับ
กำแพงกันดินแบบจริงๆ ที่ทำกันทั่วไป

สาเหตุที่ต้องทำเพราะ ระดับดินของเรากับที่ข้างเคียงต่างกัน
และเราไม่อยากถมดินเผื่อแผ่ไปยังที่ข้างเคียง

แต่ในกรณีย์ ที่ไม่อยากทำกำแพงกันดิน มีอีกทางเลือกก็คือ
ถมดินแถมให้ที่ข้างเคียงล้ำออกไปสัก 0.50 - 1.00 เซนต์
แล้วโสลบลงไปชันสัก 45 องศา เสร็จแล้วค่อยทำ รั้วด้านบนในเขตที่เรา

วิธีการตรวจสอบคุณภาพของคอนกรีต

ต่อเรื่องวิธีการตรวจสอบคุณภาพของคอนกรีต

ผมจะเล่าวิธีการทำงานในโครงการใหญ่ๆ ที่ผมเคยทำนะครับ ส่วนโครงการเล็กๆก็เอามาประยุกต์ใช้แล้วกัน
ก่อน อื่นต้องบอกก่อนว่าคอนกรีตที่ผสมมือ โดยให้ช่างตวงปูน ตวงทราย เป็นบุ้งกี้นั้นไม่สามารถ ควบคุมคุณภาพได้เลย อย่างมากกำลังอัดคอนกรีตที่ได้เต็มที่ประมาณ 120 ksc

และก็การออกแบบ มิกซ์ดีซายน์ที่ว่าไปแล้วนั้น อันดับแรกคือต้องคำนึงถึงคือ อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ครับ ที่พูดมานี้กำลังจะบอกว่าปริมาณน้ำมีผลอย่างมากในการรับกำลังของคอนกรีต ถ้าคอนกรีตเหลวก็จะยิ่งรับกำลังได้น้อยลง ดังนั้นการตรวจสอบคุณภาพของคอนกรีตในหน้างาน ก็จะดูเรื่องปริมาณน้ำในคอนกรีตที่จะเทนี่แหละครับ

อันดับแรกในโครงการใหญ่ๆ ก่อนที่จะลงมือก่อสร้าง เขาต้องคิดก่อนนะครับว่าจะซื้อคอนกรีตที่บริษัทอะไรดี หรือแพลนท์ไหนดี
นอกจากเรื่องราคาแล้วสิ่งที่จะต้องรู้คือคุณภาพของคอนกรีตที่จะออกจากแพลนท์นั้นว่ามีคุณภาพหรือเปล่า

วิธี การทดสอบคือให้ที่แพลนท์ปูนลองผสมคอนกรีตแล้วเอาไปอัดดูให้หน่อยว่าได้กำลัง อัดคอนกรีตตรงหรือเปล่า ไปดูเขาทำจริงๆ ไม่ใช่รอผลเอานะครับ ตอนไปดูที่แพลนท์ผสมคอนกรีตพนักงานจะต้องพยายามสุดฤทธิ์เพื่อที่จะให้ คอนกรีตได้คุณภาพจริงๆ เพราะว่าอาจมีผลทำให้ขายได้หรือไม่ได้ตลอดทั้งโครงการ
เช่น ตรวจสอบเครื่องใหม่ วัดความชื้นของทราย หิน บางทีลงทุนเก็บกวาดสถานที่ทำงานใหม่ ให้ดูน่าเชื่อถือ
แล้วที่แพลนท์จะเก็บตัวอย่างรอ 28 วันเอาไปทดสอบ แล้วเอาผลมาโชว์ให้ดู “เห็นมั้ยบอกแล้วแพลนท์ผมเจ๋ง ยังไงก็ได้”

แต่ จากประสบการณ์ของผมนอกจากแพลนท์รถสีฟ้าที่ราคาแพงสุดแล้ว แพลนท์อื่นดูจะเหมือนว่ามีปัญหาในการจัดการ เช่นเรื่อง เอกสาร อุปกรณ์เสียบ้างไม่ครบบ้าง บางที่เทสออกมาหน้าแตกไม่ผ่านให้โอกาสลองอีกสองสามครั้งก็ไม่ผ่าน

หลัง จากทดสอบแพลนท์แล้วมาถึงตอนเทคอนกรีตจริง ขั้นตอนคือ คนขับรถปูนจะมาส่งคอนกรีตที่หน้างานแล้วเอาใบเซ็นต์รับมาให้เซ็นต์ ผู้ควบคุมงานจะต้องดูที่บิลนั้นก่อนนะครับว่ารหัสของปูนที่มานั้นเป็นตัว เดียวกับที่เราสั่งไปหรือเปล่า, เวลาที่คอนกรีตออกมาถึงที่ใช้เวลานานเกินไปจนผิดปกติหรือเปล่า(จะมีระยะเวลา ระบุอายุของคอนกรีตไว้ในบิล)

พอดูบิลแน่ใจแล้ว หลังจากนั้นผู้ควบคุมงานจะต้องขอดูตัวอย่างปูนว่าเหลวไปหรือเปล่า ทดสอบโดยการทำสลัมป์เทส(ไม่ลงรายละเอียดนะ)
เสร็จแล้วเก็บตัวอย่างซักสามลูก ฌฉลี่ยเอาก่อนนำไปเทได้ หลังจากเทเสร็จแล้วรอ 28 วันดูผลเทสว่าผ่านหรือไม่ ถ้าผ่านก็แล้วไป
แต่กรณีไม่ผ่านเรื่องใหญ่ต้องทุบทิ้ง

ยัง มีเทคนิคของผู้รับเหมาหัวใสที่เวลาคอนกรีตข้น เทยากๆ ก็จะแอบเติมน้ำในโม่ของรถปูน แบบนี้เวลาเจอต้องไล่รถคันนั้นออกไปทันทีเพราะ ไม่สามารถควบคุมน้ำืที่เติมลงไปได้

เล่าเรื่องคอนกรีต ตามแบบที่ผมรู้ครับ

ก่อนอื่นขอออกตัวก่อนนะครับว่าผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอนกรีตแต่อย่าง ใด แต่อยากขอเล่าแบ่งปันประสบการณ์ เพื่อจะมีประโยชน์กับคนอื่นบ้างครับ

คอนกรีต อย่างที่รู้ๆ กันอยู่ว่าคอนกรีตประกอบไปด้วย ปูน ทราย หิน และก็น้ำ ผสมกันในอัตตราส่วนที่เหมาะสมก็จะเป็นคอนกรีตที่สามารถรับกำลังแข็งแรงได้ มากบ้าง น้อยบ้างตามสัดส่วน ถ้าถามว่าส่วนผสมคอนกรีตจะต้องผสมทราย หิน ปูน และน้ำอย่างละเท่าไหร่ ตอบคือ แล้วแต่การใช้งานในแต่ละประเภทครับ ถ้าจะลงรายละเอียดกันจริงๆ ก็ต้องทำการออกแบบส่วนผสมเรียกว่า “มิกซ์ดีซายน์” ในมหาวิทลัยเขาเรียนเรื่อง คอนกรีตเทคโนโลยี กันเป็นเทอมๆ

ก่อน อื่นต้องรู้ว่าความแข็งแรงของคอนกรีต หรือกำลังอัดนั้น(เรียกเป็นภาษาปะกิตกันติดปากว่า Strength) มีหน่วยเป็น Ksc หรือ กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ส่วนใหญ่วิศวกรจะเรียกสั้นๆว่า fc’ (อ่านว่า เอฟ ซี พาย) เช่น fc’ = 175 ksc, fc’ = 210 ksc ทีนี้จะรู้ได้อย่างไรว่ากำลังอัดคอนกรีตของเราเป็นเท่าไหร่ ตอบอีกทีก็คือจะต้องเอาไปทดสอบในห้องแลบ วิธีการคือ เขาจะหล่อคอนกรีตตัวอย่างที่หน้างานเป็นรูปลูกบาศก์ หรือทรงกระบอก แล้วเอาไปอัดให้แตกในห้องแลบ บันทึกค่าแรงที่กดหารกับพื้นที่หน้าตัด
วิศวกรทุกสาขาเรียนกันแทบตายกับสูตรนี้แหละครับ P/A = Stress ประยุกต์กันไปมา ปวดหัวมากกว่าจะจบ

กลับ มาเรื่องคอนกรีตต่อวิศวกรจะทราบได้อย่างไรว่าจะใช้คอนกรีตทีความแข็งแรง เท่าไหร่ในแต่ละโครงสร้าง ตอบคือ มีกฎหมายกำหนดไว้ว่า กรุงเทพมหานครฯ จะต้องใช้ fc’ ไม่เกิน 145 ksc และวิศวกรรมสถานใช้ไม่เกิน 175 ksc เพื่อความปลอดภัยแต่สามารถมีข้อยกเว้นได้นิดนึงถ้าจะใช้มากกว่านี้ต้องมีผล ทดสอบแนบในรายการคำนวณครับ

การเลือกใช้ความแข็งแรงของคอนกรีตเท่า ไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้ออกแบบแต่ละท่านครับ ถ้าสำหรับผมส่วนใหญ่จะเลือกใช้กำลังอัดของคอนกรีตให้สูงกว่าปกตินิดหน่อย เช่น fc’ =210 แทนที่จะเป็น 145 เพราะจะสามารถออกแบบโครงสร้างให้ประหยัดเหล็กเสริมลงได้พอสมควร แต่มันก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ด้วย เช่น ลักษณะการทำงานของแต่ละหน่วยงานว่าจะสามารถใช้คอนกรีตที่มีกำลังอัดสูงๆนี้ ได้ทั้งโครงการหรือเปล่า เช่น ในบางครั้งหน้างานจำเป็นต้องเทคอนกรีตจำนวนน้อยๆ เช่น เทเสาสองต้นแล้วรถปูนไม่มาส่ง ต้องผสมปูนเองอย่างนี้เรียกว่าไม่ได้มาตรฐาน อันตรายมากถ้าใช้คอนกรีตกำลังสูงในการออกแบบ
แถมเรื่องคุณสมบัติของ คอนกรีตนิดนึงครับ ความแข็งแรงของคอนกรีตที่ว่า คือความแข็งแรงของคอนกรีตที่อายุ 28 วัน เพราะกำลังของคอนกรีตจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเกือบสุดที่อายุประมาณ 28 วันครับ

วิธีการ เลือกเสาเข็ม ว่ามีกี่แบบ และจะเลือกใช้ยังไง

มาต่อเรื่องวิธีการ เลือกเสาเข็ม ว่ามีกี่แบบ และจะเลือกใช้ยังไง

เท่าที่จำได้ประเภทของเสาเข็ม มีดังต่อไปนี้

1. เสาเข็ม สั้น พวกเสาเข็มไม้ หรือ เสาหกเหลี่ยมอัดแรงกลวง, ตัวไอ
2. เสาเข็มตอก เป็นคอนกรีตอัดแรงหล่อสำเร็จ จะมีหลายรูปทรง เช่น กลม เหลี่ยม ไอ เสาเข็มสปัน, เข็มเหล็ก
3. เข็มเจาะ
3.1 เสาเข็มเจาะขนาดเล็ก (สามขาหยั่ง)
3.2 เสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ (รถเครนติดหัวสว่าน คันยังกับยักษ์ เห็นตามโครงการใหญ่ๆในกรุงเทพ)
3.3 เข็มเจาะเสียบ (เจาะดิน เสียบเข็ม แล้วตอกซ้ำ)
3.4 ไมโครไพล์

นึกออกแค่นี้ครับ ใครรู้ว่ามีมากกว่านี้แนะนำด้วยครับ


จะใช้เสาเ็ข็มยังไง เอาทีละอันนะครับ
ก่อน อื่น ถ้าเป็นกรุงเทพ ฟันธง เสาเข็มแน่นอนเพราะดินอ่อน ปากแม่น้ำ ที่แถวนี้อดีตกาลเป็นทะเล ส่วนใหญ่ 90% ชั้นดินแข็ง อยู่ลึกลงไปใต้ดิน ประมาณ 19-22 เมตร ใกล้เคียงกันหมด

1. เสาเข็ม สั้น พวกเสาเข็มไม้ หรือ เสาหกเหลี่ยมอัดแรงกลวง เป็นเสาเข็มที่ใช้สำหรับงาน หรืออาคารที่รับน้ำหนักไม่มาก หรือ ฐานรากแบบตอกเข็มปูพรม เช่นพวก รั้ว บ่อปลา กำแพงกันดิน แต่มีอาคารอยู่เยอะเหมือนกันที่ใช้เสาเข็มสั้น เพราะว่า น้ำหนักอาคารที่ลงแต่ละฐานไม่มากและใช้ฐานนึงหลายต้น เลยพอไหว ถามว่า มันจะทรุดไหม ตอบว่าทรุดครับแน่นอน 100% แต่ไม่พัง เพราะ มันจะทรุดตัวเท่าๆกัน ไม่เป็นไร ยืนยันได้ ตัวอย่างคือ บ้านยุคเก่าในกรุงเทพรวมทั้งบ้านผม เป็นเข็มสั้นเกือบทั้งหมด ผมได้ยินมาว่าตึกลุมพินี(ชื่อไม่แน่ใจ)ที่เป็นอาคารสูงยอดแหลมๆอยู่บนสี่แยก ลุมพินี(ตรงข้ามสวนลุมไนท์)ที่เป็นโรงแรมใหย่โตก็เป็นเสาเข็มสั้น เสาเข็มสั้นจะรับน้ำหนักได้จากแรงฝืดรอบตัวเสาเข็มกับดิน และตามหลักวิศวกรรมยอมรับได้ถ้ามันทรุดตัวเท่าๆกันครับ
งั้นต่อเลยนะครับ

2. เสาเข็มตอก มันก็คือเสาเข็มตอกโดยใช้ปั้นจั่นนั่นหละครับ ส่วนใหญ่การตอกเข็มจำเป็นต้องตอกให้ลึกลงไปอยู่ที่ชั้นดินแข็ง ถ้าเป็นกรุงเทพ ก็อยู่ที่ความยาวประมาณ 21 เมตร ส่วนจะใช้เสาเข็มประเภทไหนรูปทรงอะไร ตอบคือ ถ้าเสาเข็มรูปตัว ไอจะเป็นเสาเข็มที่สามารถรับแรงฝืดรอบเสาเข็มแถมมาให้ด้วยเพราะการหล่อเสา เข็มเป็นรูปตัวไอ จะทำให้เสาเข็มมีพื้นที่รอบรูปมากขึ้นกว่า เสารูปสี่เหลี่ยมธรรมดา แต่มีข้อเสียของเสารูปตัวไอคือตอกยาก หักง่ายกว่าเสารูปสี่เหลี่ยม ที่มีพื้นที่หน้าตัดมากกว่า คนตอกเข็มสามารถตอกเข็มเหลี่ยมแรงๆได้มากกว่าเข็มไอ ถ้าเป็นดินแข็งๆ ส่วนใหญ่จะต้องเป็นเข็มเหลี่ยมครับ ไม่งั้นหัวเข็มกระจุย
ส่วนชนิดของเสา เข็มตอกส่วนใหญ่จะเป็นคอนกรีตอัดแรง ที่ต้องอัดแรงเพราะว่าจะสามารถหล่อคอนกรีตได้ยาวกว่าเข็มที่ไม่ได้อัดแรง (ไว้ทีหลังจะอธิบาเรื่องคอนกรีตอัดแรงอีกทีนะครับ มีสองอย่าง อัดแรงก่อน กับอัดแรงหลัง เรื่องมันยาว) จะต้อสั่งจากโรงงานผู้ผลิตเข็มเพื่อที่จะกำหนดคุณสมบัติของเสาเข็มด้วยครับ ไว้ว่าเราต้องการรับแรงเท่าไร
ที่สำคัญของเสาเข็ม อัดแรงอีกเรื่องนึงคือ การขนย้าย กับการยกเข็มขึ้นตอก จะต้องยกตามจุดที่โรงงานเขากำหนดมาให้เท่านั้น ถ้าสังเกตุเสาเข็มที่สั่งมาจากโรงงานนะครับจะเห็นว่าเขาจะมีห่วงอยู่ที่เสา เข็มมาให้ 2 ห่วง โดยเวลาขนส่งจะต้องยกที่ห่วงนี้เท่านั้น ไม่งั้นเข็มจะหักได้ก่อนตอก เสาเข็มจะเสียไปเลย เวลาเขามาส่งเสาที่หน้างานให้สังเกตุด้วยครับว่ามีเสาร้าวหรือเปล่า ถ้ามีให้คืนโรงงานกลับไปเลย หรือทิ้งเสาต้นนั้นไปครับ
เสาเข็มอีกแบบ หนึ่งทีเห็นบ่อยคือ เข็มสปัน จะเป็นเข็มกลม กลวงตรงกลาง มีเพลทเหล็กแปะที่หัวเสา ผลิตโดยใช้เครื่องจักรเหวี่ยง คอนกรีตขณะเทเสาให้กลวงตรงกลาง แล้วอัดแรง ข้อดีของเข็มสปันคือสามารถรับแรงได้มากๆ เหมาะสำหรับโครงการใหญ่ๆ ตอกลึกๆ แต่ข้อเสียคือเสาสปันสามารถรับแรงเฉือนหรือแรงดันจากด้านข้างได้น้อยครับ

หัวใจ สำคัญของเสาเข็มตอกที่ห้ามลืมคือ การเชคโบลเคาท์ครับ ต้องเชคทุกต้นอย่าลืม อย่าปล่อยละเลย ผมเคยเล่าไปแล้วในกระทู้ก่อน หาอ่านดูนะครับ
ต่อไปคือ เสาเข็มเจาะ

เสาเข็มเจาะจะมีหลายแบบเท่าที่แยกออกมาได้คือ

3.1 เสาเข็มเจาะขนาดเล็ก แบบใช้สามขาหยั่ง ขอโฆษณา หน่อยนึงนะครับ ธุรกิจของที่บ้าน คือบริษัทของน้าผม เป็นบริษัทรับทำเข็มเจาะขนาดเล็กนี้แหละครับ ผมกำลังหัดทำเวปอยู่ และก็คิดจะโพสโฆษณาบนบอร์ดครับ (ยังไงช่วยสนับสนุนหน่อยนะครับ) ดังนั้นผมจึงมีความรู้เกี่ยวกับเข็มเจาะแบบนี้พอควร

ลักษณะของเสา เข็มแบบนี้คือการ ตอกปลอกเหล็กเป็นท่อนๆลงไปในดิน แล้วเจาะเอาดินในปลอกขึ้นมาทิ้ง จนถึงระดับดินที่ต้องการ เสร็จแล้ว ใส่เหล็ก เทคอนกรีตลงไปในหลุมที่เจาะไว้ แล้วก็ถอนปลอกออก เป็นอันเสร็จ
ข้อ ดีของเข็มเจาะแบบนี้มีหลายอย่างครับ อย่างแรกคือ มันจะไม่กระทบกระเทือนอาคารข้างเคียงเวลาตอกเข็มครับ เพราะว่าเวลาตอกเข็ม ดินบริเวณข้างเคียงในรัศมี 50 เมตรจะสะเทือนอาจมีผลทำให้อาคารข้างเคียงแตกร้าว หรือเสียหายได้ อาคารที่สร้างติดกับอาคารอื่นข้างเคียง หรืออาคารที่ต่อเติม จำเป็นต้องใช้เสาเข็มแแบบนี้ เพราะปลอดภัย ไม่ต้องกลัวมีปัญหา อีกอย่างคือการเจาะเข็มแบบนี้สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก เพราะเป็นสามขาหยั่ง สามารถเจาะเข็มชิดอาคารข้างเคียงหรือห่างจากผนังออกมาแค่ 0.75 เมตรได้ ความสูงที่ต้องการก็แค่ 3.00 เมตร สามารถมุดเข้าไปตอกเข็มที่ชั้นล่างของอาคารเก่าได้ใน กรณียต้องเสริมเสาเข็ม การรับน้ำหนักก็สามารถรับได้มากพอสมควร อาจมากกว่าเสาเข็มตอกด้วย แต่ข้อเสียก็มีครับ อย่างแรกคือราคาที่แพงกว่าเสาเข็มตอก ประมาณ 2 เท่า และการควบคุมงานควรจะต้องทั่วถึงเพราะในขั้นตอนการทำงาน บริษัทเข็มเจาะจะลักไก่ได้ตลอด เช่น เจาะไม่ถึงชั้นดินที่ควรเป็นบ้าง ไม่ใส่เหล็กให้ครบบ้าง หลุมพังในระหว่างเจาะบ้างทำให้เสาแคบเป็นคอขวด และอีกเยอะครับ ไว้จะตั้งกระทู้ใหม่ เล่ารายละเอียดพร้อมโฆษณาไปในตัวด้วย อิอิ

3.2 เสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ ผมไม่ค่อยรู้รายละเอียดเท่าไร คร่าวๆ หลักการมันก็เหมือนเสาเข็มเจาะขนาดเล็ก แต่เจาะลงไปลึกกว่า ขนาดใหญ่กว่า มีขั้นตอนยุ่งยากกว่าครับ เท่าที่ทราบคือ โดยมากมันจะต้องเจาะให้ทะลุชั้นทราย ลงไปใต้ดิน มากกว่าเข็มเจาะขนาดเล็กจะทำได้ (เกิน 21 เมตร) และมันจะเจอตาน้ำ กับปัญหาการพังทลายของข้างหลุม ต้องใช้สารเคมีเรียกว่า เบนโทไนท์ ป้องกันดินพัง กับเครื่องจักรกลหนักในการทำงาน เช่นพวก steam hammer, Hydraulic jack, หรือการอัดน้ำ

3.3 เสาเข็มเจาะเสียบ มันก็ใช้เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงเหมือนข้อ 2 นั่นแหละครับ แต่ตอนต้นจะเป็นการเจาะรูนำให้เกินระดับความลึกชั้นดินอ่อนเสียก่อน โดยใช้รถเจาะ แล้วค่อยแทงเข็มลงไปตอกซ้ำ ที่ต้องทำแบบนี้ เพราะเป็นการลดการสั่นสะเทือนของอาคารข้างเคียง อาจเป็นแค่บางแนวที่ใกล้กับอาคารข้างเคียงมากเกินไป ข้อเสียคือ จะการรับน้ำหนักของเข็มที่เกิดจากแรงเสียดทานด้านข้างจะลดลงไป และต้องทำงานซ้ำซ้อน ราคาแพงขึ้น

3.4 ไมโครไพล์ ผมไม่ค่อยรู้เรื่องเข็มแบบนี้มากนักครับ เป็นงานเฉพาะทาง ที่เสาเข็มเจาะสามขาหยั่งแบบข้อ 3.1 เข้าไปทำไม่ได้ เพราะไมโครไพล์ จะมีขนาดเล็กกว่า ใช้พื้นที่ในการทำงานน้อยกว่า และก็แพงกว่าด้วย คร่าวๆของไมโครไพล์คือ จะใช้ท่อเหล็กเป็นท่อนๆ ขนาดเส้นผ่าศูยน์กลาง ประมาณ 15-25 เซน ยาวท่อนละ 2-3 เมตร ปลาย 2ด้านเป็นเกลียว ต่อด้วยข้อต่อ ฝังลงไปในดิน แล้วอัดน้ำปูน และฝังท่อเหล็กที่ว่าเป็นเสาเข็มไปเลยครับ

แถม เสาเข็มอีกแบบครับ เป็นรถสว่านทำเข็มเจาะขนาดเล็ก เป็นเสาเข็มเจาะขนาดเล็ก เหมือนข้อ 3.1 แต่สามารถ เจาะความลึกได้จำกัด อาจแค่ 6-8 เมตร ขึ้นอยู่กับความยาวของสว่านที่วางอยู่หลังรถ 10ล้อแค่นั้น ถ้าเกินกว่านั้นก็ทำไม่ได้ ส่วนใหญ่ผมเห็นอยู่ตาม ภาคกลาง กับแถบชลบุรี ที่ชั้นดินมีความลึกไม่เกิน 8.00 เมตร รับงานเจาะเข็มได้ถูกกว่า เพราะขนย้ายง่ายและทำได้ง่ายกว่า

วิธีการเลือกใช้ฐานราก แบบฐานรากแผ่ หรือ แบบเสาเข็ม

สมมุติว่าเรา จะก่อสร้างอาคารสักอาคารนึง และเราจะเลือกฐานรากแบบไหนดี ความลึกของฐานราก หรือความลึกของเสาเข็มจะลึกเท่าไร
ส่วนตัวผมจะทำอย่างนี้ครับ

ถ้า ไม่ใช่กรุงเทพ อันดับแรกผมจะถามข้อมูลดินจากที่ข้างเคียงก่อน หรือบริษัทเสาเข็มเจ้าถิ่นครับ ว่าเขาทำฐานรากยังไง ความลึกเท่าไรเป็นข้อมูลในใจ
แล้วคำนวนออกแบบโครงสร้างตามปรกติ ผมจะทราบน้ำหนักของอาคารที่ลงในฐานรากแต่ละฐานครับว่ามีน้ำนักกดลงไปเท่าไร

ที นี้ก็มาดูข้อมูลดิน ว่าเป็นยังไง ถ้ารู้ข้อมูลดินมาว่าแถวนั้น ตอกเข็มไม่ลง และ้ต้องเป็นฐานแผ่แน่ๆ ผมก็จะระบุไว้ในแบบ เพื่อความปลอดภัยว่า
"ผู้รับเหมาจะต้องทำการสำรวจชั้นดิน หรือทำการทดสอบการรับน้ำหนักของดินก่อนทำการก่อสร้าง"
การ ตรวจสอบส่วนใหญ่ จะมี 2 วิธีคือ การทำ Borring Log และการทำ plate barring Test (รายละเอียดค่อยว่ากันนะ คร่าวๆคืออันแรกเป็นการตวจสอบชั้นดิน อีกอันเป็นการเทสการรับน้ำหนักของชั้นดินครับ)

แล้วก็ออกแบบฐานรากแผ่ ว่าควรจะใหญ่ขนาดไหน โดยการสมมุติ การรับน้ำหนักของดิน เรียกว่าเดาอย่างมีหลักการครับว่า
1. ภาคกลาง, ภาคเหนือ, อีสาน ใช้ 8 ตันต่อตารางเมตร
2. ภาคตะวันออก ชลบุรี, ระยอง ภาคใต้ ใช้ 10 ตันต่อตารางเมตร
3. โซนใกล้ ภูเขา มองเห็นภูเขา ใกล้ทะเล ใช้ 12 ตันต่อตารางเมตร
4. กรุงเทพ หรือดินอ่อน ที่อยากจะใช้ฐานแผ่ ใช้ 2 ตันต่อตารางเมตร

คร่าวๆ การออกแบบนะครับ ว่าขนาดฐานรากจะเป็นเท่าไรคือ น้ำหนักของอาคารที่ลงเสาเข็ม ลบ กับ การรับน้ำหนักของดินคูณกับพื้นที่ของฐานรากที่สัมผัสดิน
ตัวอย่างเช่น ภาคกลาง ใช้ ฐานราก 1x2 เมตร(ยังไม่พูดถึงความหนานะ) จะรับน้ำหนักอาคารได้ 16 ตันครับ (8x1x2=16)ทีนี้ พอถึงเวลาการก่อสร้างจริง หน้าที่ของผู้รับเหมาก็จะต้องไปตรวจสอบสอบพื้นที่ จริงครับว่าชั้นดินแข็งที่ว่า รับน้ำหนักได้ 8 ตัน 10 ตันอยู่ครงไหน ลึกไปจากผิวดินอยู่เท่าไร
ส่วนมากอย่างน้อยๆ ควรจะลึกลงไปไม่ต่ำกว่า 1.00 เมตร โดยไม่รวมดินถมนะครับ ถ้ามีดินถมก็ต้องจากระดับดินถมลงไป เพราะดินถมรับน้ำหนักไม่ได้พอ

วิธีสังเกตุ ตอนคนงานขุด หรือแมคโคจ้วงลงไป คือลักษณะดินจะเป็นชั้นๆ มีสีต่างๆกัน และมีลักษณะดิน ไม่เหมือนกัน ตอนขุดลงไป คอยสังเกตุครับดินที่รับงน้ำหนักได้ดีควร จะเป็นดินแข็ง, ลูกรัง, ทราย หรือดินปนทราย, ถ้าเป็นดินเหนียว หรือดินปลูกต้นไม้ยังใช้ไม่ได้ ใหุ้ขุดลงไปอีก แต่ชั้นดินที่แข็งมันก็ยังเป็นชั้นๆอีกครับ ถ้าทะลุชั้นดินแข็งลงไปอาจจะกลายเป็นดินอ่อนอีกรอบก็ได้ไม่แน่

เพื่อนๆ อาจเคยเห็น อาคารบางอาคาร ที่อยู่ในบริเวณที่ไม่น่าจะต้องตอกเข็ม เช่นชายทะเล เชิงเขา แต่ ก็ยังตอกเข็มอีก เป็นเพราอะไร
ตอบคือ น้ำหนักของอาคารที่ลงในแต่ละเสาเข็มมันมากเกินกว่าที่จะทำฐานแผ่นั่นเองครับ ดินมันรับไม่ไหว ถ้าจะทำฐานแผ่ ฐานอาจต้องใหญ่มากๆ
วิศวกรเลยจำเป็นต้องออกแบบให้ตอกเข็ม ทั้งๆที่ตอกยาก
ฝาก นิดนึงครับ สำหรับ ท่านผู้ออกแบบทั้งหลาย ว่าการ ออกแบบอาคารที่มี span ยาวๆ หรือการออกแบบเสา คานที่ไม่ตรง grid line เยื้องไปเยื้องมาที่ท่านชอบนั้น จะทำให้อาคารนั้นมีน้ำหนักลงไปฐานรากมากกว่าปรกติ และก็เปลืองกว่าด้วยครับ
บางทีดินอาจรับไม่ไหวก็ได้ครับ ถ้าสามารถเลือกได้ควรออกแบบให้เป็น กริดๆ ตารางๆ และก็ span เสาไม่ยาวเกินไปครับ เรื่องนี้ผมเถียงกับสถาปนิกที่เป็นเพื่อนกันมานานมาก แบบว่าจะเอาถูกๆ แต่เล่นออกแบบ ยึกยักๆ กริดไลน์เยอะมาก span ก็ห่างๆ พอเห็นขนาด กับจำนวนเสาเข็มก็โวย แต่ก็อย่างว่า ถื่อไปมันก็น่าเกลียดใช่ป่าว