วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ความจำเป็นของการตอกเข็ม หรือเจาะเข็ม บริเวณพื้นโรงรถ

มีคนถามเข้ามาว่า
โรงรถ จำเป็นต้องมีเสาเข็มมั้ย?
บางบ้านที่จอดรถจึงต้องเจาะเสาเข็ม???
แล้วถ้าเราจะทำโรงรถจำเป็นต้องมีเสาเข็มรองรับมั้ย?
รวมถึงพื้นรอบบ้านด้วย

ผมขอตอบตามแบบของผมนะครับว่า
ก่อนอื่นต้องเข้าใจระบบพื้นคอนกรีต ว่ามี หลายระบบ แต่ที่ใช้กับ โรงรถหรือพื้นอาคารชั้นล่าง มีอยู่ 2 อย่างคือ

1 พื้นออนบีม
2 พื้นออนกราวน์

ดูบทความที่ผมเขียนเกี่ยวกับพื้นคงพอเข้าใจได้ไม่ยาก ได้ที่นี่ครับ

เล่าเรื่องพื้นๆ ตอนที่ 1 (พื้นออนบีม)
เล่าเรื่องพื้นๆ ตอนที่ 2 (พื้นออนกราวน์)

ถ้าโรงรถของเราเป็นพื้นออนบีมอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องตอกเสาเข็มครับ เพราะมันได้ถ่ายน้ำหนักไปยังฐานรากอาคารอยู่แล้ว

แต่ ถ้าเป็นพื้นออนกราวน์ การตอกเข็มอาจมีความจำเป็นหรือไม่จำเป็นก็ได้ขึ้นอยู่กับการ ยอมรับของเราและทรุดตัวของอาคารครับ ที่ตอบแบบนี้เพราะ อาคารกับพื้นออนกราวน์ ที่โรงรถ หรือพื้นรอบบ้าน เป็นโครงสร้างคนละส่วนกัน แยกขาดจากกัน มันย่อมเกิดการทรุดตัวไม่เท่ากันอยู่แล้ว เช่นตัวบ้านไม่ทรุด แต่พื้นทรุด หรือ ตัวบ้านทรุด พื้นไม่ทรุด ดังนั้นรอยต่อของพื้นกับอาคารย่อมมีการทรุดตัวที่ต่างกันแน่นอน อาจเห็นมีรอยแยกหรือระดับการทรุดตัวที่ต่างกันและเรายอมรับการทรุดตัวที่ว่า ได้แค่ไหน ถ้าเรายอมรับตรงนี้ได้ก็ไม่จำเป็นต้องตอกเข็มที่โรงรถเพราะจะสิ้นเปลือง มากกว่าไม่ตอกเข็ม แต่ถ้าเรายอมรับการทรุดตัวนี้ไม่ได้ก็ควรตอกเข็มบนโรงรถสำหรบบ้องกันการทรุด ตัวของพื้นครับ

มีพื้นที่จอดรถหรือลานจอดรถเยอะแยะ ที่ตอกเข็มเจาะ ปูพรมทุกๆ 1 เมตร เพื่อป้องกันการทรุดตัวครับ
บางที่ก็ไม่ทำเลย บดอัด ดินอย่างเดียวก็มี เช่นถนนหลวง
ขึ้นอยู่กับ การยอมรับของเจ้าของงาน และน้ำหนักที่กระทำบนพื้นครับ ว่ามากน้อยอย่างไร

1 ความคิดเห็น:

  1. ขออนุญาตฝากลิงค์นะคะ
    ขั้นตอนง่ายๆ กับการสมัครเล่นบาคาร่าออนไลน์ หน้าการใช้งานออกแบบมาให้ดูง่าย
    วางเดิมพันได้ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน สีสันสวยงาม ที่นี่เลยค่ะ
    https://www.111player.com

    ตอบลบ