วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ทำไมต้องเป็นเสาเข็มเจาะ


บทความนี้เป็นบทความที่ผมคัดลอกมาจากบทความที่ผมเขียนในเว็บของบริษัท ที่
http://borepile.com/
เ็ห็นว่าเกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง เลยหวังว่าคงเป็นประโยชน์ กับท่านผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะครับ


คำถามที่ถามกันบ่อยๆว่า เสาเข็มเจาะมันเป็นยังไง และทำไมตองเป็นเสาเข็มเจาะ ถามกันเข้ามาบ่อยมาก จนผมแทบอยากจะตั้งระบบตอบรับแบบออโต้ให้คนที่โทรเข้ามาถามได้เข้าใจกัน
ที่พูดแบบนี้ไม่ใช่ว่าจะ เบื่อหรือไม่อยากตอบนะครับ แต่อาจเป็นเพราะ ผมไไม่แน่ใจว่าการตอบของผมสามารถอธิบายได้ดีทุกครั้งเท่าการเขียน หรือเปล่าเท่านั้น แถมยังรู้สึกดีใจอีกต่างหากที่ มีคนสนใจที่จะทำเข็มเจาะ แล้วถามเข้ามาที่เรา
ผมจะลองเรียบเรียงคำตอบดูนะครับ

ถาม.. เสาเข็มเจาะคืออะไร?
ตอบ..เสาเข็มเจาะเป็นเสาเข็มชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่เหมือนเสาเข็มที่พบกันโดยทั่วไป แบบที่ใช้ปั้นจั่นตอกนั่นแหละครับ แต่ลักษณะการทำงานจะไม่เหมือนกัน แสาเข็มเจาะจะไม่ใช้การตอกเข็มลงไปในดินโดยตรง แต่จะใช้การ ตอกปลอกเหล็ก ที่ป็นแบบหล่อคอนกรีตลงไปในดิน แล้วใส่เหล็กเทคอนกรีตลงไปในหลุม แทน

ถาม..แล้วทำไมต้องเป็นเสาเข็มเจาะด้วย
ตอบ..เสาเข็มเจาะมีข้อดี และข้อเสียกว่าเสาเข็มตอกที่ไม่เหมือนกันคือ เสาเข็มเจาะสามารถทำงานในที่คับแคบได้ ไม่รบกวนเพื่อนบ้าน ไม่ส่งผลกระทบกับโครงสร้างหรืออาคารข้างเคียง เพราะแรงสั่นสะเทือนน้อย สามารถใช้กับงานต่อเติมได้ แต่ข้อเสียก็มีคือ ราคาค่าเสาเข็มเจาะจะแพงกว่า เสาเข็มตอก พอสมควร และจำเป็นต้องควบคุมคุณภาพในการทำงานมากกว่าเสาเข็มตอกครับ

ถาม..แล้วบ้านผมควรจะเป็นเสาเข็มเจาะหรือตอกดี
ตอบ..ก็แล้วแต่สภาพหน้างานของบ้านคุณครับ เช่นว่าถ้าสถานที่ก่อสร้างคุณเป็นที่ดินเปล่าโล่งๆ ไม่มีสิ่งก่อสร้างใกล้เคียงรอบด้าน ไม่กลัวว่าการตอกเข็มที่กระเทือนเหมือนแผ่นดินไหว จะไปทำให้อะไร รอบข้างพัง หรือแตกร้าว ก็เหมาะที่จะทำเสาเข็มตอก แต่ถ้าไม่ก็แนะนำเสาเข็มเจาะครับ

ถาม..แล้วเสาเข็มเจาะรับน้ำหนักได้เหมือนกันกับเสาเข็มตอกหรือเปล่า
ตอบ.. การรับน้ำหนักของเสาเข็มเจาะ สามารถรับน้ำหนักได้เหมือนกับเสาเข็มตอกทุกประการครับบางทีอาจจะมากกว่าเสา เข็มตอกด้วยซึ้าครับ เพียงแต่ว่าการรับน้ำหนักของเสาเข็ม จำเป็นจะต้องให้วิศวกรเป็นคนคำนวนหา น้ำหนักของอาคารที่จะถ่ายลงไปเสาเข็ม และวิศวกรจะเป็นคนเลือกชนิด หรือขนาดของเสาเข็มที่จะใช้ให้ครับ? แต่ถ้านำ เสาเข็มเจาะไปเทียบกับเสาเข็มตอกในเรื่องการรับน้ำหนัก ก็ต้องมาดูถึงคุณภาพของการทำเสาเข็มเจาะครับ เพราะเสาเข็มเจาะมีขั้นตอนยุ่งยากในการทำงานมากกว่า จำเป็นต้องควบคุมคุณภาพในการทำงานเกือบทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องชั้นดิน, การใส่เหล็กเสริม, คุณภาพคอนกรีต, การถอดปลอกเหล็ก ฯลฯ ซึ่งถ้าผู้ทำงานไม่มีความชำนาญ หรือมีความรับผิดชอบไม่พอ ก็สามารถทำให้เสาเข็มเสียหายโดยเจ้าของงานไม่รู้ได้เหมือนกัน

2 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณนะคะ อ่านดูแล้ว สงสัยงบบานแน่ ๆ เลยอ่ะ ดูท่าทางจะแพงเอาเรื่อง

    ตอบลบ
  2. ขออนุญาตฝากลิงค์นะคะ
    สนุก เร้าใจ ท้าทาย กับรูปแบบการเล่นคาสิโนผ่านทางมือถือ พบกับเราได้ที่ ที่นี่เลยค่ะ
    https://www.111player.com

    ตอบลบ