วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การตรวจสภาพ บ้านมือสอง ก่อนซื้อ

ก่อนการซื้อบ้านมือสอง หลายท่านคงดูแต่เรื่อง ทำเล, ราคา และสภาพความใหม่ของตัวบ้าน ว่าเหมาะสมกับราคา ที่ท่านจะต้องจ่ายหรือไม่ ถูกแพงอย่างไร แต่บทความนี้ ผมขอจะพูถึงเรื่องการตรวจสภาพโครงสร้างของบ้านมือสอง ว่า มีอะไรผิดปรกติหรือเปล่า และอาจให้ข้อแนะนำที่บางข้อที่หลายท่านอาจจะมองข้ามไป ก่อนการซื้อนะครับ

การตรวจสภาพโครงสร้าง ของอาคาร หรือบ้านมือสอง ก็มีความสำคัญมาก หลายๆท่านอาจมองข้ามไป เพราะมัวแต่ดูเรื่องทำเล, ราคา และสภาพเก่าใหม่ของบ้านเท่านั้น การมองข้ามเรื่องบางเรื่องไป อาจจะเสียใจไปจนตายก็ได้ เพราะการแก้ไขโครงสร้างบางอย่าง อาจทำไม่ได้ หรือทำแล้วไม่คุ้มค่า ดังนั้นผมขอให้ข้อเสนอแนะการดูสภาพบ้านไว้เป็นข้อๆละกันนะครับ

  1. ก่อนอื่นตรวจค้นหาร่องรอยการต่อเติม การตรวจค้นหาร่องรอยการต่อเติมสมควรทำอย่างยิ่ง เพื่อที่เราจะได้ทราบประวัติการต่อเติมต่างๆของบ้านว่า บ้านหลังนี้ทำอะไรมาบ้าง เช่น ต่อครัว ต่อห้อง เพิ่มชั้นลอย ฯ แล้วสังเกตุทำการต่อเติมได้ดีหรือไม่ดีอย่างไร วิธีที่ง่ายที่สุดในการหาร่องรอยการต่อเติมคือการถามเจ้าของเดิมครับ แต่ถ้าถามแล้วไม่ทราบ วิธีสังเกตุคือ ให้เดาลักษณะของบ้านเก่า ว่าควรมีหน้าตาอย่างไร (อาจดูจากข้างบ้านแล้วเทียบกัน) แล้วสังเกตุส่วนที่ไม่เหมือนกัน
  2. ตรวจรอยต่อระหว่างอาคาร ในบริเวณอาคารเก่ากับอาคารใหม่ โดยปรกติแล้วการต่อเติมอาคารที่ถูกต้องคือ ต้องทำการต่อเติมให้โครงสร้างอาคารเก่ากับอาคารใหม่แยกจากกันโดยสิ้นเชิงครับ ตัวอย่างเช่น การต่อเติมพื้นที่ห้องเพิ่มขยายไปยังพื้นที่ว่างด้านนอก ต้องต่อออกมาในลักษณะเป็นอีกอาคารนึงเลยแต่มาชิดกันเท่านั้น ไม่ได้เป็นการฝากโครงสร้างใหม่เข้ากับโครงสร้างเก่า (ดูรูป) เพราะการฝากโครงสร้างที่ทำใหม่ กับอาคารเดิมจะเกิดการทรุดตัวที่ไม่เท่ากัน มีผลทำให้อาคารวิบัติ(พัง) มาเยอะแล้ว ดังนั้นสิ่งที่ควรต้องสังเกตุคือ รอยต่อระหว่างอาคาร ในบริเวณอาคารเก่ากับอาคารใหม่ ต้องเป็นรอยต่อที่ไม่มีการแตกร้าวที่เกิดจากการดึงกัน ระหว่างโครงสร้าง 2 ส่วน เพราะเป็นสาเหตุของอาคารวิบัติคัรบ แต่รอยร้าวที่เกิดขึ้นจากอาคารสองส่วนที่ทรุดตัวไม่เท่ากันอาจยอมรับได้ถ้าการเป็นการต่อเติมเป็นการต่อเติมที่ถูกต้อง(ดูรูป)
  3. ตรวจรอยร้าว จริงๆแล้วรอยร้าว ไม่มีเลยจะดีที่สุดครับ แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ก็ควรรู้ว่ารอยร้าวของอาคารมีหลายประเภท หลายสาเหตุครับ แต่อยากให้สังเกตุไว้ว่ารอยร้าวแบบที่พอจะรับได้คือรอยร้าววที่มาจากการเสื่อมของวัสดุบนกำแพง เพราะมันพอจะแก้ไขได้ไม่ยากครับ วิธีสังเกตุคือ รอยร้าวประเภทนี้จะเป็นรอยร้าวแบบแตกระแหง มั่วไปมั่วมา ไม่เป็นแนวยาวเป็นทางเดียวต่อเนื่องกันครับ ส่วนรอยร้าวที่โครงสร้างหลักเช่น เสา คาน พื้น หรือ รอยร้าวบนผนังที่เป็นแนวยาวผิดสั้งเกตุ มันเป็นการบ่งบอกว่าอาคารมีปัญหา ควรหลีกเลี่ยงไว้ก่อน เพราะอาจเป็นการทรุดตัว หรือการรับน้ำหนักมากเกินไป หรือไม่ก็เป็นลางที่บอกว่า อาคารใกล้จะพัง
  4. สังเกตุระดับอาคาร เทียบกับถนน ให้ดูว่าบ้านนี้ระดับพื้นชั้นล่างต่ำเกินไปไหมในอนาคต เพราะถนนจะต้องถมให้สูงขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเราไม่สงเกตุตรงนี้อนาคตถนนมาการยกพื้นก็เป็นเรื่องที่ทำกันไม่ได้ง่ายๆ
  5. สังเกตุร่องรอยการยกพื้นหรือการถมดิน ข้อควรจำคือเมื่อยกพื้นขึ้นโดยการเทคอนกรีต หนา 10 เซนต์ จะเพิ่มน้ำหนักให้อาคารถึง 240 กก.ต่อตารางเมตร ถ้ามากกว่านี้ก็เพิ่มไปอีก แต่บ้านพักอาศัยเดิมๆ วิศวกรออกแบบสำหรับการรับน้ำหนักไว้ประมาณ 200 กก. ต่อตารางเมตรเท่านั้น ถ้าเพิ่มน้ำหนักให้บ้านไปมากๆ ก็คิดดูเอาเองครับ ดังนั้น การถมดิน การยกพื้นของบ้านควรพิจารณาดีๆ อีกอย่างที่ควรสังเกตุ คือบ้านมือสองในบริเวณพื้นที่ๆมีน้ำท่วม เขายกพื้นกันทุกบ้านแหละครับ
  6. สังเกตุการใช้งานผิดประเภทของอาคาร เช่นใช้บ้าน มาทำเป็นที่เก็บของ ดัดแปลงเพิ่มห้องน้ำบนดาดฟ้าเดิม หรือต่อระเบียงออกมาเป็นห้องนอน เรื่งพวกนี้ล้วนแต่เป็นการเพิ่มน้ำหนักให้อาคารโดยไม่ตั้งใจทั้งนั้น
  7. ขอแบบแปลนเดิม(ถ้าเป็นไปได้).
  8. ดูเรื่องเทศบัญญัติ และกฏหมาย การซื้อบ้านหรืออาคารที่ต่อเติม หรือการสร้างแบบผิดกฎหมาย ยังไงมันก็เป็นเหมือนซื้อของผิดกฏหมาย เป็นชงักติดหลังไปเรื่อยๆ ครับ ไม่มีทางแก้ได้จนกว่า จะรื้อถอนและสร้างให้ถูกกฏมาย แต่ที่ผมเห็นโดยส่วนใหญ่เกือบทุกหลังก็ทำกัน ที่ไม่เป็นอะไร ไม่มีปัญหา เพราะการใช้กฏหมายประเทศไทยไม่แข็งแรงครับ เชื่อหรือไม่ว่าอาคารบางหลัง หรือบ้านบางบ้าน ถูกหมายจากเจ้าหน้าที่ให้รื้อถอนเนื่องจากการก่อสร้างหรือการต่อเติมที่ไม่ถูกต้อง มาเป็น 10 ปีก็ยังไม่แก้ ต้องเสียค่าปรับ แต่ไม่จ่าย ดังนั้นค่าปรับก็เดินไปเรื่อยๆ บางที่ค้างตรงนี้เป็นล้าน ก็มี แต่ก็อยู่อย่างปรกติเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เฮ๊อ...เหนื่อยประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น