วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2552

พิธีการตั้งเสาเอก

เวลาเริ่มการก่อสร้างสำหรับบ้าน หรืออาคาร บางหลัง พิธีการต่างๆตามความเชื่อ มีความสำคัญมากเลยทีเดียว มีหลายแบบ หลายพิธีมาก
มีทั้ง พิธีลงเข็ม(เข็มเอก), วางศิลาฤกษ์, ตั้งเสาเอก, ไหว้บอกกล่าวเจ้าที่, ไหว้เทวดา, ไหว้ครูแม่บันได(อันนี้เคยเห็น ช่างจากบุรีรัมย์ ขอให้เจ้ของบ้านทำพิธีเพื่อที่จะทำบันไดได้อย่างราบรื่น และเหมือนกับเป็นการบอกกล่าวแม่บันได ตามความเชื่อของเขา), ฯลฯ ส่วนพิธีการก็มีหลายแบบหลายวิธี มากทั้ง โยนเหรีญ ทอดแห ตั้งประลำพิธีบ้าง ตั้งโต๊ะไหว้เฉยๆบ้าง เคยครั้งนึงเจ้าของบ้านไป เชิญ พราหมหลวง คนที่ทำพิธีแรกนาขวัญ กับโล้ชิงช้า มาทำพิธีตั้งเสาเอกให้บ้านของเขา ขอบอกว่าอลังการมาก มีทั้ง บัณเฑาะห์ สังห์มาเป่า แต่ค่าใช้จ่ายของท่านพราหมไม่ได้แพงอะไรเลยครับ ใครสนใจก็ลองติดต่อดูที่ โบสถ์พราหม ข้างๆเสาชิงช้าดูครับ ที่นั่นเขาให้คำแนะนำได้ดีมาก

ส่วนที่เก็บมาฝากวันนี้จะมี รายละเอียดเรื่องตั้งเสาเอก และก็วิธีวาง ศิลาฤกษ์

พิธีตั้งเสาเอก
ปลูกเรือนตามเดือน เดือนดีคือ 6,9,12,1,2,4(เดือนไทย)
ปลูกเรือนตามวัน จันทร์,พุธ,พฤหัสบดี เป็นวันดี

จากมหาหมอดู
เป็นข้อยกเว้นที่ห้ามใช้ฤกษ์สำหรับคนเกิดวันต่างๆ ถึงจะมีในรายการฤกษ์ข้างบนก็ห้ามใช้เด็ดขาด เพราะเป็นวันศัตรูและกาลกิณีกับวันเกิด
1. ผู้เกิดวันอาทิตย์ ห้ามใช้ฤกษ์ที่เป็นวันศุกร์และวันอังคาร
2. ผู้เกิดวันจันทร์ ห้ามใช้ฤกษ์ที่เป็นวันอาทิตย์และวันพฤหัสบดี
3. ผู้เกิดวันอังคาร ห้ามใช้ฤกษ์ที่เป็นวันจันทร์และวันอาทิตย์
4. ผู้เกิดวันพุธ (กลางวัน) ห้ามใช้ฤกษ์ที่เป็นวันพุธ (กลางคืน)
5. ผู้เกิดวันพฤหัสบดี ห้ามใช้ฤกษ์ที่เป็นวันเสาร์
6. ผู้เกิดวันศุกร์ ห้ามใช้ฤกษ์ที่เป็นวันพุธ (กลางคืน) และวันเสาร์
7. ผู้เกิดวันเสาร์ ห้ามใช้ฤกษ์ที่เป็นวันพุธ (กลางวัน) และวันศุกร์
8. ผู้เกิดวันพุธ (กลางคืน) ห้ามใช้ฤกษ์ที่เป็นวันพฤหัสบดีและวันพุธกลางวัน

ของใช้ในพิธี
  • จัดโต๊ะหมู่บูชา ๑ ชุด พร้อมเครื่องสักการะ (ถ้าประสงค์)
  • จตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระ ๑ ชุด (กรณีนิมนต์พระมาประพรมน้ำมนต์ที่หลุม และเจริญชัยมงคลคาถา)
  • เครื่องบูชาฤกษ์หรือสังเวยเทวดา (จัดย่อส่วนก็ได้ ดูพิธีวางศิลาฤกษ์)
  • ใบทอง นาก เงิน อย่างละ ๓ ใบ
  • เหรียญทอง เงิน อย่างละ ๙ เหรียญ
  • ทรายเสก ๑ ขัน
  • น้ำมนต์ ๑ ขัน (พร้อมกำหญ้าคา ๑ กำ)
  • ด้ายสายสิญจน์ ๑ ม้วนเล็ก
  • ทองคำเปลว ๓ แผ่น
  • ผ้าแพรสีแดง ห่มเสา หรือผ้าขาวม้า ๑ ผืน
  • หน่อกล้วย อ้อย อย่างละ ๑ หน่อ
  • ไม้มงคล ๙ ชนิด (ถ้าประสงค์)
  • แผ่นทอง นาก เงิน อย่างละ ๑ แผ่น
  • ข้าวตอกดอกไม้ ๑ ขัน

ลำดับพิธี
  • วางสายสิญจน์ เริ่มจากโต๊ะบูชาไปโต๊ะสังเวยขวาบริเวณสถานที่ก่อสร้างเข้าสู่เสาเอก (ก่อนเวลาฤกษ์พอสมควร)
  • เจ้าภาพจุดเทียนธูปที่โต๊ะหมู่บูชา อธิษฐานเพื่อเกิดสิริมงคล กราบพระ
  • จุดเทียนธูปที่โต๊ะสังเวย บูชาเทวดาให้คุ้มครอง
  • พิธีกรกล่าวสังเวยเทวดา
  • เจ้าภาพตอกไม้มงคล ๙ ชนิด (ถ้ามี)
  • วางแผ่นทอง นาก เงินในหลุมเสาเอก (ถ้ามี)
  • นำใบทอง นาก เงิน และเหรียญทอง เงิน ลงก้นหลุมแล้วนิมนต์พระสงฆ์ประพรมน้ำมนต์
  • โปรยทรายเสกที่หลุมเสา
  • เจิมและปิดทองเสาเอก
  • ผูกหน่อกล้วย อ้อย และผ้าสีแดงหรือผ้าขาวม้าที่เสาเอก
  • ถือด้ายสายสิญจน์ พร้อมทั้งญาติมิตรผู้ร่วมพิธี
  • ช่าง ช่วยกันยกเสาเอก จนตั้งเรียบร้อย (ขณะยกเสานั้นพระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา) (ถ้ามี)
  • เจ้าภาพโปรยข้าวตอกดอกไม้ลงหลุมเสาเอก พร้อมทั้งญาติมิตรผู้ร่วมพิธี เสร็จพิธี

หมายเหตุ
  • ถ้ายกเสาเอกในเดือนอ้าย ยี่ สาม เสาเอก อยู่ทิศอีสาน
  • ถ้ายกเสาเอกในเดือน ๔ - ๕ - ๖ เสาเอก อยู่ทิศอาคเนย์
  • ถ้ายกเสาเอกในเดือน ๗ - ๘ - ๙ เสาเอก อยู่ทิศหรดี
  • ถ้ายกเสาเอกในเดือน ๑๐ - ๑๑ - ๑๒ เสาเอก อยู่ทิศพายัพ
  • เมื่อธูปที่โต๊ะสังเวยไหม้หมดดอก ให้ลาเครื่องสังเวยได้ว่า "เสสัง มังคะลัง ยาจามิ"
  • หน่อกล้วย อ้อย เมื่อช่างเอาลงจากเสาแล้ว ให้นำไปปลูกไว้ในที่ต้องการ เพื่อเสี่ยงทายว่าจะงอกงามเพียงใด
  • ถ้าจัดโต๊ะสังเวยไม่ได้ จะจัดเป็นสำรับบูชาพระภูมิเจ้าที่ธรรมดาก็ได้ และสิ่งประกอบอื่น ๆ
  • ก็เลือกเอาเท่าที่จำเป็นและหาได้ง่าย
  • ไม้มงคล 9ชนิด ซื้อได้ตามร้านสังฆภัณฑ์ หรือแถวๆเสาชิงช้า

ไม้มงคลที่ใช้ในพิธีวางศิลาฤกษ์
ใน การก่อสร้างอาคารบ้านเรือน ก่อนทำการก่อสร้างนิยมทำพิธีวางศิลาฤกษ์โดยใช้ไม้มงคล 9 ชนิด ปักกับพื้นดินไม้ทั้ง 9 ชนิดมีชื่อเป็นมงคลนาม ดังนี้
1. ไม้ราชพฤกษ์ หมายถึง ความเป็นใหญ่และมีอำนาจวาสนา
2. ไม้ขนุน หมายถึง หนุนให้ดีขึ้นร่ำรวยขึ้น ทำอะไรจะมีผู้ให้การเกื้อหนุน
3. ไม้ชัยพฤกษ์ หมายถึง การมีโชคชัย ชัยชนะ
4. ไม้ทองหลาง หมายถึง การมีเงินมีทอง
5. ไม้ไผ่สีสุก หมายถึง มีความสุข
6. ไม้ทรงบาดาล หมายถึง ความมั่นคง หรือทำให้บ้านมั่นคงแข็งแรง
7. ไม้สัก หมายถึง ความมีศักดิ์ศรี ความมีเกียรติ
8. ไม้พะยูง หมายถึง การพยุงฐานะให้ดีขึ้น
9. ไม้กันเกรา หมายถึง ป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ หรืออีกชื่อหนึ่งว่าตำเสา ซึ่งอาจหมายถึง ทำให้เสาเรือนมั่นคง
ไม้ มงคลเหล่านี้จะลงอักขระที่เรียกว่า หัวใจพระอิติปิโส ได้แก่ อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ ลงบนท่อนไม้ชนิดละอักขระ พร้อมทั้งปิดทองทั้ง 9 ท่อน โดยปักวนจากซ้ายไปขวา (ทักษิณาวรรต)
ปีที่ปลูกเรือนเสริมสิริมงคล

ปลูกเรือนปีชวด
ยกเสาเอก จงเอาไม้ราชพฤกษ์ปักเสามุมแรก ก่อนยกเสาเอกเพื่อเอาฤกษ์เอาชัย และโปรยดอกไม้ 3 สี สีที่เป็นสิริมงคล ดอกกุหลาบ ดอกรัก ดอกพุทธ และบวงสรวงด้วย กล้วยที่เป็นมิ่งขวัญปีเกิด จะทำให้ อยู่เย็นเป็นสุข ทำมาหากินเจริญขึ้นนักแล

ปลูกเรือนปีฉลู
ยกเสาเอกจงเอากล้วยและผ้าขาว พันเสาเอก เอากิ่งมะตูม 3 กิ่ง ปักที่เสาเอก และบวงสรวงด้วยลูกตาล ขนมฝอยทอง จะทำให้มีแต่สิ่งดี ๆ เข้าบ้านและมีความสุขความเจริญ

ปลุกเรือนปีขาล
ยกเสาเอกจงเอาข้าวสุก 3 กระทง และน้ำ 3 ขัน ขันเงิน ขันทอง ขันนาก รดที่ต้นเสาก่อนแล้วโปรย ดอกไม้ 3 ชนิด ดอกดาวเรือง ดอกรัก ดอกบานไม่รู้โรย เพื่อเป็นเคล็ดให้ร่ำรวย อยู่เย็นเป็นสุข

ปลูกเรือนปีเถาะ

ยกเสาเอก จงเอาใบตะเคียน ใบเฉียง ใบพร้าหอม ต้นกล้วย 1 ต้นห่อปลายเสา แล้วบวงสรวงด้วย หมูย่าง ปลายำ จะทำให้รุ่งเรืองนักแล

ปลูกเรือนปีมะโรง
ยกเสาเอก จงเอาใบมะกรูด และกำยานพันปลายเสาก่อนแล้วจึงยกเสาเอก แล้วโปรยดอกไม้มงคล 7 ชนิด ดอกรัก ให้รักใคร่กัน ดอกดาวเรือง ให้เจริญรุ่งเรือง ดอกบัว ให้มีคนนับถือ ดอกกุหลาบ ให้สุขสด ชื่น ดอกบานไม่รู้โรย ให้มั่งมีอย่างไม่รู้โรย ดอกพุทธ ให้พระคุ้มครอง ดอกมะลิิ ให้อยู่เย็นเป็นสุข อธิษฐาน จะทำให้ร่ำรวย มั่งมี เป็นสุขตลอดไป

ปลูกเรือนปีมะเส็ง
ยกเสาเอก จงเอาใบสิงห์ 2 กิ่ง ผูกที่ปลายเสา และข้าว 3 กระทง ธูปเทียนจุดบูชา ทั้งบูชาดอกกุหลาบ พวงมาลัย มะลิสด ดอกรัก น้ำเย็น 6 ขัน แล้วพูดว่า มั่ง มี ศรี สุข ใช่ จึงยกเสาเอก จะทำให้รุ่งเรืองขึ้น

ปลูกเรือนปีมะเมีย
ยกเสาเอก จงเอาใบขี้เหล็ก กวาดตั้งแต่ปลายเสาลงมาถึงโคนเสา 3 ครั้งแล้วเอาน้ำรดปลายเสา ให้อด ใจรอจนถึงเวลาไก่ขัน และบวงสรวง กล้วย มะพร้าว ส้ม จงลงเสาเอก จึงจะร่มเย็นเป็นสุข

ปลูกเรือนปีมะแม
ยกเสาเอก จงเอาใบเงิน 3 ใบ หมากผู้ 3 ใบ หมากเมีย 3 ใบ แล้วเอาใบทั้งกล้วยอ้อยใส่ลงไปในหลุม ก่อน แล้วจึงยกเสาเอก แล้วบวงสรวง กล้วย อ้อย มะพร้าว ขอพรจะเสริมสิริมงคลให้มีโชคลาภตลอดไป

ปลูกเรือนปีวอก
ยกเสาเอก จงเอาเทียน 3 เล่ม แปะทองผูกข้างเสาด้านหัวนอนก่อน และนำใบเงิน ใบทอง ใบนาก ลงฐานหลุมแล้วจึงยกเสาเอก จะทำให้มั่งมี ศรีสุข ตลอดกาล

ปลูกเรือนปีระกา
ยกเสาเอก จงเอาข้าวตอกกับใบบัวบก มาใส่รองรับเอาไว้ในหลุมเสาเอก และเสารอง หรือใส่ให้ครบ 4 ทิศ จะเสริมมงคลให้อยู้ร่มเย็นเป้นสุข และบวงสรวงด้วย ข้าว แกง แอปเปิล ดอกบัวหลวง ขอพร จะทำให้มั่งมีศรีสุข

ปลูกเรือนปีจอ
ยกเสาเอก จงเอาข้าวตอกกับใบบัวบก มาใส่รองรับเอาไว้ในหลุมเสาเอก หรือใส่ให้ครบ 4 ทิศ และบูชา ด้วยดอกบัวเหลวง จะทำให้มีคนอุปถัมภ์ดีนักแล

ปลูกเรือนปีกุน
ยกเสาเอก จงเอาดอกชบา 1 ดอก และดอกบัวอีก 1 ดอก ใส่หลุมเสาเอก แล้วลงเสาเอก ฤกษ์ 9.09น. จะทำให้มีความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป

หากคุณจะสร้างบ้านเรือน และยกเสาเอก ควรกระทำให้ถูกตามตำราดังนี้

ยกเสาเรือนเดือน ๔, ๕, ๖ ให้ยกเสาเอกทางทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จะเกิดโชคลาภ เป็นสิริมงคลแก่ผู้อยู่อาศัย
ยกเสาเรือนเดือน ๗, ๘, ๙ ให้ยกเสาเอกทางทิสหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) ผู้อยู่อาศัยในเรือน ปลอยภัยไร้โรคภัย มีโชคลาภดีนักแล
ยกเสาเรือนเดือน ๑๐, ๑๑, ๑๒ ให้ยกเสาเอกทางทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จะเกิดสิริมงคล พ้นเคราะห์ภัย ไม่อับจน
ยกเสาเรือนเดือน ๑, ๒, ๓ ให้ยกเสาเอกทางทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จะอยู่ดีกินดี เป็นมหาสิริมงคลแก่ผู้อยู่อาศัยเรือนนั้น

หมายเหตุ:
โบ ราณาจารย์ทั้งหลายท่านว่าไม่ควรปลูกเรือน สร้างบ้านที่อยู่อาศัย ในเดือน ๑, ๓, ๕, ๗, ๘, ๑๐, ๑๑ เดือนที่ควรปลูกเรือนคือเดือน ๒, ๔, ๖, ๙, ๑๒
หลังจากทำบุญทุกครั้ง ควรแผ่เมตตาหรือกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญให้เจ้ากรรมนายเวรและสรรพสัตว์ด้วย

อ้างอิง และข้อเสนอแนะของผม : ต้องขออภัยมา ณ. ที่นี้ด้วยนะครับ เพราะผมไม่ได้บันทึกการอ้างอิงไว้ว่าผมเซพข้อมูลมาจากที่ไหน ดังนั้นเวลานำไปใช้งานให้ ตรวจสอบกับผู้รู้อีกทีนะครับว่าตรงกันไหม โดยผมไม่ได้แก้ไขข้อความด้านบนเลยครับ แต่ก็อย่างว่าครับพิธีการอย่างนี้มันมีหลายครู หลายอาจารย์ แล้วแต่ความเชื่อของแต่ละบุคคล

วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ตึกถล่มใน Shanghai







ตึกถล่มแบบ ล้มมาทั้งหลัง
เห็นรูปแล้วงงครับ ล้มเหมือนคนหงายหลังลงมา ไม่ได้พังเหมือนตึกถล่มแบบทั่วไป

ตอนนี้อยู่ในระหว่างการตรวจสอบสาเหตุครับ
จากข่าว BBC วันที่ 29 มิย.
เป็นอาคารแฟลต 13 ชั้น ที่ก่อสร้างใกล้เสร็จแล้ว

แต่ที่ผมสงสัยคือ ทำไมตึกมันล้มลงมาแล้วไม่พังละเอียด ผนังยังเห็นเป็นผนังอยู่เลย
เป็นการพังแบบค่อยๆเอียงรึเปล่าก็ไม่รู้

แต่ผมขอเดาเอาว่าเป็นการพังเนื่องมาจาก เสาเข็มหรือไม่ก็ฐานรากอาคาร เกิดวิบัติ
สังเกตุว่า ฐานรากและเสาเข็มบางส่วนถูกถอนขึ้นมาด้วย เหมือนเสาเข็มจะขาดที่ระดับใกล้เคียงกัน

อาจเกิดจากการทรุดตัวของเสาเข็มที่ไม่เท่ากันของสองฝั่งอาคาร หรือไม่ก็ ฐานรากฝังในดินน้อยไป

แต่ที่แน่ๆ ตึกข้างๆ ที่ไม่พังคงไม่มีคนกล้าอยู่แน่ๆ ขายไม่ออก คนที่ซื้อแล้วคงฟ้องคืนเงินกันอุดตลุด

วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ความจำเป็นของการตอกเข็ม หรือเจาะเข็ม บริเวณพื้นโรงรถ

มีคนถามเข้ามาว่า
โรงรถ จำเป็นต้องมีเสาเข็มมั้ย?
บางบ้านที่จอดรถจึงต้องเจาะเสาเข็ม???
แล้วถ้าเราจะทำโรงรถจำเป็นต้องมีเสาเข็มรองรับมั้ย?
รวมถึงพื้นรอบบ้านด้วย

ผมขอตอบตามแบบของผมนะครับว่า
ก่อนอื่นต้องเข้าใจระบบพื้นคอนกรีต ว่ามี หลายระบบ แต่ที่ใช้กับ โรงรถหรือพื้นอาคารชั้นล่าง มีอยู่ 2 อย่างคือ

1 พื้นออนบีม
2 พื้นออนกราวน์

ดูบทความที่ผมเขียนเกี่ยวกับพื้นคงพอเข้าใจได้ไม่ยาก ได้ที่นี่ครับ

เล่าเรื่องพื้นๆ ตอนที่ 1 (พื้นออนบีม)
เล่าเรื่องพื้นๆ ตอนที่ 2 (พื้นออนกราวน์)

ถ้าโรงรถของเราเป็นพื้นออนบีมอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องตอกเสาเข็มครับ เพราะมันได้ถ่ายน้ำหนักไปยังฐานรากอาคารอยู่แล้ว

แต่ ถ้าเป็นพื้นออนกราวน์ การตอกเข็มอาจมีความจำเป็นหรือไม่จำเป็นก็ได้ขึ้นอยู่กับการ ยอมรับของเราและทรุดตัวของอาคารครับ ที่ตอบแบบนี้เพราะ อาคารกับพื้นออนกราวน์ ที่โรงรถ หรือพื้นรอบบ้าน เป็นโครงสร้างคนละส่วนกัน แยกขาดจากกัน มันย่อมเกิดการทรุดตัวไม่เท่ากันอยู่แล้ว เช่นตัวบ้านไม่ทรุด แต่พื้นทรุด หรือ ตัวบ้านทรุด พื้นไม่ทรุด ดังนั้นรอยต่อของพื้นกับอาคารย่อมมีการทรุดตัวที่ต่างกันแน่นอน อาจเห็นมีรอยแยกหรือระดับการทรุดตัวที่ต่างกันและเรายอมรับการทรุดตัวที่ว่า ได้แค่ไหน ถ้าเรายอมรับตรงนี้ได้ก็ไม่จำเป็นต้องตอกเข็มที่โรงรถเพราะจะสิ้นเปลือง มากกว่าไม่ตอกเข็ม แต่ถ้าเรายอมรับการทรุดตัวนี้ไม่ได้ก็ควรตอกเข็มบนโรงรถสำหรบบ้องกันการทรุด ตัวของพื้นครับ

มีพื้นที่จอดรถหรือลานจอดรถเยอะแยะ ที่ตอกเข็มเจาะ ปูพรมทุกๆ 1 เมตร เพื่อป้องกันการทรุดตัวครับ
บางที่ก็ไม่ทำเลย บดอัด ดินอย่างเดียวก็มี เช่นถนนหลวง
ขึ้นอยู่กับ การยอมรับของเจ้าของงาน และน้ำหนักที่กระทำบนพื้นครับ ว่ามากน้อยอย่างไร

การตรวจสภาพ บ้านมือสอง ก่อนซื้อ

ก่อนการซื้อบ้านมือสอง หลายท่านคงดูแต่เรื่อง ทำเล, ราคา และสภาพความใหม่ของตัวบ้าน ว่าเหมาะสมกับราคา ที่ท่านจะต้องจ่ายหรือไม่ ถูกแพงอย่างไร แต่บทความนี้ ผมขอจะพูถึงเรื่องการตรวจสภาพโครงสร้างของบ้านมือสอง ว่า มีอะไรผิดปรกติหรือเปล่า และอาจให้ข้อแนะนำที่บางข้อที่หลายท่านอาจจะมองข้ามไป ก่อนการซื้อนะครับ

การตรวจสภาพโครงสร้าง ของอาคาร หรือบ้านมือสอง ก็มีความสำคัญมาก หลายๆท่านอาจมองข้ามไป เพราะมัวแต่ดูเรื่องทำเล, ราคา และสภาพเก่าใหม่ของบ้านเท่านั้น การมองข้ามเรื่องบางเรื่องไป อาจจะเสียใจไปจนตายก็ได้ เพราะการแก้ไขโครงสร้างบางอย่าง อาจทำไม่ได้ หรือทำแล้วไม่คุ้มค่า ดังนั้นผมขอให้ข้อเสนอแนะการดูสภาพบ้านไว้เป็นข้อๆละกันนะครับ

  1. ก่อนอื่นตรวจค้นหาร่องรอยการต่อเติม การตรวจค้นหาร่องรอยการต่อเติมสมควรทำอย่างยิ่ง เพื่อที่เราจะได้ทราบประวัติการต่อเติมต่างๆของบ้านว่า บ้านหลังนี้ทำอะไรมาบ้าง เช่น ต่อครัว ต่อห้อง เพิ่มชั้นลอย ฯ แล้วสังเกตุทำการต่อเติมได้ดีหรือไม่ดีอย่างไร วิธีที่ง่ายที่สุดในการหาร่องรอยการต่อเติมคือการถามเจ้าของเดิมครับ แต่ถ้าถามแล้วไม่ทราบ วิธีสังเกตุคือ ให้เดาลักษณะของบ้านเก่า ว่าควรมีหน้าตาอย่างไร (อาจดูจากข้างบ้านแล้วเทียบกัน) แล้วสังเกตุส่วนที่ไม่เหมือนกัน
  2. ตรวจรอยต่อระหว่างอาคาร ในบริเวณอาคารเก่ากับอาคารใหม่ โดยปรกติแล้วการต่อเติมอาคารที่ถูกต้องคือ ต้องทำการต่อเติมให้โครงสร้างอาคารเก่ากับอาคารใหม่แยกจากกันโดยสิ้นเชิงครับ ตัวอย่างเช่น การต่อเติมพื้นที่ห้องเพิ่มขยายไปยังพื้นที่ว่างด้านนอก ต้องต่อออกมาในลักษณะเป็นอีกอาคารนึงเลยแต่มาชิดกันเท่านั้น ไม่ได้เป็นการฝากโครงสร้างใหม่เข้ากับโครงสร้างเก่า (ดูรูป) เพราะการฝากโครงสร้างที่ทำใหม่ กับอาคารเดิมจะเกิดการทรุดตัวที่ไม่เท่ากัน มีผลทำให้อาคารวิบัติ(พัง) มาเยอะแล้ว ดังนั้นสิ่งที่ควรต้องสังเกตุคือ รอยต่อระหว่างอาคาร ในบริเวณอาคารเก่ากับอาคารใหม่ ต้องเป็นรอยต่อที่ไม่มีการแตกร้าวที่เกิดจากการดึงกัน ระหว่างโครงสร้าง 2 ส่วน เพราะเป็นสาเหตุของอาคารวิบัติคัรบ แต่รอยร้าวที่เกิดขึ้นจากอาคารสองส่วนที่ทรุดตัวไม่เท่ากันอาจยอมรับได้ถ้าการเป็นการต่อเติมเป็นการต่อเติมที่ถูกต้อง(ดูรูป)
  3. ตรวจรอยร้าว จริงๆแล้วรอยร้าว ไม่มีเลยจะดีที่สุดครับ แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ก็ควรรู้ว่ารอยร้าวของอาคารมีหลายประเภท หลายสาเหตุครับ แต่อยากให้สังเกตุไว้ว่ารอยร้าวแบบที่พอจะรับได้คือรอยร้าววที่มาจากการเสื่อมของวัสดุบนกำแพง เพราะมันพอจะแก้ไขได้ไม่ยากครับ วิธีสังเกตุคือ รอยร้าวประเภทนี้จะเป็นรอยร้าวแบบแตกระแหง มั่วไปมั่วมา ไม่เป็นแนวยาวเป็นทางเดียวต่อเนื่องกันครับ ส่วนรอยร้าวที่โครงสร้างหลักเช่น เสา คาน พื้น หรือ รอยร้าวบนผนังที่เป็นแนวยาวผิดสั้งเกตุ มันเป็นการบ่งบอกว่าอาคารมีปัญหา ควรหลีกเลี่ยงไว้ก่อน เพราะอาจเป็นการทรุดตัว หรือการรับน้ำหนักมากเกินไป หรือไม่ก็เป็นลางที่บอกว่า อาคารใกล้จะพัง
  4. สังเกตุระดับอาคาร เทียบกับถนน ให้ดูว่าบ้านนี้ระดับพื้นชั้นล่างต่ำเกินไปไหมในอนาคต เพราะถนนจะต้องถมให้สูงขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเราไม่สงเกตุตรงนี้อนาคตถนนมาการยกพื้นก็เป็นเรื่องที่ทำกันไม่ได้ง่ายๆ
  5. สังเกตุร่องรอยการยกพื้นหรือการถมดิน ข้อควรจำคือเมื่อยกพื้นขึ้นโดยการเทคอนกรีต หนา 10 เซนต์ จะเพิ่มน้ำหนักให้อาคารถึง 240 กก.ต่อตารางเมตร ถ้ามากกว่านี้ก็เพิ่มไปอีก แต่บ้านพักอาศัยเดิมๆ วิศวกรออกแบบสำหรับการรับน้ำหนักไว้ประมาณ 200 กก. ต่อตารางเมตรเท่านั้น ถ้าเพิ่มน้ำหนักให้บ้านไปมากๆ ก็คิดดูเอาเองครับ ดังนั้น การถมดิน การยกพื้นของบ้านควรพิจารณาดีๆ อีกอย่างที่ควรสังเกตุ คือบ้านมือสองในบริเวณพื้นที่ๆมีน้ำท่วม เขายกพื้นกันทุกบ้านแหละครับ
  6. สังเกตุการใช้งานผิดประเภทของอาคาร เช่นใช้บ้าน มาทำเป็นที่เก็บของ ดัดแปลงเพิ่มห้องน้ำบนดาดฟ้าเดิม หรือต่อระเบียงออกมาเป็นห้องนอน เรื่งพวกนี้ล้วนแต่เป็นการเพิ่มน้ำหนักให้อาคารโดยไม่ตั้งใจทั้งนั้น
  7. ขอแบบแปลนเดิม(ถ้าเป็นไปได้).
  8. ดูเรื่องเทศบัญญัติ และกฏหมาย การซื้อบ้านหรืออาคารที่ต่อเติม หรือการสร้างแบบผิดกฎหมาย ยังไงมันก็เป็นเหมือนซื้อของผิดกฏหมาย เป็นชงักติดหลังไปเรื่อยๆ ครับ ไม่มีทางแก้ได้จนกว่า จะรื้อถอนและสร้างให้ถูกกฏมาย แต่ที่ผมเห็นโดยส่วนใหญ่เกือบทุกหลังก็ทำกัน ที่ไม่เป็นอะไร ไม่มีปัญหา เพราะการใช้กฏหมายประเทศไทยไม่แข็งแรงครับ เชื่อหรือไม่ว่าอาคารบางหลัง หรือบ้านบางบ้าน ถูกหมายจากเจ้าหน้าที่ให้รื้อถอนเนื่องจากการก่อสร้างหรือการต่อเติมที่ไม่ถูกต้อง มาเป็น 10 ปีก็ยังไม่แก้ ต้องเสียค่าปรับ แต่ไม่จ่าย ดังนั้นค่าปรับก็เดินไปเรื่อยๆ บางที่ค้างตรงนี้เป็นล้าน ก็มี แต่ก็อยู่อย่างปรกติเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เฮ๊อ...เหนื่อยประเทศไทย

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เว็บไซด์ รวมแบบบ้าน ที่ผมจัดทำขึ้น

ตอนนี้ผมได้เริ่มจัดทำเว็บไซด์ เกี่ยวกับแบบบ้านขึ้นมาครับ ชื่อว่า






โดยในเว็บจะแบ่งเป็น 3 หมวดใหญ่ๆคือ

1. รวบรวมแบบบ้าน ที่มีอยู่ฟรีในอินเตอร์เนท ที่มีทั้ง แบบฟรีจากทางราชการ, แบบไอเดียจากต่างประเทศ, แบบของเราเอง แต่จะค่อยๆรวบรวมมาให้นะครับ ตอนนี้ก็ทะยอยๆ ทำอยู่

2. รวบรวมบทความที่ผมเขียนขึ้นเอง พยายามทำให้เป็นหมวดหมู่ และพยายามจะเขียน บทความใหม่ๆขึ้นเรื่อยๆครับ

3. โฆษณา การบริการของ บริษัทครับ

และต้องออกตัวว่าเว็บ 7-artist.com นี้เป็นเว็บที่ผมจัดทำเองทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การทำเว็บ เขียนบทความ การทำ Graphic design ซึ่งอาจจะเป็นอะไรที่ยังดูไม่เรียบร้อย หรือยังดูไม่สวยนัก แต่ผมก็พยายามที่จะพัฒนาต่อไปเรื่อยๆครับ

ขอบคุณครับ

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การประมาณราคา ค่าก่อสร้าง ภาค Q.S.

ในการทำงานก่อสร้าง ผมว่า สิ่งที่เจ้าของงาน, ผู้รับเหมา ตลอดจนผู้ออกแบบ มีความกังวลอย่างเดียวคือ เรื่องราคาค่าก่อสร้าง ว่าการก่อสร้าง โครงการของเขานั้นจะเป็นราคาเท่าไร เพียงแต่เป็นการกังวล ที่มองคนละมุมกันเท่านั้น

เจ้าของงานอาจเป็นกังวล ในแง่ของงบประมาณ ที่ต้องใช้จ่าย หรือการลงทุน

ผู้รับเหมา อาจกังวลในแง่ของ ต้นทุนในการก่อสร้าง และกำไร-ขาดทุน

ผู้ออกแบบ อาจกังวลใน เรื่องความเป็นไปได้ของโครงการว่า จะได้เกิด หรือไม่ โดนตัดทอนอย่างไร

สิ่งที่สามารถ ตอบกับทุกฝ่ายได้อย่างดีที่สุด คือ การประมาณราคา ครับ
ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นการประมาณราคา มันก็คือราคาที่ประมาณขึ้นมา โดยคร่าวๆ ไม่ได้เป็นราคาที่ถูกต้อง 100% มันต้องมีผิดพลาดบ้าง แต่การประมาณราคานั้นถ้าทำโดยผู้เชี่ยวชาญ ก็จะมีความแม่นยำมาก เดี๋ยวผมจะค่อยๆเล่าให้ฟัง

สมัยก่อนอาจารย์ สอนวิชาประมาณราคาของผมบอกว่า "การประมาณราคา ทำสิบคนก็ไม่มีทางได้ราคาเท่ากัน แม้แต่ตัวเองทำเองแต่ทำคนละที ก็ยังไม่เ่ท่ากันเลย" ดังนั้น การประมาณราคา จึงไม่ตัวเลขที่ถูกต้องอย่างเป๊ะๆ พอผมมาทำงานมันก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ ครับสำหรับประเทศไทย เพราะมีหลายมาตาฐาน หลายอาจารย์ เหลือเกิน เลยทำให้แต่ละคนมีวิธีประมาณราคาไม่เหมือนกัน แต่คำพูดนี้มันไม่แน่เสมอไปนะครับ เพราะที่จริงแล้ว การประมาณราคาก็มี วิธีมาตราฐานของมันอยู่ เช่นในประเทศอังกฤษ มีมาตราฐานการประมาณราคาที่ค่อนข้าง สมบูรณ์แบบ และจำเป็นต้องมีนักประมาณราคาที่มีใบอนุญาติ มาทำงานในเกือบทุกโครงการ เรียกว่าการทำ Q.S. หรือ Quantity Survey (ภาษาไทยเรียกว่า "สำรวจปริมาณ") โดยมี Surveyor เป็นคนที่จำเป็นต้องมีส่วนร่วม (มีเอี่ยว)ในเกือบทุกโครงการก่อสร้าง เหมือนกับ โครงการจำเป็นต้องมี วิศวกร กับสถาปนิก เลยทีเดียว

การทำระบบ Q.S. ในประเทศไทย ก็มีมานาน แต่อาจเป็นการใช้ ระบบนี้ในวงจำกัด เท่าที่ผมทราบมี ฝรั่งอาวุโสชาวอังกฤษ ท่านนึงชื่อ Mr. Blaise McConnell เป็น Q.S. มืออาชีพชาวอังกฤษ ได้เข้ามาเปิดบริษัทในประเทศไทยได้ กว่า 30 ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นคนแรกๆที่นำระบบนี้เข้ามาใช้กับโครงการก่อสร้างในประเทศไทย และท่านก็เป็นที่ยอมรับ และรู้จักของเกือบทุกคนที่ทำงานด้าน Q.S. ในประเทศไทย (ปัจจุบันท่านเสียชีวิต แล้วจากอุบัติเหตุรถยนต์ เมื่อหลายปีก่อน) ผมมีโอกาสได้เป็นลูกน้องของ Mr. Blase มาประมาณ 4-5 ปี อยู่ในตำแหน่ง Q.S. ได้เรียนรู้ระบบ Q.S. นี้มาพอสมควร โดยที่ไม่ได้ไปเรียนที่ ประเทศอังกฤษ แต่ได้มีโอกาสที่เรียนจากการทำงานจริงจากคนที่ ฝรั่งด้วยกันยังยอมรับว่าเป็น "เดอะคิง" ผมเลยพอที่จะโม้ให้ฟังเรื่องประมาณราคาได้ครับ

ต่อมาภายหลังในประเทศไทย ก็เริ่มมี นักประมาณราคาในสายประเมินทรัพย์สิน เช่นนักประเมินทรัพย์สินของธนาคาร รวมกลุ่มกันเปิดสมาคม และพยายามที่จะสร้างมาตราฐานในการประมาณราคาขึ้นมาเหมือนกัน เปิดโรงเรียนสอน แต่จริงๆ แล้วก็ยังห่างไกลกับระบบ Q.S. ที่ว่าพอสมควร (อันนี้ฝรั่งที่เป็น Q.S. เป็นคนบอกนะ ไม่ใช่ผมพูดเอง) ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีครับ ถ้าสมาคมนี้สามารถพลักดันให้ เกิดกฏหมายบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับการประมาณราคาได้ ประเทศไทยจะได้มีมาตราฐาน เรื่องราคาค่าก่อสร้างจริงๆสักที

ดูความหมายของ Quantity surveyor จาก Wikipedia ได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Quantity_surveyor

เรื่องยังมีต่อนะ

วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วิธีการเลือกแบบบ้าน

"แบบบ้าน" เป็น คำที่เรียกได้ว่ามีคำค้นหาใน google มากที่สุดในหมวดอสังหาริมทรัพย์ อาจเป็นเพราะว่า คนที่กำลังจะปลูกบ้านส่วนใหญ่ก็จะค้นหาในอินเตอร์เน็ท หาแบบบ้านเพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบบ้านใหม่ หรือไม่ก็ต้องการเลือกแบบบ้านฟรีๆ ที่อยู่ในอินเตอร์เน็ท มาใช้กับบ้านตัวเอง ดังนั้นผมจึงอยากที่จะเขียนบทความนี้ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางที่จะช่วยให้ คนที่กำลังหาแบบบ้าน สามารถ เลือกแบบบ้านได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการของตัวเอง และเลือกแบบบ้านได้อย่างเหมาะสมมากขึ้นครับ

แบบบ้านที่อยู่ในเนท มีมากมายเลยครับ ไม่ว่าจะเป็นเว็ปนอก เว็บไทย เพียงแค่ พิมพ์คำว่า home plan, home design ใน google ก็จะมีเว็บให้เลือกดูจนตาลายเลยครับ แต่การที่จะหาแบบที่ถูกใจ หรือสงสัยว่าแบบนี้เหมาะสมกับเราหรือเปล่าคงต้องดูในรายละเอียดกันหน่อยครับ



  1. แบบนี้ลงกับที่ดินเราได้หรือเปล่า คือผมอยากให้ข้อควรจำเกี่ยวกับ พรบ.ควบคุมอาคารไว้หน่อยว่า ระยะร่นของอาคาร ถึงเขตแนวที่ดินควรต้องมีพื้นที่ อย่างน้อย 2.00 เมตรครับถึงจะไม่ผิดกฏหมาย อันที่จริงแล้ว กฏหมายยังมีข้อกำหนดย่อยๆ อีกเยอะ แต่เอาไว้ดูแค่ข้อเดียวก่อนครับว่า 2.oo เมตรรอบตัวต้องเว้นว่างไว้ ดังนั้นเราต้องดูความกว้างยาวของตัวบ้านที่เราเลือกทั้ง 2 ด้านครับ ว่ามีความยาวเท่าไร แล้วบวกไป 4.00 เมตร(ข้างละ 2.00เมตร สองด้าน) แล้วเอาไปเทียบกับ ขนาดที่ดินเรา ว่าความกว้างยาวมนลงได้หรือเปล่า ถ้าลงไม่ได้ก็ต้องปรับแก้ หรือไม่ก็มองหาแบบอื่น

  2. ฟังชั่นการใช้งาน อันนี้คงไม่ต้องบอกครับว่า คงเป็นเรื่องแรกๆที่หลายๆท่านดูอยู่แล้ว ว่ามีห้อง มีพื้นที่ของบ้านตามที่เราต้องการหรือเปล่า มีห้องนอนกี่ห้อง, มีห้องครัวอยู่ตรงไหน, ห้องกินข้าวใหญ่พอรึเปล่า, ห้องน้ำพอรึเปล่า, ห้องพระมีมั๊ย

  3. ทิศทางลม และแดด ของบ้าน อันนี้ยากหน่อยครับที่จะหาแบบได้เหมาะสมกับที่ดินของเรา และค่อนข้างยากที่จะใช้วิธีหาแบบบ้านในอินเตอร์เน็ท แล้วจะเจอแบบบ้านที่เหมาสมกับทิศของที่ดินเรา แม้แต่การออกแบบบ้านใหม่ ก็ต้องอาศัยสถาปนิกที่มีประสบการณ์ระดับนึงในการออกแบบบ้านครับ เอาเป็นว่าผมจะอธิบายเป็นแนวทางไว้ละกันครับว่า ทิศทางของบ้านที่เหมาะสมควรเป็นอย่างไร เราควรเลือกแบบบ้านที่เหมาะสมกับที่ดินได้ยังไง อันดับแรกเราควรดูทิศของที่ดินเราก่อนครับว่า ทิศของที่ดินเราหันหน้าไปทางทิศไหน แล้วจำเอาไว้ว่า แดดมันขึ้นทางตะวันออก อ้อมทิศใต้และไปตกทางทิศตะวันตก และลมฤดูร้อนมักจะพัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ พัดขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนั้นทิศทางของบ้านที่ดี ทิศของบ้านต้องหันให้เหมาะกับทิศของที่ดินครับ เช่น ด้านทิศตะวันตกของบ้านจะเป็นทิศที่แดดร้อนมาก แดดส่องตลอดเวลา ควรเป็น ห้องที่ไม่ได้ใช้สอยหรือไม่ได้อยู่ตรงนั้นประจำ เช่น ห้องเก็บของ, ห้องแต่งตัว, ห้องน้ำ และห้องที่ใช้บ่อยๆ เช่น ห้องโถง, ห้องรับแขก, ห้องนอน ควรต้องอยู่ในทิศที่รับลม และมีช่องทางที่จะมีลมพัดเข้าและพัดออกได้อย่างเหมาะสมตามทิศทางของลม และต้องอย่าลืมครับว่า ลมจะพัดเข้ามาได้ ต้องมีทางออกของลมนะครับ ไม่ใช่่ามีช่องหน้าต่างไว้ทิศที่จะรับลม แล้วไม่มีทางออก อย่างนี้เปิดช่องไปให้ตายลมก็ไม่พัดเข้ามาครับ
  4. ฮวงจุ๊ย เรื่องฮวงจุ๊ยเป็นศาตร์เลยครับ มีหลายตำรามาก เข้าใจยากพอสมควร แต่ถ้าศึกษาดีๆ ฮวงจุ๊ยก็มีประโยชน์ ในการอยู่อาศัยมากครับ ลองศึกษาเรื่องฮวงจุ๊ยดูในรายละเอียดก็จะรู้ว่า ฮวงจุ๊ยไม่ใช่เรื่องไร้สาระ ขึ้นอยู่กับว่าเจ้าของบ้านจะให้ความสำคัญกับฮวงจุ๊ยขนาดไหน และจะนำมาใช้รึเปล่า แต่ถ้าจะให้ถูกต้อง และมั่นใจ คงต้องอาศัยผู้ชำนาญ หรือหมอดูฮวงจุ๊ย มาดูให้ครับถึงจะแน่นอน ในที่นี้ผมจะบอกคำแนะนำบางข้อ ของการเลือกแบบบ้านให้ถูกหลักฮวงจุ๊ยไว้
  • นอนขวางบ้าน จะทำให้ครอบครัวและบ้านมีความสุขปลอดภัย
  • ห้องพระควรอยู่หน้าบ้าน หันหัวไปทางทิศตะวันออก เพื่อความเป็นมงคล
  • ชักโครกวางขวางบ้านทำให้มีแต่เรื่องดีๆโดยเฉพาะห้องส้วมชั้นล่าง
  • บันไดขึ้นจากหลังมาหน้าทำให้เงินทองไม่รั้วไหล
  • พื้นที่ห้องครัวต่ำกว่าตัวบ้านทำให้มีกินมีใช้

วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ทำไมต้องเป็นเสาเข็มเจาะ


บทความนี้เป็นบทความที่ผมคัดลอกมาจากบทความที่ผมเขียนในเว็บของบริษัท ที่
http://borepile.com/
เ็ห็นว่าเกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง เลยหวังว่าคงเป็นประโยชน์ กับท่านผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะครับ


คำถามที่ถามกันบ่อยๆว่า เสาเข็มเจาะมันเป็นยังไง และทำไมตองเป็นเสาเข็มเจาะ ถามกันเข้ามาบ่อยมาก จนผมแทบอยากจะตั้งระบบตอบรับแบบออโต้ให้คนที่โทรเข้ามาถามได้เข้าใจกัน
ที่พูดแบบนี้ไม่ใช่ว่าจะ เบื่อหรือไม่อยากตอบนะครับ แต่อาจเป็นเพราะ ผมไไม่แน่ใจว่าการตอบของผมสามารถอธิบายได้ดีทุกครั้งเท่าการเขียน หรือเปล่าเท่านั้น แถมยังรู้สึกดีใจอีกต่างหากที่ มีคนสนใจที่จะทำเข็มเจาะ แล้วถามเข้ามาที่เรา
ผมจะลองเรียบเรียงคำตอบดูนะครับ

ถาม.. เสาเข็มเจาะคืออะไร?
ตอบ..เสาเข็มเจาะเป็นเสาเข็มชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่เหมือนเสาเข็มที่พบกันโดยทั่วไป แบบที่ใช้ปั้นจั่นตอกนั่นแหละครับ แต่ลักษณะการทำงานจะไม่เหมือนกัน แสาเข็มเจาะจะไม่ใช้การตอกเข็มลงไปในดินโดยตรง แต่จะใช้การ ตอกปลอกเหล็ก ที่ป็นแบบหล่อคอนกรีตลงไปในดิน แล้วใส่เหล็กเทคอนกรีตลงไปในหลุม แทน

ถาม..แล้วทำไมต้องเป็นเสาเข็มเจาะด้วย
ตอบ..เสาเข็มเจาะมีข้อดี และข้อเสียกว่าเสาเข็มตอกที่ไม่เหมือนกันคือ เสาเข็มเจาะสามารถทำงานในที่คับแคบได้ ไม่รบกวนเพื่อนบ้าน ไม่ส่งผลกระทบกับโครงสร้างหรืออาคารข้างเคียง เพราะแรงสั่นสะเทือนน้อย สามารถใช้กับงานต่อเติมได้ แต่ข้อเสียก็มีคือ ราคาค่าเสาเข็มเจาะจะแพงกว่า เสาเข็มตอก พอสมควร และจำเป็นต้องควบคุมคุณภาพในการทำงานมากกว่าเสาเข็มตอกครับ

ถาม..แล้วบ้านผมควรจะเป็นเสาเข็มเจาะหรือตอกดี
ตอบ..ก็แล้วแต่สภาพหน้างานของบ้านคุณครับ เช่นว่าถ้าสถานที่ก่อสร้างคุณเป็นที่ดินเปล่าโล่งๆ ไม่มีสิ่งก่อสร้างใกล้เคียงรอบด้าน ไม่กลัวว่าการตอกเข็มที่กระเทือนเหมือนแผ่นดินไหว จะไปทำให้อะไร รอบข้างพัง หรือแตกร้าว ก็เหมาะที่จะทำเสาเข็มตอก แต่ถ้าไม่ก็แนะนำเสาเข็มเจาะครับ

ถาม..แล้วเสาเข็มเจาะรับน้ำหนักได้เหมือนกันกับเสาเข็มตอกหรือเปล่า
ตอบ.. การรับน้ำหนักของเสาเข็มเจาะ สามารถรับน้ำหนักได้เหมือนกับเสาเข็มตอกทุกประการครับบางทีอาจจะมากกว่าเสา เข็มตอกด้วยซึ้าครับ เพียงแต่ว่าการรับน้ำหนักของเสาเข็ม จำเป็นจะต้องให้วิศวกรเป็นคนคำนวนหา น้ำหนักของอาคารที่จะถ่ายลงไปเสาเข็ม และวิศวกรจะเป็นคนเลือกชนิด หรือขนาดของเสาเข็มที่จะใช้ให้ครับ? แต่ถ้านำ เสาเข็มเจาะไปเทียบกับเสาเข็มตอกในเรื่องการรับน้ำหนัก ก็ต้องมาดูถึงคุณภาพของการทำเสาเข็มเจาะครับ เพราะเสาเข็มเจาะมีขั้นตอนยุ่งยากในการทำงานมากกว่า จำเป็นต้องควบคุมคุณภาพในการทำงานเกือบทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องชั้นดิน, การใส่เหล็กเสริม, คุณภาพคอนกรีต, การถอดปลอกเหล็ก ฯลฯ ซึ่งถ้าผู้ทำงานไม่มีความชำนาญ หรือมีความรับผิดชอบไม่พอ ก็สามารถทำให้เสาเข็มเสียหายโดยเจ้าของงานไม่รู้ได้เหมือนกัน

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

การถมดิน ควรถมก่อนหรือหลังการก่อสร้างอาคาร

มีคนถามเข้ามา ว่าจะปลูกบ้าน 2 ชั้น 50 ตรว. อยากรู้เรื่องการถมดิน ว่าควรจะถมก่อนหลังยังไง บ้างก็บอกว่าต้องถมดินทิ้งไว้ก่อน ประมาณ6-12 เดือน บ้างก็บอกว่าถมทีหลังก็ได้
ต้องยังไงแน่ ผมขอตอบแบบของผมละกันครับ

การจะถมดิน ควรที่จะทำก่อนการปลูกบ้าน แน่นนอนครับ ครับเนื่องจากการ ถมดินหลังจากการปลูกบ้านสร็จแล้ว อาจมีปัญหานื่องจาก แรงดันดินที่ไปกระทบ กระเทือนต่อฐานราก หรือตัวอาคาร ทำให้ตัวอาคารมีแรงไปกระทำโดยไม่ตั้งใจได้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้

ส่วนการถมดินสำหรับก่อนการปลูกบ้านควรจะถมเมื่อไรนั้น
ถ้าถามผม ผมจะตอบว่า ควรถมดินตอนน้ำมันถูกครับ เพราะถ้าถมดินต้องอาศัยรถในการถมดิน ยิ่งน้ำมันถูกราคาถมดินก็จะถูกลงไป สามารถต่อรองราคาได้เยอะ แต่ถ้าน้ำมันแพงนะครับ สารพัดจะโก่งราคา

ส่วนบางคนที่บอกว่าควรถมดินก่อนการปลูกบ้านสัก 6 เดือน มีความจำเป็นไหม
ถ้าเป็นการถมดินเพื่อก่อสร้างในกรุงทพ ที่ตัวอาคารวางอยู่บนเสาเข็ม ก็อาจไม่มีความจำเป็นมากนัก เพราะตัวอาคารไม่ได้วางอยู่บนดิน อยู่บนฐานรากแผ่ แต่ตัวอาคารวางอยู่บนฐานรากที่เป็นเสาเข็ม
มีตัวอย่างเยอะแยะตามหมู่บ้านทั้งหลาย
ที่ถมดินสร็จก็สร้างเลย

แต่ยังไงก็ต้องยอมรับว่าหลังจากการถมดินเสร็จแล้วจะต้องมีการทรุดตัวบ้าง
แต่คงไม่มีปัญหาเรื่องโครงสร้างหลักแน่นอน (สำหรับฐานรากวางบนเสาเข็ม)
อาจมีปัญหาเรื่องการทรุดตัวรอบๆบ้าน หรือการทรุดตัวบนพื้นที่เป็นพื้นออนกราวน์บ้างเท่านั้น

ดังนั้นสรุปว่ามีตังค์ก็ถมไปเถอะครับ
ยิ่งนานมันก็ยิ่งแน่นดี

ส่วนบ้านที่ไม่ได้อยู่ในกรุงเทพเป็นฐานรากแบบแผ่
การถมดินก่อนนานๆ อาจเป็นประโยชน์กว่า เพราะฐานรากแผ่ที่ว่าอาจไปวางอยู่บนชั้นดินถมโดยไม่ตั้งใจครับ
ถึงแม้ว่าเป็นข้อห้ามที่สำคัญ ว่า ห้ามเอาฐานรากแผ่วางบนดินถมเด็ดขาด
แต่ก็อาจมีบ้างที่ช่างไม่รู้ เอาฐานรากไปวางไว้บนดินถม
แล้วดินถมยุบ ทำให้บ้านทรุดไปด้วย

วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2552

เล่าเรื่องพื้นๆ ตอนที่ 3 พื้นไร้คาน (Flat Slab)

ต่อตอนที่ 3 นะครับ


1.3. พื้นไร้คาน (Flat Slab)

พื้นชนิดนี้ก็คือ พื้นคอนกรีตหล่อในที่เหมือนพื้นออนบีมนั่นเอง แต่เป็นการออกแบบคนละระบบกัน เพียงแต่ว่าพื้นไร้คานเป็นพื้นที่ทำการออกแบบโดยไม่ได้มีการถ่ายน้ำหนักไปยังคาน (ชื่อมันก็บอกอยู่แล้วว่าพื้นไร้คาน มันจะมีคานได้ไง 55)

ทีนี้หลายคนคงสงสัยว่า เอ๊ะ พื้นไร้คานแล้วมันจะอยู่ได้มั๊ย แข็งแรงมั๊ย ตอบคืออยู่ได้ครับ และพื้นแบบนี้อาคารขนาดใหญ่นิยมทำมากกว่าพื้นออนบีมซะด้วยซ้ำ คำถามต่อมาคือ

“อ้าวถ้างั้นบ้านทั่วๆไปทำไมถึงไม่นิยมใช้ล่ะ เห็นไปที่ไหนก็คานตรึม ถ้าไม่มีคานได้ แล้วจะสร้างคานไปทำไม”

ตอบคือ ผมว่ามันอยู่ที่ความคล่องตัวของผู้ออกแบบมากกว่าครับ เช่นอาคารขนาดเล็กพวกบ้าน, สำนักงาน ลักษณะรูปแบบการวางผังของอาคารจะไม่เป็นกริดๆเป็นตารางๆ การออกแบบพื้นให้เป็นระบบพื้นออนบีมจะสามารถทำการถ่ายน้ำหนักได้ง่ายกว่าและทำให้โครงสร้างโดยรวมประหยัดกว่า การออกแบบพื้นเป็นพื้นระบบไร้คานครับ

เพราะสมมุติฐานของการออกแบบพื้นไร้คานคือ “แผ่นพื้นที่เสริมเหล็กสองทางหรือมากกกว่า และถือเสมือนว่าเป็นแผ่นพื้นเดียวทำการถ่ายน้ำหนักไปยังหมวกหัวเสา หรือ แป้นหัวเสา และทำการถ่ายน้ำหนักไปยังเสาอีกที” ทำให้ความหนาของแผ่นพื้นไร้คานในบางช่วงต้องหนามาก และไหนยังเรื่อง ระบบการก่อสร้างที่ไม่ชำนาญ, การทำแป้นหัวเสา, การทำหมวกหัวเสา(ดูรูป)





















ต่างกันกับการออกแบบโครงสร้างให้เป็นระบบเสา,คาน คือ พื้นบางช่วงจะเป็นพื้นทางเดียว, พื้นสองทาง, พื้นยื่น อาจเสริมเหล็กไม่เท่ากัน ทำให้ต้นทุนในการก่อสร้างถูกกว่า และผู้รับเหมาคนไทย, ช่างไทย ทำพื้นออนบีมชำนาญมาก (อาจตีลังกาทำได้) บางท่านอาจทำโดยไม่ต้องดูแบบแค่นึกภาพเอาก็ทำได้


แต่ข้อดีของพื้นไร้คานก็มีเหมือนกันครับ คือ อย่างแรกคือ เมื่อมันไม่มีคาน มันก็สามารถเพิ่มความสูงของระดับชั้นต่อชั้นได้(Floor to Floor height) (การออกแบบของอาคารเรื่องความสูงของพื้นถึงฝ้าบางโครงการมีความจำเป็นมาก เช่นพวกอาคารที่มีความต้องการจำนวนชั้นมากๆ แต่ถูกควบคุมโดยกฎหมาย ห้ามความสูงเกินเท่านั้นเท่านี้ ทำให้ระดับความสูงของชั้นแต่ละชั้นจำเป็นมาก) ที่เพิ่มได้ก็เพราะมันไม่มีคานนั่นเอง


อีกเรื่องคือลักษณะของอาคารที่เป็นกริดๆ ตารางๆ เท่ากัน ซ้ำๆกันหลายชั้น การออกแบบให้เป็นพื้นไร้คานอาจสามารถทำให้ลดต้นทุนในการก่อสร้างได้ อย่างน้อยคือเรื่องระยะเวลาการก่อสร้าง โดยเฉพาะผู้รับเหมาหรือช่างที่ชำนาญ สามารถทำได้เร็วมาก ส่วนเรื่องปริมาณวัสดุเช่นจำนวนคอนกรีตกับเหล็กเสริม ผมว่าขึ้นอยู่กับการออกแบครับว่าจะเป็นยังไง ถ้าสำหรับตัวผมที่เคยทำ ผมว่ามันขึ้นอยู่กับลักษณะอาคารมากกว่า บางอาคารก็ประหยัดได้ บางอาคารก็ไม่ครับ

วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2552

เล่าเรื่องพื้นๆ ตอนที่ 2 (พื้นออนกราวน์)

ต่อเรื่องพื้น ตอนที่2
คราวที่แล้วผมเล่าเรื่องพื้น ออนบีมไปแล้ว ก็จะต่อด้วยพื้นออนกราวน์นะครับ

1.2 พื้นคอนกรีตออนกราวน์ การที่จะเลือกใช้พื้นคอนกรีตออนกราวน์นี้ จะใช้ในกรณีเป็นพื้นชั้นล่างเท่านั้น เพราะชื่อมันบอกว่าออนกราวน์ มันก็ต้องอยู่ข้างล่างจริงมั๊ย
โดยทั่วไปการที่เลือกใช้เป็นพื้นออนก ราวน์ เหตุผลคือ ประหยัดครับ เพราะการถ่ายน้ำหนักของพื้นออนกราวน์ที่ว่าเป็นการถ่ายน้ำหนักไปยังดินโดย ตรง สามารถลดน้ำหนักที่กระทำไปยังคานและเสาได้ ทำให้สามารถลดขนาดของคาน ขนาดของเสาลงไปได้ และไหนจะตัวพื้นเองที่เสริมเหล็กน้อย ความหนาก็ไม่มาก

ดังนั้นพื้นออนกราวน์ที่อยู่ได้ คือ การบดอัดของดินที่อยู่ใต้พื้นเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดครับ (สำคัญกว่าตัวพื้นเองด้วยซ้ำ)เพราะถ้าหากดินหรือทรายที่อยู่ใต้พื้นคอนกรีต ออนกราวน์นั้นทรุด คอนกรีตก็จะเกิดการแตกร้าวได้อย่างไม่ต้องสงสัย อีกเรื่องที่อยากจะบอกคือ เรื่องเหล็กเสริมในพื้นออนกราวน์นั้นจะเป็นเพียงแค่ เหล็กเสริมกันร้าวเนื่องจากอุณหภูมิเท่านั้น ไม่ได้เป็นเหล็กเสริมที่จะออกแบบไว้สำหรับกำลังโดยตรง ดังนั้น เหล็กเสริมที่จะใช้อาจเป็นเพียงเหล็ก 6 มิล วางเป็นตะแกรง 25 เซนติเมตร ,20 เซนติเมตร หรือเป็นเหล็ก wire mesh 4 มิล หรืออาจจะเป็นเพียงแค่ไม้ไผ่ผ่าซีกก็ได้ ข้อควรระวังอีกเรื่องของพื้นคอนกรีตออนกราวน์ที่ควรรู้คือเรื่องรอยต่อ ระหว่างพื้นกับคานครับ ควรที่จะต้องเป็นรอยต่อที่แยกกันอย่างสิ้นเชิงในแง่ของโครงสร้างครับ ดูรูป


เพราะว่าถ้าเราทำการออกแบบพื้นให้เป็นพื้นคอนกรีตออนกราวน์แล้ว แต่ตัวพื้นยังวางอยู่บนคานตามรูปที่สอง พื้นที่ว่าจะกลายเป็นพื้นที่ถ่ายน้ำหนักของตัวพื้นเองลงไปยังคานที่อยู่ด้าน ใต้ทำให้พฤติกรรมของโครงสร้างผิดๆปจากที่ได้ออกแบบคำนวณไว้กลายเป็นพื้นออ นบีมทันที ภายหลังปัญหาก็จะตามมาว่าพื้นนั้นไม่สามารถรับน้ำหนักได้เนื่องจากมีคานยัน อยู่ด้านใต้ แต่ตัวพื้นเองไม่ได้ออกแบบเสริมเหล็กไว้เพียงพอที่จะรับน้ำหนัก มีเหล็กเป็นเพียงเสริมกันร้าวเนื่องจากอุณหภูมิเท่านั้น และปัญหาอีกเรื่องนึงคือ ถ้าโครงสร้าง ทั้งคาน เสาตอม่อ และฐานรากไม่ได้ออกแบบเผื่อน้ำหนัก สำหรับพื้นออนกราวน์ไว้ มันอาจมีน้ำหนักมากไปกว่าที่ควรเป็นครับ เพราะการถ่ายน้ำหนักผิดไปจากที่วิศวกรคำนวณไว้คือดันมีคานไปรับน้ำหนักพื้น ครับ

เล่าเรื่องพื้นๆ ตอนที่ 1 (พื้นออนบีม)

คราวนี้จะเล่าเรื่องพื้นสำหรับใช้ในการออกแบบโครงสร้างว่าควรเลือกใช้ยังไง เช่น พื้นคอนกรีตออนบีม ออนกราวน์ พื้นสำเร็จ พื้นโพส ฯลฯ คงมี ผู้ออกแบบหลายคน สงสัยว่าการก่อสร้างอาคารๆนึง มีพื้นให้เลือกตั้งหลายแบบ แต่ละแบบเป็นยังไงและควรเลือกใช้ยังไงวันนี้จะเล่าคร่าวๆ ให้ฟังครับเพื่อที่จะนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง และเพื่อความประหยัดครับ

พื้นเป็นโครงสร้างที่สำคัญมีหลายแบบหลายวัสดุ ผมจะขอแยกประเภทไว้คร่าวๆดังนี้ แล้วจะเล่าที่ละอันให้ฟังครับ
1. พื้นคอนกรีตหล่อกับที่

1.1 พื้นคอนกรีตออนบีม
1.2 พื้นคอนกรีตออนกราวน์
1.3 พื้นไร้คาน

2. พื้นคอนกรีตอัดแรง

2.1 พื้นคอนกรีตสำเร็จรูปชนิดอัดแรง
2.2 พื้นคอนกรีตโพสเทนชั่น

3. พื้นไม้

เริ่มเลยนะครับ

1. พื้นคอนกรีตหล่อกับที่ ก็ตามชื่อที่บอกแหละครับ คือพื้นที่หล่อเอง ทำแบบหล่อเอง วางเหล็กเทปูนเอง ไม่ได้หล่อจากที่อื่นแลล้วยกมาวาง ผมขอแยกเป็น 3 แบบละกันนะครับ

1.1 พื้นคอนกรีตออนบีม น่าจะเป็นพื้นที่นิยมใช้มากที่สุด เพราะช่างไทยคุ้นเคย และมีประสบการณ์ในการทำพื้นมาแทบจะเรียกได้ว่าหลับตาทำก็ ชื่อมันก็บอกอยู่แล้วครับว่า ออนบีม มันก็แปลอยู่แล้วว่าวางอยู่บนคาน คือมีการถ่ายน้ำหนักจากพื้นไปสู่คาน โดยอาจแบ่งวิธีการถ่ายน้ำหนักของพื้นได้สองแบบ คือ พื้นทางเดียว กับพื้นสองทาง ทีนี้ถามว่าแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าป็นพื้นทางเดียวหรือพื้น สองทาง ตอบคือ วิธีการตรวจสอบ ถ้าเอาความยาวของพื้นด้านสั้นไปหาร ความยาวของพื้นด้านยาว แล้วได้ค่ามากกว่า 0.5 แล้วแสดงว่า เป็นพื้นสองทาง














น้ำหนักของพื้นและน้ำหนักที่อยู่บนพื้นจะถ่ายไปยังคานตามลูกศรชี้คือในกรณีของพื้นสองทาง น้ำหนักของพื้นในพื้นที่สีน้ำเงินจะถูกไปยังคานสีน้ำเงิน พื้นสีเขียวจะถูกถ่ายไปยังคานสีเขียว ส่วนพื้นสองทางการถ่ายน้ำหนักจะแบ่งครึ่งกันไปยังคานแต่ละฝั่งเท่าๆกันครับ

ข้อดีของพื้นออนบีมคือ ข้อแรก พื้นจะไม่ทรุดเหมือนพื้นออนกราวน์ครับเพราะการถ่ายน้ำหนักของพื้นจะไปอยู่บนคานและคานจะถ่ายน้ำหนักไปยังเสาอีกที แต่พื้นออนกราวน์นั้น อยู่ในสมมุติฐานว่าน้ำหนักทั้งหมด ถ่ายไปยังดินโดยตรงไม่ได้วางบนคาน

ข้อดีอีกข้อหนึ่งของพื้นออนบีม คือ ในกรณีที่ใช้เป็นพื้นชั้น 2 จะไม่มีปัญหารั่วซึมของน้ำครับ เห็นได้ว่า แบบบ้านทั่วๆไปที่เป็นพื้นสำเร็จรูปวาง วิศวกรจะหลีกเลี่ยงการวางพื้นสำเร็จบนพื้นห้องน้ำ และพื้นระเบียงเพื่อป้องกันปัญหาการรั้วซึมของน้ำ แต่ขอย้ำไว้หน่อยนะครับ คุณสมบัติพื้นฐานของคอนกรีตเป็นวัสดุที่ไม่สามารถป้องกันการรั่วซึมของน้ำได้ครับ ดังนั้น การป้องกันการรั่วซึมจะสามารถกันได้ระดับหนึ่งเท่านั้น ไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์

สำหรับข้อควรรู้อีกข้อหนึ่งสำหรับพื้นคอนกรีตออนบีมอีกเรื่องหนึ่งคือ ระยะเวลาการถอดค้ำยันของพื้นครับ เพราะว่าการที่คอนกรีตจะรับกำลังได้เต็ม 100 % นั้นคือ ระยะเวลา 28 วัน ดังนั้นเวลาการที่จะสามารถถอดค้ำยันได้อย่างน้อยๆคือ 14 วันครับ เพราะเป็นระยะเวลาที่คอนกรีตพื้นสามารถรับกำลังได้แล้วเกิน 70% แต่ก็ต้องค้ำยันด้วยเสาไม้ไว้เป็นช่วงๆคือ ทำเป็นไม้ป็อบค้ำไว้ จนกว่าจะครบ 28 วันคอนกรีตจึงจะสามารถรับน้ำหนักไว้เต็มที่ ดังนั้น ในการเลือกที่จะใช้คอนกรีตออนบีม เรื่องที่ควรพิจารณาคือ แผนการก่อสร้างครับ คือสมมุติว่าพื้นที่เทคอนกรีตออนบีมไว้นั้นเป้นพื้นที่ไม่ได้อยู่ชั้นล่าง อาจอยู่ชั้นสอง ชั้นสาม จำเป็นต้องรอเวลาถึง 14 วันหลังเทคอนกรีตจึงจะสามารถถอดแบบหล่อคอนกรีตด้านล่างได้ ดังนั้นในช่วงเวลาการรอ 14 วันช่างจะไม่สามารถทำงานก่ออิฐหรืองานอื่นๆได้เลย ทำให้ผู้รับเหมาส่วนใหญ่ จึงอยากหลีกเลี่ยงพื้นออนบีม ไปใช้พื้นสำเร็จกัน อีกอย่างคือเรื่องต้นทุนของการวางพื้นสำเร็จ ก็อาจถูกกว่าเมื่อเทียบกับ พื้นหล่อกับที่ ในเรื่องของไม้แบบ และเรื่องของ ระยะเวลาการก่อสร้างครับ


วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2552

การก่อสร้างอาคารบนบ่อปลาเก่า อันตรายนะขอเตือน

เป็นเรื่องการทรุดตัวที่ไม่เท่ากันของฐานรากน่ะครับ

มีอาคารอยู่แห่งหนึ่งในต่างจังหวัด ถ้าจำไม่ผิดอยุธทยา ครับ
วิศวกรออกแบบไว้เป็นเข็มลึก 8 เมตรโดยไม่รู้ว่าที่ๆ จะทำการก่อสร้างเป็นบ่อปลาเก่า ที่ถมดินไว้แล้ว
ผังอาคารออกแบบไว้บางส่วนอยู่บนดินธรรมดา บางส่วนอยู่บนบ่อปลาเก่าที่ว่า
ตอนตอกเข็มเจ้าของก็ไม่รู้ว่าจะต้องดูอะไรบ้าง ก็ปล่อยให้สร้างอาคารไปจนเสร็จ

ดูรูปนะครับ


จริงๆแล้วคนตอกเข็ม ต้องรู้ครับว่าชั้นดินเป็นยังไง และต้องแจ้งเจ้าของงานให้เปลี่ยนความยาวเข็ม
แต่คนตอกเข็มเป็น คนงานครับเขาไม่สนหรอกว่า ชั้นดินเป็นยังไงสร้างอาคารอะไรยังไม่รู้เลย เขาให้ตอก 8 เมตร ก็ 8 เมตร ห่วงแค่ว่ากี่วันจะเสร็จ ตรงไหนดินนิ่มๆ สบายเลย

ถ้างานไหนมี คนคุมงานก็รำคาญนิดหน่อยแค่นั้น งานเสร็จช้าลงนิดนึง

ทีนี้ตอนอาคารสร้างเสร็จใหม่ๆ ทาสีก็สวยดีครับ ผ่านไปสัก 4-5 เดือนเริ่มเห็นผล
ผนังเริ่มร้าว ก็ตามผู้รับเหมามาซ่อม ซ่อมรอยฉาบผนัง ซ่อมเสร็จก็ร้าวอีก ไปๆมาๆ สัก 2 รอบเริ่มเอะใจ
พอดีผมได้มีโอกาสเข้าไปดู ก็ถามข้อมูลการก่อสร้าง มันก็ปรกติดี ผู้รับเหมาเป็นเพื่อนกันกับผมครับไว้ใจได้ว่าไม่มั่ว ถามข้อมูลดินแถวๆนั้นก็ได้ความว่า ตอกกัน ประมาณนี้ แต่ผมดูลักษณะการร้าวของอาคารมันฟ้องว่า เกิดจากการทรุดตัวไม่เท่ากันของฐานรากแน่ๆครับ ตามตำราที่เรียนมาจากอาจารย์ว่า
กำแพงที่ร้าวเป็นรอยแนว 45 องศา จากมุมอาคารนึงไปอีกมุมอาคารนึง มันเกิดจากการทรุดตัวไม่เท่ากัน
เลยทดลองเจาะดินไปตรวจดู เลยรู้ว่าชั้นดินมันแปลกๆ ถามไปถามมาเลยรู้ว่า มันคือบ่อปลาเก่า

เจ้าของตอนแรกก่อนรู้สาเหตุว่าเป็นบ่อปลาโวยมาก ผู้รับเหมาห่วย คนออกแบบห่วย วิศวกร สถาปนิกทั้งทีมไม่ได้เรื่อง พาล ไปถึงเรื่องฮวงจุ๊ย ว่าไม่ดี จะให้รับผิดชอบให้ได้ พอรู้ตอนหลังก็อ่อนลง ผมจำไม่ได้ว่าเจ้าของงานหรือผู้รับเหมาเป็นคนจ้างผู้รับเหมาตอกเข็ม

แต่สรุปก็ยังไงก็ให้ผู้รับเหมาเพื่อนผมรับผิดชอบ ไม่จ่ายเงินประกันผลงาน ผู้ รับเหมาก็รับผิดชอบไม่ไหวครับ และก็ไม่ได้ตั้งใจให้เกิดด้วย สุดท้ายเจ้าของไปซ่อมเอง ยึดเงินประกัน และผมก็ไม่ได้เข้าไปดูอีกเลยครับว่าเขาซ่อมยังไง เพราะผมเข้าไปดูในฝ่ายตัวโกงครับ(เพื่อนผู้รับเหมา) ไม่ใช่ฝ่ายพระเอก เข้าไปอีกรอบอาจโดนด่า

ที นี้ เพื่อนๆอาจสงสัยว่าการแก้ไขต้องทำไง ตอบคือ ยาวครับ ต้องทำการเสริมเสาเข็ม เป็นเข็มเจาะ และเสริมฐานราก ส่วนที่อยู่บนบ่อปลาใหม่ทั้งหมด
อาคารที่เสร็จแล้วต้องรื้อ ฟินิชชิ่งใหม่ ทำพื้นใหม่ ทาสี ทำฝ้า

ดินทรุดจากการถมที่ก่อนการสร้างบ้านทำยังไง ตอนที่ 2

งั้นมาต่อกันนะครับ

ว่าการทรุดตัวที่ไม่เท่ากันของฐานรากมีผลยังไง
ตอบคือ มีผลร้ายแรงมากครับ คืออาจทำให้อาคารวิบัติ หรือพังมาทั้งหลังได้ครับ

ดูรูปนะครับ
สมมุติว่าอาคารนึงสร้างมา โดยที่ตอกเข็มลงไปในชั้นดิน ที่คิดว่าแข็งแล้ว แต่เราไม่รู้ว่าชั้นดินที่อยู่ใต้ดินเป็นยังไง
เล้วเกิดมีอยู่เสาเข็มนึง ปลายเข็มยังอยู่บนชั้นดินอ่อน ด้วยสาเหตุอะไรก็แล้วแต่ แต่ปลายเข็มอื่นๆมันอยู่บนชั้นดินแข็ง
มันจะเป็นสาเหตุทำให้อาคารเกิดการทรุดตัวไม่เท่ากันครับ
เพราะว่า เมื่อ การก่อสร้างอาคารเสร็จสักพักจะมีน้ำหนักมากดทับลง ตามที่วิศวกรคำนวนไว้ แต่ ฐานรากจุดนั้นรับไม่ได้
มันก็จะเกิดการทรุดตัวไม่เท่ากัน

ทีนี้สาเหตุของการที่เข็มไม่ได้วางอยู่บนชั้นดินมีหลายสาเหตุครับ
เช่น ผู้รับเหมาตอกเข็ม มักง่ายไม่ตอกไปจนถึงชั้นดินแข็งที่ว่า ตอกๆไปพอดูปลายเข็มที่อยู่บนดินว่าเท่าๆักันก็หยุดตอก แบบว่าเหนื่อยและไม่มีคนดู
เขาเรียกว่าลักไก่ครับ
เพราะการคุมงานตอกเข็มจะต้องทำการ check blowcount ทุกต้นครับว่ามันถึงชั้นดินแข็งหรือยัง
อธิบาย วิธีการเชคง่ายๆคือ ดูว่าถ้าตอกหลายๆทียังไม่ลงก็แสดงว่าแข็งแล้ว แต่รายละเอียดมีมากกว่านั้นครับและต้องอาศัยการคำนวน เช่นต้องรู้น้ำหนักตุ้ม
ต้องคำนวนหา ระยะยกของแต่ละุตุ้ม จึงจะรู้คร่าวๆว่าเขมต้นนั้นรับน้ำหนักได้เท่าไร

เพื่อนๆอาจเคยเห็น Site งานบางที่่ ที่ตอกเข็มเสร็จใหม่ๆยังไม่ตัดหัวเข็ม จะเห็นปลายเข็มโด่มาพ้นดินไม่เท่ากัน บางที่โด่มาเป็นเมตร
บางหลุมตอกไปจนหมดเข็ม ก็ยังต้องใช้เสาส่งลงไปใต้ดินอีก

นั่นคือสาเหตุที่ไม่ทำการตรวจสอบชั้นดินก่อนครับ ถ้ามันโผล่มามาก ก็เปลืองเพราะว่าต้องตัดทิ้ง ถ้าลึกไปใต้ดินอาจมีปัญหาอีก

นี่แค่สาเหตุนึงนะครับ
ยังมีเรื่องเข็มหักระหว่างขนย้าย เรื่องชั้นดินที่คาดไม่ถึง ไม่ได้เตรียมเข็มไว้พอ

มีเรื่องตลกเล่าให้ฟังครับ
มีผู้รับเหมาท่านนึง มารับงานก่อสร้าง บ้านน้องที่รู้จักกัน แล้วน้องเขาให้ผมเข้าไปดูงานให้เพราะมีปัญหา
เรื่อง คือ ในแบบ เข็มจะต้องตอก 18.00 เมตร ฐานละ 1 ต้น แต่มีอยู่ฐานนึง เข็มหักระหว่างขนย้าย และเหลือเข็มเศษ ผู้รับเหมาจึงเอาเข็มต้นที่หักยาวแค่ 9 เมตร 2 ต้น และเสริมเข็มใหม่ยาว 6 เมตรแถมให้อีกต้น แล้วบอกเจ้าของบ้านว่าขาดทุนนะเนี่ย ต้องตอกตั้ง 3ต้น
เจ้าของบ้านก็ไม่รู้เรื่อง โอเคไปเพราะเห็นว่า ได้เข็มรวมตั้ง 24 เมตร คุ้ม
ผลคือ อนาคตบ้านทรุดแน่ครับเพราะเข็มทั้ง 3 ต้นที่ว่าไม่ได้วางอย่บนชั้นดินแข็งเลย
วิศวกรคุมงานก็ไม่เคยมาดู ร้องไปถึงสภาแน่ะ น้องเขาเอาไปโพสในพันทิพย์ ด่าผู้รับเหมาแหลก
ต้องแก้ไข กันยาว

ดินทรุดจากการถมที่ก่อนการสร้างบ้านทำยังไง ตอนที่ 1

ดินทรุดตัวเป็นเรื่องใหญ่ครับ ถ้าทำไม่ดีโอกาสเสี่ยงสูงครับ

การทรุด ตัวของดินถ้าอยู่ในสมมุติฐานว่ามันทรุดเท่ากันหมดก็ไม่พรือครับ ถ้าฐานรากรับน้ำหนักได้สร้างไปก็ไม่เป็นไรครับแต่ที่น่ากลัวที่สุด
คือการทรุดตัวไม่เท่ากันของฐานราก พังมาเยอะแล้ว

คืองี้ครับ อรัมภบทหน่อยนะครับ
ทีู่้รู้ๆกันคือการรับน้ำหนักของโครงสร้างอาคารจะถ่ายน้ำหนักของอาคารทั้งหมดที่มีไปที่ฐานราก
และฐานรากจะมีอยู่สองอย่างคือ ฐานรากแผ่ กับฐานรากแบบเสาเข็ม จะเลือกแบบไหนตอบง่ายนิดเดียว
คือว่าน้ำหนักอาคารที่ลงไปแต่ละฐานรากมีเท่าไร เอาไปลบกับการรับน้ำหนักของดินตรงนั้น ว่ารับได้ไหวหรือป่าว
ถ้ารับได้ก็ใช้ฐานแผ่ ถ้ารับไม่ได้ก็ต้องเป็นเสาเข็มทิ่มลงไปอยู่บนที่ชั้นดินที่แข็งกว่า

ทีนี้ไปดูเสาเข็มการรับน้ำหนักของเสาเข็มมันก็มีสองส่วนคือ รับน้ำหนักที่ปลายเข็มกับ กับแรงฝืดรอบเข็มอย่างไหนมากกว่ากัน
ตอบคือถ้าปลายเข็มไปนั่งอยู่บนชั้นดินแข็งนะ จะรับน้ำหนักได้เป็นหลายเท่าของแรงฝืดเลยทีเดียว


















ทีนี้จะรู้ได้ไงว่าดินตรงนั้นเป็นยังไงรับได้เท่าไร ต่อให้วิศวกรเก่งแคไหนมาดูหน้างานก็ไม่รู้ครับ มั่วเอาทั้งนั้น
นอกจากการทำการทดสอบ

คือสภาพดินที่อยู่ใต้ดินมันไม่เท่ากันครับ (ไม่เรียบเหมือนผิวดิน)ตามรูป













แล้วการทดสอบก็มีหลายอย่างครับคือว่าเราอยากรู้อะไรและอยากรู้แม่นแค่ไหน ยิ่งแม่นมากก็แพงมากครับ
เช่น อยากรู้ว่าเราจะวางฐานรากแผ่ที่ระดับลึกจากผิวดินไป 1 เมตร ดินจะรับน้ำหนักได้เท่าไร ก็ต้องขุดเอาดินตรงนั้นไปทดสอบ หาค่าความหนาแน่นของดิน ฯลฯ แล้วคำนวนหา
การรับน้ำหนักของมันครับ แต่ถ้า่อยากรู้แบบแม่นๆ ก็ ต้องเอาน้ำหนักจริงมากดแล้ว ค่อยๆเพิ่มๆดูว่ามันพังที่กี่ตัน
ผมเคยทำงานที่โรงกลั่น จ้างคนมาทดสอบ เอาแมคโคตัวใหญ่มากด รอหลุมละครึ่งวัน หลุมละหลายบาทเลย แล้วเขาอยารู้ทุกจุดด้วยนะ บาน

แต่ ที่คนส่วนใหญ่ทำการทดสอบการรับน้ำหนักของดินกันคือ การทำ Borring Log คือการเจาะเอาดิน โดยใช้ปั้นจั่นตัวเล็ก เจาะเอาดินมาแล้วทำบันทึกชั้นดินแต่ละชั้น
แล้วเก็บตัวอย่างไปทดสอบในแลป ว่ามีดินแต่ละชั้นเป็นไงมีคุณสมบัติยังไง แล้วเอามาคำนวน หาการรับน้ำหนักของดิน อยากรู้กี่จุด ก็สั่งได้ตามงบ

บางคนต้องการจะรู้ว่าเขาจะต้องตอกเข็มยาวเท่าไรเขาก็สั่งเข็มยาวๆมาลองตอกดูเลยครับ ตอกหลายๆจุดบน site เพราะใต้ดินไม่เหมือนกัน
เรียกว่า pilot test แล้วเอาค่าการทรุดตัวของเสาเข็มในแต่ละตุ้มที่ตอกลงไป โดยนับจำนวนตุ้มเทียบกับการทรุดของเสาเข็มเท่าไร
มาคำนวนการรับน้ำหนัก เรียกว่า Blow count ตอกเสร็จไม่มั้นใจเข็มเทสเข็มอีก แล้วแต่ความกลัวครับ

ที่ง่ายหน่อยคือ ถามข้างเคียงครับว่าเขาใช้เข็มเท่าไร แต่ได้แค่ใกล้เคียงนะครับ
กับอีกวิธีนึงคือถามบริษัทตอกเข็ม เจาะเข็ม เจ้าถิ่นครับ ถามข้อมูลว่าพอรู้ไหม ว่าดินแถวไซด์เราเป็นไง ตอกได้เท่าไร

เรื่องเทสมีอีกเยอะครับ

เสริม นิดนึงครับ การหาค่าความหนาแน่นของดินในสนาม (Field Density ) จะทราบผลแค่ผิวดินส่วนที่ทำการทดสอบเท่านั้นครับว่าแน่นหรือเปล่า
เป็นผลหยาบๆ เพราะเป็นการทดสอบในสนาม คร่าวๆเทียบกับผลในห้องแลป ที่ดินตรงนั้นสามารถทำบดอัดได้สูงสุดเท่าไร เทียบเป็นเปอร์เซนต์เอา
เช่น 90 - 95% เทียบกับ ผลที่ทดสอบในแลป
วิธี ทำ สนุกดีเหมือนทำกับข้าวคือใช้ช้อนตักดินในหลุมจำเพาะขึ้นมา แล้วเอาไปคั่วในกระทะ เตาแกสปิ๊กนิ๊ก หาค่าความชื้น ตอนทำคนมาลุ้นเยอะ
ส่วนใหญ่เอาไว้ใช้กับงานถนนครับเพราะว่าเขาต้องการรู้เดี๋ยวนั้นว่า รถมันบดได้แน่นพอยัง

ต่อตอน 2 ครับ http://my-construction-knowledge.blogspot.com/search/label/ดินทรุดจากการถมที่ก่อนการสร้างบ้านทำยังไง ตอนที่ 2

ดินทรุดในบริเวณที่ดินเรา ป้องกันยังไง

มีคนถามมาว่า ดินที่ถมภายในเขตที่ดินเราทรุดต้องทำยังไง

ผมลองตอบดูนะครับว่า ว่าตรงกับที่สงสัยหรือเปล่า

คือที่ดินมันทรุด น่ามีสาเหตุมาจาก ดินภายในมันไหลออกไป ข้างนอกครับ
คือมันอาจไหลออกไปทางด้านข้าง ดังนั้นเราจึงควรทำกำแพงกันดินเพื่อกัน
ไม่ให้ดินมันไหลออกไป

กับอีกสาเหตุนึงคือ ดินทรุดเนื่องจาก ดินที่ถมใหม่
ไม่ได้อัดให้แน่น ดินที่ถมไว้ด้านล่างเป็นก้อนดินแข็งๆใหญ่ๆ แล้วปาดด้านบนเรียบ ดูแรกๆก็สวยดี
แต่พอนานๆไปดินด้านล่างที่เป็นก้อนเริ่ม แตก และอัดแน่นขึ้น ด้านบนเลยทรุดเป็นเหมือนโพรงกระต่ายในป่าครับ ถ้าเป็นอย่างนี้แก้ง่าย แค่ถมดินใหม่ก็จบ


ส่วนวิธีทำกำแพงกันดินมีหลายวัสดุให้เลือกใช้ขึ้นอยู่กับงบ และก็ความสูงที่ต่างระดับกันของ ที่ข้างเคียง
ถ้าเอาจริงๆมันสามารถหาได้ครับ โดยต้องคำนวน หาความลึก ของเสาเข็ม หาระดับน้ำใต้ดิน, หาคุณสมบัติของดิน ยาวครับ

ที่ดีที่สุดคือ ผูกเหล็ก เทคอนกรีต
รองลงมาก็แผ่นพื้น
ที่แย่หน่อยก็ก่ออิฐ
เคยเห็นตามคันนาเป็นไม้ไผ่ก็ได้เหมือนกัน
ถ้าแบบพอเพียงก็ปลูกหญ้าแฝก ในแนวสโลบ(ตามในหลวง)

ส่วนราคาเอาที่เคยทำนะครับ ถ้าเป็น กำแพงกันดินแบบวางแผ่นพื้น ความสูงดิน ภายในกับภายนอกสูงต่ำกันประมาณ 1.00
ราคา อยู่ที่ประมาณ 1800 บาท ต่อเมตร ความยาวอยู่ที่ 400 เมตร ถ้างานน้อยต้องเหมาครับ

ลองดูรูปนะครับ
กำแพงกันดินแบบจริงๆ ที่ทำกันทั่วไป

สาเหตุที่ต้องทำเพราะ ระดับดินของเรากับที่ข้างเคียงต่างกัน
และเราไม่อยากถมดินเผื่อแผ่ไปยังที่ข้างเคียง

แต่ในกรณีย์ ที่ไม่อยากทำกำแพงกันดิน มีอีกทางเลือกก็คือ
ถมดินแถมให้ที่ข้างเคียงล้ำออกไปสัก 0.50 - 1.00 เซนต์
แล้วโสลบลงไปชันสัก 45 องศา เสร็จแล้วค่อยทำ รั้วด้านบนในเขตที่เรา

วิธีการตรวจสอบคุณภาพของคอนกรีต

ต่อเรื่องวิธีการตรวจสอบคุณภาพของคอนกรีต

ผมจะเล่าวิธีการทำงานในโครงการใหญ่ๆ ที่ผมเคยทำนะครับ ส่วนโครงการเล็กๆก็เอามาประยุกต์ใช้แล้วกัน
ก่อน อื่นต้องบอกก่อนว่าคอนกรีตที่ผสมมือ โดยให้ช่างตวงปูน ตวงทราย เป็นบุ้งกี้นั้นไม่สามารถ ควบคุมคุณภาพได้เลย อย่างมากกำลังอัดคอนกรีตที่ได้เต็มที่ประมาณ 120 ksc

และก็การออกแบบ มิกซ์ดีซายน์ที่ว่าไปแล้วนั้น อันดับแรกคือต้องคำนึงถึงคือ อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ครับ ที่พูดมานี้กำลังจะบอกว่าปริมาณน้ำมีผลอย่างมากในการรับกำลังของคอนกรีต ถ้าคอนกรีตเหลวก็จะยิ่งรับกำลังได้น้อยลง ดังนั้นการตรวจสอบคุณภาพของคอนกรีตในหน้างาน ก็จะดูเรื่องปริมาณน้ำในคอนกรีตที่จะเทนี่แหละครับ

อันดับแรกในโครงการใหญ่ๆ ก่อนที่จะลงมือก่อสร้าง เขาต้องคิดก่อนนะครับว่าจะซื้อคอนกรีตที่บริษัทอะไรดี หรือแพลนท์ไหนดี
นอกจากเรื่องราคาแล้วสิ่งที่จะต้องรู้คือคุณภาพของคอนกรีตที่จะออกจากแพลนท์นั้นว่ามีคุณภาพหรือเปล่า

วิธี การทดสอบคือให้ที่แพลนท์ปูนลองผสมคอนกรีตแล้วเอาไปอัดดูให้หน่อยว่าได้กำลัง อัดคอนกรีตตรงหรือเปล่า ไปดูเขาทำจริงๆ ไม่ใช่รอผลเอานะครับ ตอนไปดูที่แพลนท์ผสมคอนกรีตพนักงานจะต้องพยายามสุดฤทธิ์เพื่อที่จะให้ คอนกรีตได้คุณภาพจริงๆ เพราะว่าอาจมีผลทำให้ขายได้หรือไม่ได้ตลอดทั้งโครงการ
เช่น ตรวจสอบเครื่องใหม่ วัดความชื้นของทราย หิน บางทีลงทุนเก็บกวาดสถานที่ทำงานใหม่ ให้ดูน่าเชื่อถือ
แล้วที่แพลนท์จะเก็บตัวอย่างรอ 28 วันเอาไปทดสอบ แล้วเอาผลมาโชว์ให้ดู “เห็นมั้ยบอกแล้วแพลนท์ผมเจ๋ง ยังไงก็ได้”

แต่ จากประสบการณ์ของผมนอกจากแพลนท์รถสีฟ้าที่ราคาแพงสุดแล้ว แพลนท์อื่นดูจะเหมือนว่ามีปัญหาในการจัดการ เช่นเรื่อง เอกสาร อุปกรณ์เสียบ้างไม่ครบบ้าง บางที่เทสออกมาหน้าแตกไม่ผ่านให้โอกาสลองอีกสองสามครั้งก็ไม่ผ่าน

หลัง จากทดสอบแพลนท์แล้วมาถึงตอนเทคอนกรีตจริง ขั้นตอนคือ คนขับรถปูนจะมาส่งคอนกรีตที่หน้างานแล้วเอาใบเซ็นต์รับมาให้เซ็นต์ ผู้ควบคุมงานจะต้องดูที่บิลนั้นก่อนนะครับว่ารหัสของปูนที่มานั้นเป็นตัว เดียวกับที่เราสั่งไปหรือเปล่า, เวลาที่คอนกรีตออกมาถึงที่ใช้เวลานานเกินไปจนผิดปกติหรือเปล่า(จะมีระยะเวลา ระบุอายุของคอนกรีตไว้ในบิล)

พอดูบิลแน่ใจแล้ว หลังจากนั้นผู้ควบคุมงานจะต้องขอดูตัวอย่างปูนว่าเหลวไปหรือเปล่า ทดสอบโดยการทำสลัมป์เทส(ไม่ลงรายละเอียดนะ)
เสร็จแล้วเก็บตัวอย่างซักสามลูก ฌฉลี่ยเอาก่อนนำไปเทได้ หลังจากเทเสร็จแล้วรอ 28 วันดูผลเทสว่าผ่านหรือไม่ ถ้าผ่านก็แล้วไป
แต่กรณีไม่ผ่านเรื่องใหญ่ต้องทุบทิ้ง

ยัง มีเทคนิคของผู้รับเหมาหัวใสที่เวลาคอนกรีตข้น เทยากๆ ก็จะแอบเติมน้ำในโม่ของรถปูน แบบนี้เวลาเจอต้องไล่รถคันนั้นออกไปทันทีเพราะ ไม่สามารถควบคุมน้ำืที่เติมลงไปได้

เล่าเรื่องคอนกรีต ตามแบบที่ผมรู้ครับ

ก่อนอื่นขอออกตัวก่อนนะครับว่าผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอนกรีตแต่อย่าง ใด แต่อยากขอเล่าแบ่งปันประสบการณ์ เพื่อจะมีประโยชน์กับคนอื่นบ้างครับ

คอนกรีต อย่างที่รู้ๆ กันอยู่ว่าคอนกรีตประกอบไปด้วย ปูน ทราย หิน และก็น้ำ ผสมกันในอัตตราส่วนที่เหมาะสมก็จะเป็นคอนกรีตที่สามารถรับกำลังแข็งแรงได้ มากบ้าง น้อยบ้างตามสัดส่วน ถ้าถามว่าส่วนผสมคอนกรีตจะต้องผสมทราย หิน ปูน และน้ำอย่างละเท่าไหร่ ตอบคือ แล้วแต่การใช้งานในแต่ละประเภทครับ ถ้าจะลงรายละเอียดกันจริงๆ ก็ต้องทำการออกแบบส่วนผสมเรียกว่า “มิกซ์ดีซายน์” ในมหาวิทลัยเขาเรียนเรื่อง คอนกรีตเทคโนโลยี กันเป็นเทอมๆ

ก่อน อื่นต้องรู้ว่าความแข็งแรงของคอนกรีต หรือกำลังอัดนั้น(เรียกเป็นภาษาปะกิตกันติดปากว่า Strength) มีหน่วยเป็น Ksc หรือ กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ส่วนใหญ่วิศวกรจะเรียกสั้นๆว่า fc’ (อ่านว่า เอฟ ซี พาย) เช่น fc’ = 175 ksc, fc’ = 210 ksc ทีนี้จะรู้ได้อย่างไรว่ากำลังอัดคอนกรีตของเราเป็นเท่าไหร่ ตอบอีกทีก็คือจะต้องเอาไปทดสอบในห้องแลบ วิธีการคือ เขาจะหล่อคอนกรีตตัวอย่างที่หน้างานเป็นรูปลูกบาศก์ หรือทรงกระบอก แล้วเอาไปอัดให้แตกในห้องแลบ บันทึกค่าแรงที่กดหารกับพื้นที่หน้าตัด
วิศวกรทุกสาขาเรียนกันแทบตายกับสูตรนี้แหละครับ P/A = Stress ประยุกต์กันไปมา ปวดหัวมากกว่าจะจบ

กลับ มาเรื่องคอนกรีตต่อวิศวกรจะทราบได้อย่างไรว่าจะใช้คอนกรีตทีความแข็งแรง เท่าไหร่ในแต่ละโครงสร้าง ตอบคือ มีกฎหมายกำหนดไว้ว่า กรุงเทพมหานครฯ จะต้องใช้ fc’ ไม่เกิน 145 ksc และวิศวกรรมสถานใช้ไม่เกิน 175 ksc เพื่อความปลอดภัยแต่สามารถมีข้อยกเว้นได้นิดนึงถ้าจะใช้มากกว่านี้ต้องมีผล ทดสอบแนบในรายการคำนวณครับ

การเลือกใช้ความแข็งแรงของคอนกรีตเท่า ไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้ออกแบบแต่ละท่านครับ ถ้าสำหรับผมส่วนใหญ่จะเลือกใช้กำลังอัดของคอนกรีตให้สูงกว่าปกตินิดหน่อย เช่น fc’ =210 แทนที่จะเป็น 145 เพราะจะสามารถออกแบบโครงสร้างให้ประหยัดเหล็กเสริมลงได้พอสมควร แต่มันก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ด้วย เช่น ลักษณะการทำงานของแต่ละหน่วยงานว่าจะสามารถใช้คอนกรีตที่มีกำลังอัดสูงๆนี้ ได้ทั้งโครงการหรือเปล่า เช่น ในบางครั้งหน้างานจำเป็นต้องเทคอนกรีตจำนวนน้อยๆ เช่น เทเสาสองต้นแล้วรถปูนไม่มาส่ง ต้องผสมปูนเองอย่างนี้เรียกว่าไม่ได้มาตรฐาน อันตรายมากถ้าใช้คอนกรีตกำลังสูงในการออกแบบ
แถมเรื่องคุณสมบัติของ คอนกรีตนิดนึงครับ ความแข็งแรงของคอนกรีตที่ว่า คือความแข็งแรงของคอนกรีตที่อายุ 28 วัน เพราะกำลังของคอนกรีตจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเกือบสุดที่อายุประมาณ 28 วันครับ

วิธีการ เลือกเสาเข็ม ว่ามีกี่แบบ และจะเลือกใช้ยังไง

มาต่อเรื่องวิธีการ เลือกเสาเข็ม ว่ามีกี่แบบ และจะเลือกใช้ยังไง

เท่าที่จำได้ประเภทของเสาเข็ม มีดังต่อไปนี้

1. เสาเข็ม สั้น พวกเสาเข็มไม้ หรือ เสาหกเหลี่ยมอัดแรงกลวง, ตัวไอ
2. เสาเข็มตอก เป็นคอนกรีตอัดแรงหล่อสำเร็จ จะมีหลายรูปทรง เช่น กลม เหลี่ยม ไอ เสาเข็มสปัน, เข็มเหล็ก
3. เข็มเจาะ
3.1 เสาเข็มเจาะขนาดเล็ก (สามขาหยั่ง)
3.2 เสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ (รถเครนติดหัวสว่าน คันยังกับยักษ์ เห็นตามโครงการใหญ่ๆในกรุงเทพ)
3.3 เข็มเจาะเสียบ (เจาะดิน เสียบเข็ม แล้วตอกซ้ำ)
3.4 ไมโครไพล์

นึกออกแค่นี้ครับ ใครรู้ว่ามีมากกว่านี้แนะนำด้วยครับ


จะใช้เสาเ็ข็มยังไง เอาทีละอันนะครับ
ก่อน อื่น ถ้าเป็นกรุงเทพ ฟันธง เสาเข็มแน่นอนเพราะดินอ่อน ปากแม่น้ำ ที่แถวนี้อดีตกาลเป็นทะเล ส่วนใหญ่ 90% ชั้นดินแข็ง อยู่ลึกลงไปใต้ดิน ประมาณ 19-22 เมตร ใกล้เคียงกันหมด

1. เสาเข็ม สั้น พวกเสาเข็มไม้ หรือ เสาหกเหลี่ยมอัดแรงกลวง เป็นเสาเข็มที่ใช้สำหรับงาน หรืออาคารที่รับน้ำหนักไม่มาก หรือ ฐานรากแบบตอกเข็มปูพรม เช่นพวก รั้ว บ่อปลา กำแพงกันดิน แต่มีอาคารอยู่เยอะเหมือนกันที่ใช้เสาเข็มสั้น เพราะว่า น้ำหนักอาคารที่ลงแต่ละฐานไม่มากและใช้ฐานนึงหลายต้น เลยพอไหว ถามว่า มันจะทรุดไหม ตอบว่าทรุดครับแน่นอน 100% แต่ไม่พัง เพราะ มันจะทรุดตัวเท่าๆกัน ไม่เป็นไร ยืนยันได้ ตัวอย่างคือ บ้านยุคเก่าในกรุงเทพรวมทั้งบ้านผม เป็นเข็มสั้นเกือบทั้งหมด ผมได้ยินมาว่าตึกลุมพินี(ชื่อไม่แน่ใจ)ที่เป็นอาคารสูงยอดแหลมๆอยู่บนสี่แยก ลุมพินี(ตรงข้ามสวนลุมไนท์)ที่เป็นโรงแรมใหย่โตก็เป็นเสาเข็มสั้น เสาเข็มสั้นจะรับน้ำหนักได้จากแรงฝืดรอบตัวเสาเข็มกับดิน และตามหลักวิศวกรรมยอมรับได้ถ้ามันทรุดตัวเท่าๆกันครับ
งั้นต่อเลยนะครับ

2. เสาเข็มตอก มันก็คือเสาเข็มตอกโดยใช้ปั้นจั่นนั่นหละครับ ส่วนใหญ่การตอกเข็มจำเป็นต้องตอกให้ลึกลงไปอยู่ที่ชั้นดินแข็ง ถ้าเป็นกรุงเทพ ก็อยู่ที่ความยาวประมาณ 21 เมตร ส่วนจะใช้เสาเข็มประเภทไหนรูปทรงอะไร ตอบคือ ถ้าเสาเข็มรูปตัว ไอจะเป็นเสาเข็มที่สามารถรับแรงฝืดรอบเสาเข็มแถมมาให้ด้วยเพราะการหล่อเสา เข็มเป็นรูปตัวไอ จะทำให้เสาเข็มมีพื้นที่รอบรูปมากขึ้นกว่า เสารูปสี่เหลี่ยมธรรมดา แต่มีข้อเสียของเสารูปตัวไอคือตอกยาก หักง่ายกว่าเสารูปสี่เหลี่ยม ที่มีพื้นที่หน้าตัดมากกว่า คนตอกเข็มสามารถตอกเข็มเหลี่ยมแรงๆได้มากกว่าเข็มไอ ถ้าเป็นดินแข็งๆ ส่วนใหญ่จะต้องเป็นเข็มเหลี่ยมครับ ไม่งั้นหัวเข็มกระจุย
ส่วนชนิดของเสา เข็มตอกส่วนใหญ่จะเป็นคอนกรีตอัดแรง ที่ต้องอัดแรงเพราะว่าจะสามารถหล่อคอนกรีตได้ยาวกว่าเข็มที่ไม่ได้อัดแรง (ไว้ทีหลังจะอธิบาเรื่องคอนกรีตอัดแรงอีกทีนะครับ มีสองอย่าง อัดแรงก่อน กับอัดแรงหลัง เรื่องมันยาว) จะต้อสั่งจากโรงงานผู้ผลิตเข็มเพื่อที่จะกำหนดคุณสมบัติของเสาเข็มด้วยครับ ไว้ว่าเราต้องการรับแรงเท่าไร
ที่สำคัญของเสาเข็ม อัดแรงอีกเรื่องนึงคือ การขนย้าย กับการยกเข็มขึ้นตอก จะต้องยกตามจุดที่โรงงานเขากำหนดมาให้เท่านั้น ถ้าสังเกตุเสาเข็มที่สั่งมาจากโรงงานนะครับจะเห็นว่าเขาจะมีห่วงอยู่ที่เสา เข็มมาให้ 2 ห่วง โดยเวลาขนส่งจะต้องยกที่ห่วงนี้เท่านั้น ไม่งั้นเข็มจะหักได้ก่อนตอก เสาเข็มจะเสียไปเลย เวลาเขามาส่งเสาที่หน้างานให้สังเกตุด้วยครับว่ามีเสาร้าวหรือเปล่า ถ้ามีให้คืนโรงงานกลับไปเลย หรือทิ้งเสาต้นนั้นไปครับ
เสาเข็มอีกแบบ หนึ่งทีเห็นบ่อยคือ เข็มสปัน จะเป็นเข็มกลม กลวงตรงกลาง มีเพลทเหล็กแปะที่หัวเสา ผลิตโดยใช้เครื่องจักรเหวี่ยง คอนกรีตขณะเทเสาให้กลวงตรงกลาง แล้วอัดแรง ข้อดีของเข็มสปันคือสามารถรับแรงได้มากๆ เหมาะสำหรับโครงการใหญ่ๆ ตอกลึกๆ แต่ข้อเสียคือเสาสปันสามารถรับแรงเฉือนหรือแรงดันจากด้านข้างได้น้อยครับ

หัวใจ สำคัญของเสาเข็มตอกที่ห้ามลืมคือ การเชคโบลเคาท์ครับ ต้องเชคทุกต้นอย่าลืม อย่าปล่อยละเลย ผมเคยเล่าไปแล้วในกระทู้ก่อน หาอ่านดูนะครับ
ต่อไปคือ เสาเข็มเจาะ

เสาเข็มเจาะจะมีหลายแบบเท่าที่แยกออกมาได้คือ

3.1 เสาเข็มเจาะขนาดเล็ก แบบใช้สามขาหยั่ง ขอโฆษณา หน่อยนึงนะครับ ธุรกิจของที่บ้าน คือบริษัทของน้าผม เป็นบริษัทรับทำเข็มเจาะขนาดเล็กนี้แหละครับ ผมกำลังหัดทำเวปอยู่ และก็คิดจะโพสโฆษณาบนบอร์ดครับ (ยังไงช่วยสนับสนุนหน่อยนะครับ) ดังนั้นผมจึงมีความรู้เกี่ยวกับเข็มเจาะแบบนี้พอควร

ลักษณะของเสา เข็มแบบนี้คือการ ตอกปลอกเหล็กเป็นท่อนๆลงไปในดิน แล้วเจาะเอาดินในปลอกขึ้นมาทิ้ง จนถึงระดับดินที่ต้องการ เสร็จแล้ว ใส่เหล็ก เทคอนกรีตลงไปในหลุมที่เจาะไว้ แล้วก็ถอนปลอกออก เป็นอันเสร็จ
ข้อ ดีของเข็มเจาะแบบนี้มีหลายอย่างครับ อย่างแรกคือ มันจะไม่กระทบกระเทือนอาคารข้างเคียงเวลาตอกเข็มครับ เพราะว่าเวลาตอกเข็ม ดินบริเวณข้างเคียงในรัศมี 50 เมตรจะสะเทือนอาจมีผลทำให้อาคารข้างเคียงแตกร้าว หรือเสียหายได้ อาคารที่สร้างติดกับอาคารอื่นข้างเคียง หรืออาคารที่ต่อเติม จำเป็นต้องใช้เสาเข็มแแบบนี้ เพราะปลอดภัย ไม่ต้องกลัวมีปัญหา อีกอย่างคือการเจาะเข็มแบบนี้สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก เพราะเป็นสามขาหยั่ง สามารถเจาะเข็มชิดอาคารข้างเคียงหรือห่างจากผนังออกมาแค่ 0.75 เมตรได้ ความสูงที่ต้องการก็แค่ 3.00 เมตร สามารถมุดเข้าไปตอกเข็มที่ชั้นล่างของอาคารเก่าได้ใน กรณียต้องเสริมเสาเข็ม การรับน้ำหนักก็สามารถรับได้มากพอสมควร อาจมากกว่าเสาเข็มตอกด้วย แต่ข้อเสียก็มีครับ อย่างแรกคือราคาที่แพงกว่าเสาเข็มตอก ประมาณ 2 เท่า และการควบคุมงานควรจะต้องทั่วถึงเพราะในขั้นตอนการทำงาน บริษัทเข็มเจาะจะลักไก่ได้ตลอด เช่น เจาะไม่ถึงชั้นดินที่ควรเป็นบ้าง ไม่ใส่เหล็กให้ครบบ้าง หลุมพังในระหว่างเจาะบ้างทำให้เสาแคบเป็นคอขวด และอีกเยอะครับ ไว้จะตั้งกระทู้ใหม่ เล่ารายละเอียดพร้อมโฆษณาไปในตัวด้วย อิอิ

3.2 เสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ ผมไม่ค่อยรู้รายละเอียดเท่าไร คร่าวๆ หลักการมันก็เหมือนเสาเข็มเจาะขนาดเล็ก แต่เจาะลงไปลึกกว่า ขนาดใหญ่กว่า มีขั้นตอนยุ่งยากกว่าครับ เท่าที่ทราบคือ โดยมากมันจะต้องเจาะให้ทะลุชั้นทราย ลงไปใต้ดิน มากกว่าเข็มเจาะขนาดเล็กจะทำได้ (เกิน 21 เมตร) และมันจะเจอตาน้ำ กับปัญหาการพังทลายของข้างหลุม ต้องใช้สารเคมีเรียกว่า เบนโทไนท์ ป้องกันดินพัง กับเครื่องจักรกลหนักในการทำงาน เช่นพวก steam hammer, Hydraulic jack, หรือการอัดน้ำ

3.3 เสาเข็มเจาะเสียบ มันก็ใช้เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงเหมือนข้อ 2 นั่นแหละครับ แต่ตอนต้นจะเป็นการเจาะรูนำให้เกินระดับความลึกชั้นดินอ่อนเสียก่อน โดยใช้รถเจาะ แล้วค่อยแทงเข็มลงไปตอกซ้ำ ที่ต้องทำแบบนี้ เพราะเป็นการลดการสั่นสะเทือนของอาคารข้างเคียง อาจเป็นแค่บางแนวที่ใกล้กับอาคารข้างเคียงมากเกินไป ข้อเสียคือ จะการรับน้ำหนักของเข็มที่เกิดจากแรงเสียดทานด้านข้างจะลดลงไป และต้องทำงานซ้ำซ้อน ราคาแพงขึ้น

3.4 ไมโครไพล์ ผมไม่ค่อยรู้เรื่องเข็มแบบนี้มากนักครับ เป็นงานเฉพาะทาง ที่เสาเข็มเจาะสามขาหยั่งแบบข้อ 3.1 เข้าไปทำไม่ได้ เพราะไมโครไพล์ จะมีขนาดเล็กกว่า ใช้พื้นที่ในการทำงานน้อยกว่า และก็แพงกว่าด้วย คร่าวๆของไมโครไพล์คือ จะใช้ท่อเหล็กเป็นท่อนๆ ขนาดเส้นผ่าศูยน์กลาง ประมาณ 15-25 เซน ยาวท่อนละ 2-3 เมตร ปลาย 2ด้านเป็นเกลียว ต่อด้วยข้อต่อ ฝังลงไปในดิน แล้วอัดน้ำปูน และฝังท่อเหล็กที่ว่าเป็นเสาเข็มไปเลยครับ

แถม เสาเข็มอีกแบบครับ เป็นรถสว่านทำเข็มเจาะขนาดเล็ก เป็นเสาเข็มเจาะขนาดเล็ก เหมือนข้อ 3.1 แต่สามารถ เจาะความลึกได้จำกัด อาจแค่ 6-8 เมตร ขึ้นอยู่กับความยาวของสว่านที่วางอยู่หลังรถ 10ล้อแค่นั้น ถ้าเกินกว่านั้นก็ทำไม่ได้ ส่วนใหญ่ผมเห็นอยู่ตาม ภาคกลาง กับแถบชลบุรี ที่ชั้นดินมีความลึกไม่เกิน 8.00 เมตร รับงานเจาะเข็มได้ถูกกว่า เพราะขนย้ายง่ายและทำได้ง่ายกว่า

วิธีการเลือกใช้ฐานราก แบบฐานรากแผ่ หรือ แบบเสาเข็ม

สมมุติว่าเรา จะก่อสร้างอาคารสักอาคารนึง และเราจะเลือกฐานรากแบบไหนดี ความลึกของฐานราก หรือความลึกของเสาเข็มจะลึกเท่าไร
ส่วนตัวผมจะทำอย่างนี้ครับ

ถ้า ไม่ใช่กรุงเทพ อันดับแรกผมจะถามข้อมูลดินจากที่ข้างเคียงก่อน หรือบริษัทเสาเข็มเจ้าถิ่นครับ ว่าเขาทำฐานรากยังไง ความลึกเท่าไรเป็นข้อมูลในใจ
แล้วคำนวนออกแบบโครงสร้างตามปรกติ ผมจะทราบน้ำหนักของอาคารที่ลงในฐานรากแต่ละฐานครับว่ามีน้ำนักกดลงไปเท่าไร

ที นี้ก็มาดูข้อมูลดิน ว่าเป็นยังไง ถ้ารู้ข้อมูลดินมาว่าแถวนั้น ตอกเข็มไม่ลง และ้ต้องเป็นฐานแผ่แน่ๆ ผมก็จะระบุไว้ในแบบ เพื่อความปลอดภัยว่า
"ผู้รับเหมาจะต้องทำการสำรวจชั้นดิน หรือทำการทดสอบการรับน้ำหนักของดินก่อนทำการก่อสร้าง"
การ ตรวจสอบส่วนใหญ่ จะมี 2 วิธีคือ การทำ Borring Log และการทำ plate barring Test (รายละเอียดค่อยว่ากันนะ คร่าวๆคืออันแรกเป็นการตวจสอบชั้นดิน อีกอันเป็นการเทสการรับน้ำหนักของชั้นดินครับ)

แล้วก็ออกแบบฐานรากแผ่ ว่าควรจะใหญ่ขนาดไหน โดยการสมมุติ การรับน้ำหนักของดิน เรียกว่าเดาอย่างมีหลักการครับว่า
1. ภาคกลาง, ภาคเหนือ, อีสาน ใช้ 8 ตันต่อตารางเมตร
2. ภาคตะวันออก ชลบุรี, ระยอง ภาคใต้ ใช้ 10 ตันต่อตารางเมตร
3. โซนใกล้ ภูเขา มองเห็นภูเขา ใกล้ทะเล ใช้ 12 ตันต่อตารางเมตร
4. กรุงเทพ หรือดินอ่อน ที่อยากจะใช้ฐานแผ่ ใช้ 2 ตันต่อตารางเมตร

คร่าวๆ การออกแบบนะครับ ว่าขนาดฐานรากจะเป็นเท่าไรคือ น้ำหนักของอาคารที่ลงเสาเข็ม ลบ กับ การรับน้ำหนักของดินคูณกับพื้นที่ของฐานรากที่สัมผัสดิน
ตัวอย่างเช่น ภาคกลาง ใช้ ฐานราก 1x2 เมตร(ยังไม่พูดถึงความหนานะ) จะรับน้ำหนักอาคารได้ 16 ตันครับ (8x1x2=16)ทีนี้ พอถึงเวลาการก่อสร้างจริง หน้าที่ของผู้รับเหมาก็จะต้องไปตรวจสอบสอบพื้นที่ จริงครับว่าชั้นดินแข็งที่ว่า รับน้ำหนักได้ 8 ตัน 10 ตันอยู่ครงไหน ลึกไปจากผิวดินอยู่เท่าไร
ส่วนมากอย่างน้อยๆ ควรจะลึกลงไปไม่ต่ำกว่า 1.00 เมตร โดยไม่รวมดินถมนะครับ ถ้ามีดินถมก็ต้องจากระดับดินถมลงไป เพราะดินถมรับน้ำหนักไม่ได้พอ

วิธีสังเกตุ ตอนคนงานขุด หรือแมคโคจ้วงลงไป คือลักษณะดินจะเป็นชั้นๆ มีสีต่างๆกัน และมีลักษณะดิน ไม่เหมือนกัน ตอนขุดลงไป คอยสังเกตุครับดินที่รับงน้ำหนักได้ดีควร จะเป็นดินแข็ง, ลูกรัง, ทราย หรือดินปนทราย, ถ้าเป็นดินเหนียว หรือดินปลูกต้นไม้ยังใช้ไม่ได้ ใหุ้ขุดลงไปอีก แต่ชั้นดินที่แข็งมันก็ยังเป็นชั้นๆอีกครับ ถ้าทะลุชั้นดินแข็งลงไปอาจจะกลายเป็นดินอ่อนอีกรอบก็ได้ไม่แน่

เพื่อนๆ อาจเคยเห็น อาคารบางอาคาร ที่อยู่ในบริเวณที่ไม่น่าจะต้องตอกเข็ม เช่นชายทะเล เชิงเขา แต่ ก็ยังตอกเข็มอีก เป็นเพราอะไร
ตอบคือ น้ำหนักของอาคารที่ลงในแต่ละเสาเข็มมันมากเกินกว่าที่จะทำฐานแผ่นั่นเองครับ ดินมันรับไม่ไหว ถ้าจะทำฐานแผ่ ฐานอาจต้องใหญ่มากๆ
วิศวกรเลยจำเป็นต้องออกแบบให้ตอกเข็ม ทั้งๆที่ตอกยาก
ฝาก นิดนึงครับ สำหรับ ท่านผู้ออกแบบทั้งหลาย ว่าการ ออกแบบอาคารที่มี span ยาวๆ หรือการออกแบบเสา คานที่ไม่ตรง grid line เยื้องไปเยื้องมาที่ท่านชอบนั้น จะทำให้อาคารนั้นมีน้ำหนักลงไปฐานรากมากกว่าปรกติ และก็เปลืองกว่าด้วยครับ
บางทีดินอาจรับไม่ไหวก็ได้ครับ ถ้าสามารถเลือกได้ควรออกแบบให้เป็น กริดๆ ตารางๆ และก็ span เสาไม่ยาวเกินไปครับ เรื่องนี้ผมเถียงกับสถาปนิกที่เป็นเพื่อนกันมานานมาก แบบว่าจะเอาถูกๆ แต่เล่นออกแบบ ยึกยักๆ กริดไลน์เยอะมาก span ก็ห่างๆ พอเห็นขนาด กับจำนวนเสาเข็มก็โวย แต่ก็อย่างว่า ถื่อไปมันก็น่าเกลียดใช่ป่าว