วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2552

เล่าเรื่องพื้นๆ ตอนที่ 1 (พื้นออนบีม)

คราวนี้จะเล่าเรื่องพื้นสำหรับใช้ในการออกแบบโครงสร้างว่าควรเลือกใช้ยังไง เช่น พื้นคอนกรีตออนบีม ออนกราวน์ พื้นสำเร็จ พื้นโพส ฯลฯ คงมี ผู้ออกแบบหลายคน สงสัยว่าการก่อสร้างอาคารๆนึง มีพื้นให้เลือกตั้งหลายแบบ แต่ละแบบเป็นยังไงและควรเลือกใช้ยังไงวันนี้จะเล่าคร่าวๆ ให้ฟังครับเพื่อที่จะนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง และเพื่อความประหยัดครับ

พื้นเป็นโครงสร้างที่สำคัญมีหลายแบบหลายวัสดุ ผมจะขอแยกประเภทไว้คร่าวๆดังนี้ แล้วจะเล่าที่ละอันให้ฟังครับ
1. พื้นคอนกรีตหล่อกับที่

1.1 พื้นคอนกรีตออนบีม
1.2 พื้นคอนกรีตออนกราวน์
1.3 พื้นไร้คาน

2. พื้นคอนกรีตอัดแรง

2.1 พื้นคอนกรีตสำเร็จรูปชนิดอัดแรง
2.2 พื้นคอนกรีตโพสเทนชั่น

3. พื้นไม้

เริ่มเลยนะครับ

1. พื้นคอนกรีตหล่อกับที่ ก็ตามชื่อที่บอกแหละครับ คือพื้นที่หล่อเอง ทำแบบหล่อเอง วางเหล็กเทปูนเอง ไม่ได้หล่อจากที่อื่นแลล้วยกมาวาง ผมขอแยกเป็น 3 แบบละกันนะครับ

1.1 พื้นคอนกรีตออนบีม น่าจะเป็นพื้นที่นิยมใช้มากที่สุด เพราะช่างไทยคุ้นเคย และมีประสบการณ์ในการทำพื้นมาแทบจะเรียกได้ว่าหลับตาทำก็ ชื่อมันก็บอกอยู่แล้วครับว่า ออนบีม มันก็แปลอยู่แล้วว่าวางอยู่บนคาน คือมีการถ่ายน้ำหนักจากพื้นไปสู่คาน โดยอาจแบ่งวิธีการถ่ายน้ำหนักของพื้นได้สองแบบ คือ พื้นทางเดียว กับพื้นสองทาง ทีนี้ถามว่าแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าป็นพื้นทางเดียวหรือพื้น สองทาง ตอบคือ วิธีการตรวจสอบ ถ้าเอาความยาวของพื้นด้านสั้นไปหาร ความยาวของพื้นด้านยาว แล้วได้ค่ามากกว่า 0.5 แล้วแสดงว่า เป็นพื้นสองทาง














น้ำหนักของพื้นและน้ำหนักที่อยู่บนพื้นจะถ่ายไปยังคานตามลูกศรชี้คือในกรณีของพื้นสองทาง น้ำหนักของพื้นในพื้นที่สีน้ำเงินจะถูกไปยังคานสีน้ำเงิน พื้นสีเขียวจะถูกถ่ายไปยังคานสีเขียว ส่วนพื้นสองทางการถ่ายน้ำหนักจะแบ่งครึ่งกันไปยังคานแต่ละฝั่งเท่าๆกันครับ

ข้อดีของพื้นออนบีมคือ ข้อแรก พื้นจะไม่ทรุดเหมือนพื้นออนกราวน์ครับเพราะการถ่ายน้ำหนักของพื้นจะไปอยู่บนคานและคานจะถ่ายน้ำหนักไปยังเสาอีกที แต่พื้นออนกราวน์นั้น อยู่ในสมมุติฐานว่าน้ำหนักทั้งหมด ถ่ายไปยังดินโดยตรงไม่ได้วางบนคาน

ข้อดีอีกข้อหนึ่งของพื้นออนบีม คือ ในกรณีที่ใช้เป็นพื้นชั้น 2 จะไม่มีปัญหารั่วซึมของน้ำครับ เห็นได้ว่า แบบบ้านทั่วๆไปที่เป็นพื้นสำเร็จรูปวาง วิศวกรจะหลีกเลี่ยงการวางพื้นสำเร็จบนพื้นห้องน้ำ และพื้นระเบียงเพื่อป้องกันปัญหาการรั้วซึมของน้ำ แต่ขอย้ำไว้หน่อยนะครับ คุณสมบัติพื้นฐานของคอนกรีตเป็นวัสดุที่ไม่สามารถป้องกันการรั่วซึมของน้ำได้ครับ ดังนั้น การป้องกันการรั่วซึมจะสามารถกันได้ระดับหนึ่งเท่านั้น ไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์

สำหรับข้อควรรู้อีกข้อหนึ่งสำหรับพื้นคอนกรีตออนบีมอีกเรื่องหนึ่งคือ ระยะเวลาการถอดค้ำยันของพื้นครับ เพราะว่าการที่คอนกรีตจะรับกำลังได้เต็ม 100 % นั้นคือ ระยะเวลา 28 วัน ดังนั้นเวลาการที่จะสามารถถอดค้ำยันได้อย่างน้อยๆคือ 14 วันครับ เพราะเป็นระยะเวลาที่คอนกรีตพื้นสามารถรับกำลังได้แล้วเกิน 70% แต่ก็ต้องค้ำยันด้วยเสาไม้ไว้เป็นช่วงๆคือ ทำเป็นไม้ป็อบค้ำไว้ จนกว่าจะครบ 28 วันคอนกรีตจึงจะสามารถรับน้ำหนักไว้เต็มที่ ดังนั้น ในการเลือกที่จะใช้คอนกรีตออนบีม เรื่องที่ควรพิจารณาคือ แผนการก่อสร้างครับ คือสมมุติว่าพื้นที่เทคอนกรีตออนบีมไว้นั้นเป้นพื้นที่ไม่ได้อยู่ชั้นล่าง อาจอยู่ชั้นสอง ชั้นสาม จำเป็นต้องรอเวลาถึง 14 วันหลังเทคอนกรีตจึงจะสามารถถอดแบบหล่อคอนกรีตด้านล่างได้ ดังนั้นในช่วงเวลาการรอ 14 วันช่างจะไม่สามารถทำงานก่ออิฐหรืองานอื่นๆได้เลย ทำให้ผู้รับเหมาส่วนใหญ่ จึงอยากหลีกเลี่ยงพื้นออนบีม ไปใช้พื้นสำเร็จกัน อีกอย่างคือเรื่องต้นทุนของการวางพื้นสำเร็จ ก็อาจถูกกว่าเมื่อเทียบกับ พื้นหล่อกับที่ ในเรื่องของไม้แบบ และเรื่องของ ระยะเวลาการก่อสร้างครับ


5 ความคิดเห็น:

  1. มีประโยชน์มากๆเลยครับ
    ขอบคุนครับ

    ตอบลบ
  2. สิ่งที่บล็อก ที่ยอดเยี่ยม ; เคล็ดลับที่ดี ขอบคุณ ที่ฉันได้ เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้รับการค้นหา ข้อมูลเกี่ยวกับ หัวข้อ นี้ทุกเพศทุกวัย และคุณ จะดีที่สุดที่ฉัน ได้ค้นพบ เพื่อให้ห่างไกล
    ไม้ปูพื้น ไม้สัก พื้นไม้ | พื้นไม้-ไม้บีช-พื้น-ไม้

    ตอบลบ
  3. โพสต์บล็อกที่ยอดเยี่ยม !! ผมพบว่าการโพสต์นี้ขณะที่การค้นหาบางสิ่งบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของฉัน
    Engineered Wood Floor | ไม้ปูพื้น ไม้สัก พื้นไม้

    ตอบลบ
  4. สวัสดีครับ รบกวนสอบถามครับผม
    กำลังสร้างโรงงาน ขนาด 4000 ตรม. รับน้ำหนักประมาณ ตรม. ละ 2.5 ตัน

    ที่นี้มีผู้รับเหมามาเสนอ 2 แบบ คือ ลงเข็มแล่วผูกคาน กับ ลงเข็มปูพรม

    ไม่ทราบว่าแบบไหนเหมาะสมกว่ากันครับผม ไม่อยากเจอพื้นทรุดครับผม

    ขอบคุณครับ

    ตอบลบ