วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2552

วิธีการเลือกใช้ฐานราก แบบฐานรากแผ่ หรือ แบบเสาเข็ม

สมมุติว่าเรา จะก่อสร้างอาคารสักอาคารนึง และเราจะเลือกฐานรากแบบไหนดี ความลึกของฐานราก หรือความลึกของเสาเข็มจะลึกเท่าไร
ส่วนตัวผมจะทำอย่างนี้ครับ

ถ้า ไม่ใช่กรุงเทพ อันดับแรกผมจะถามข้อมูลดินจากที่ข้างเคียงก่อน หรือบริษัทเสาเข็มเจ้าถิ่นครับ ว่าเขาทำฐานรากยังไง ความลึกเท่าไรเป็นข้อมูลในใจ
แล้วคำนวนออกแบบโครงสร้างตามปรกติ ผมจะทราบน้ำหนักของอาคารที่ลงในฐานรากแต่ละฐานครับว่ามีน้ำนักกดลงไปเท่าไร

ที นี้ก็มาดูข้อมูลดิน ว่าเป็นยังไง ถ้ารู้ข้อมูลดินมาว่าแถวนั้น ตอกเข็มไม่ลง และ้ต้องเป็นฐานแผ่แน่ๆ ผมก็จะระบุไว้ในแบบ เพื่อความปลอดภัยว่า
"ผู้รับเหมาจะต้องทำการสำรวจชั้นดิน หรือทำการทดสอบการรับน้ำหนักของดินก่อนทำการก่อสร้าง"
การ ตรวจสอบส่วนใหญ่ จะมี 2 วิธีคือ การทำ Borring Log และการทำ plate barring Test (รายละเอียดค่อยว่ากันนะ คร่าวๆคืออันแรกเป็นการตวจสอบชั้นดิน อีกอันเป็นการเทสการรับน้ำหนักของชั้นดินครับ)

แล้วก็ออกแบบฐานรากแผ่ ว่าควรจะใหญ่ขนาดไหน โดยการสมมุติ การรับน้ำหนักของดิน เรียกว่าเดาอย่างมีหลักการครับว่า
1. ภาคกลาง, ภาคเหนือ, อีสาน ใช้ 8 ตันต่อตารางเมตร
2. ภาคตะวันออก ชลบุรี, ระยอง ภาคใต้ ใช้ 10 ตันต่อตารางเมตร
3. โซนใกล้ ภูเขา มองเห็นภูเขา ใกล้ทะเล ใช้ 12 ตันต่อตารางเมตร
4. กรุงเทพ หรือดินอ่อน ที่อยากจะใช้ฐานแผ่ ใช้ 2 ตันต่อตารางเมตร

คร่าวๆ การออกแบบนะครับ ว่าขนาดฐานรากจะเป็นเท่าไรคือ น้ำหนักของอาคารที่ลงเสาเข็ม ลบ กับ การรับน้ำหนักของดินคูณกับพื้นที่ของฐานรากที่สัมผัสดิน
ตัวอย่างเช่น ภาคกลาง ใช้ ฐานราก 1x2 เมตร(ยังไม่พูดถึงความหนานะ) จะรับน้ำหนักอาคารได้ 16 ตันครับ (8x1x2=16)ทีนี้ พอถึงเวลาการก่อสร้างจริง หน้าที่ของผู้รับเหมาก็จะต้องไปตรวจสอบสอบพื้นที่ จริงครับว่าชั้นดินแข็งที่ว่า รับน้ำหนักได้ 8 ตัน 10 ตันอยู่ครงไหน ลึกไปจากผิวดินอยู่เท่าไร
ส่วนมากอย่างน้อยๆ ควรจะลึกลงไปไม่ต่ำกว่า 1.00 เมตร โดยไม่รวมดินถมนะครับ ถ้ามีดินถมก็ต้องจากระดับดินถมลงไป เพราะดินถมรับน้ำหนักไม่ได้พอ

วิธีสังเกตุ ตอนคนงานขุด หรือแมคโคจ้วงลงไป คือลักษณะดินจะเป็นชั้นๆ มีสีต่างๆกัน และมีลักษณะดิน ไม่เหมือนกัน ตอนขุดลงไป คอยสังเกตุครับดินที่รับงน้ำหนักได้ดีควร จะเป็นดินแข็ง, ลูกรัง, ทราย หรือดินปนทราย, ถ้าเป็นดินเหนียว หรือดินปลูกต้นไม้ยังใช้ไม่ได้ ใหุ้ขุดลงไปอีก แต่ชั้นดินที่แข็งมันก็ยังเป็นชั้นๆอีกครับ ถ้าทะลุชั้นดินแข็งลงไปอาจจะกลายเป็นดินอ่อนอีกรอบก็ได้ไม่แน่

เพื่อนๆ อาจเคยเห็น อาคารบางอาคาร ที่อยู่ในบริเวณที่ไม่น่าจะต้องตอกเข็ม เช่นชายทะเล เชิงเขา แต่ ก็ยังตอกเข็มอีก เป็นเพราอะไร
ตอบคือ น้ำหนักของอาคารที่ลงในแต่ละเสาเข็มมันมากเกินกว่าที่จะทำฐานแผ่นั่นเองครับ ดินมันรับไม่ไหว ถ้าจะทำฐานแผ่ ฐานอาจต้องใหญ่มากๆ
วิศวกรเลยจำเป็นต้องออกแบบให้ตอกเข็ม ทั้งๆที่ตอกยาก
ฝาก นิดนึงครับ สำหรับ ท่านผู้ออกแบบทั้งหลาย ว่าการ ออกแบบอาคารที่มี span ยาวๆ หรือการออกแบบเสา คานที่ไม่ตรง grid line เยื้องไปเยื้องมาที่ท่านชอบนั้น จะทำให้อาคารนั้นมีน้ำหนักลงไปฐานรากมากกว่าปรกติ และก็เปลืองกว่าด้วยครับ
บางทีดินอาจรับไม่ไหวก็ได้ครับ ถ้าสามารถเลือกได้ควรออกแบบให้เป็น กริดๆ ตารางๆ และก็ span เสาไม่ยาวเกินไปครับ เรื่องนี้ผมเถียงกับสถาปนิกที่เป็นเพื่อนกันมานานมาก แบบว่าจะเอาถูกๆ แต่เล่นออกแบบ ยึกยักๆ กริดไลน์เยอะมาก span ก็ห่างๆ พอเห็นขนาด กับจำนวนเสาเข็มก็โวย แต่ก็อย่างว่า ถื่อไปมันก็น่าเกลียดใช่ป่าว

6 ความคิดเห็น:

  1. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  2. ตอนนี้บ้านผมมีปัญหาเรื่องรอยร้าวเยอะมากครับ ตอนแรกคิดว่าร้าวเฉพาะปูนฉาบ ผมสั่งให้ช่างโครงการผ่าแล้วสกัดดูได้พบว่าอิฐที่ก่อผนังมันแตกตามรอยร้าวของปูนฉาบ แล้วก็ได้เรียกวิศวกรของโครงการเข้ามาดู มันอ้างถึงเรื่องการเซ็ตตัวของดิน ดินอาจจะทรุด ผมได้ถามกลับไปว่าฐานรากทำแบบไหน มันบอกว่าตอนแรกลงเสาเข็มแล้วตอกไม่ลงก็เรยทำแบบฐานแผ่ครับ ผมขอดูแบบฐานรากที่ยื่น อบต. พบว่าลงเป็นเสาเข็ม แล้วผมขอแบบฐานรากเฉพาะบ้านของผม มันบอกว่ามันหาไม่เจอ ครับ ซึ่งตอนนี้พวกมันกำลังทำอะไรสักอย่างเพื่อปกปิดความจริงเรื่องฐานรากของบ้านผม ผมอยากจะรู้ว่าพวกมันสามารถแก้แบบฐานรากได้หรือไม่ทั้งๆที่มันยื่นแบบฐานรากต่อ อบต.ว่าลงเสาเข็ม แล้วผมต้องดำเนินการอย่างไรต่อไปครับ

    ตอบลบ
  3. วิศวกร(ควบคุมงาน)แก้ไขไม่ได้ครับต้องแจ้งผู้ออกแบบ(วิศวกรเซนต์ออกแบบ)เรื่องสาเหตุตอกเข็มไม่ลง..ให้วิศวกรออกแบปรับเปลี่ยนและฐานรากของเสาเข็มพร้อมเซนต์กำกับในแบบพร้อมแนบเอกสารรายการคำนวนมาใหม่ด้วยครับ(แต่อาจไม่แจ้ง..อ.บ.ตได้ครับเพราะกลัวเรื่องมากคือ..โครงการโดนเรียกตรวจสอบครับ..แต่บ้านคุณไม่มีแบบแก้ไขที่ทางวิศวกรโครงการบอกหาไม่เจอไม่เป็นไรถ้าเกิดอะไรขึ้น..ทางโครงการต้องรวมรับผิดชอบคนที่โดนคนแรกคือวิษวกร(เซนต์คุมงาน)ในกรณีไม่ทำตามแบบ
    แต่ถ้าทำตามแบบที่ผู้ออกแบบได้คำนวนโครงสร้างถูกต้องแล้วเกิดบ้านทรุด..ก็ต้องไปตรวจสอบว่าผู้ออกแบบได้ออกแบบถูกต้องไหมครับ...เรื่องแบบนี้ผมเจอบ่อยมากครับเข้าใจและเห็นใจเจ้าของบ้านครับ..ว่าจะเก็บเงินซื้อบ้านสักหลังเหนื่อยสุดๆแล้วมาเจอความชุ่ยของบุคคลที่ไม่รับผิดชอบ(ไม่ได้ฟมายความว่าเป็นทุกคนครับ)..จริงๆคือจิตสำนึกในวิชาชีพที่เรียนจบมาพร้อมมีประสบการณ์ควรตั้งใจทำงานที่ตัวเองรับผิดชอบ..ผมเสียใจด้วยครับที่ท่านไปเจอโครงงการและบุคคลที่ไม่มีความรักในอาชีพมาทำงานขาดความรอบครอบทำให้เกิดปัญหา...ถ้าท่านไม่รู้พึ่งใครท่านแจ้งหน่วยงานที่เกียวข้องก่อนคือผู้คุมครองผู้บริโภค(ส.ค.บ)และจดชื่อโครงการส่งด้วยตัวเองพร้อมแจ้งสภาวิศวกรรมที่(รามคำแหง)จดชื่อวิศวกรโยธาที่เซ็นตคุมงานโครงการหรึอวิศวกรทีคุมงานแจ้งเรื่องว่าไม่มีความเป็นวิศวกรในอาชีพให้โปรดตรวจสอบครับ

    ตอบลบ
  4. อ่านไล่มาเรื่อยๆแล้วเหมือนเคสที่ตัวเองประสบอยู่ตอนนี้!!!บ้านร้าวมากๆ!!หมดระยะประกันแล้วด้วย!!ปวดหัว+เครียด!!!

    ตอบลบ
  5. ผมไปซื้อที่ดินไว้ที่ชัยภูมิ ต.ลุ่มลำชี อ.บ้านเขว้า เป็นทุ่งนา ลักษณะดินเป็นดินเหนียว ไม่มีกรวด ทราย และผมไปถมดินไว้ สูงจากพื้นดินเดิม 2 เมตร ผมกะว่าสัก 4 ปีเกษียณ จะปลูกบ้านชั้นเดียว(บ้านปูน) ขอคำแนะนำเรื่องฐานรากว่าจะทำแบบไหนให้ปลอดภัยและประหยัดงบ (บ้านกว้าง 12 ×20 เมตร)

    ตอบลบ
  6. อยากทราบการเทียบราคา ระหว่างการตอกเสาเข็ม กับรากฐานแผ่ อย่างไหนราคามากกว่ากันค่ะ

    ตอบลบ