วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2552

ดินทรุดจากการถมที่ก่อนการสร้างบ้านทำยังไง ตอนที่ 1

ดินทรุดตัวเป็นเรื่องใหญ่ครับ ถ้าทำไม่ดีโอกาสเสี่ยงสูงครับ

การทรุด ตัวของดินถ้าอยู่ในสมมุติฐานว่ามันทรุดเท่ากันหมดก็ไม่พรือครับ ถ้าฐานรากรับน้ำหนักได้สร้างไปก็ไม่เป็นไรครับแต่ที่น่ากลัวที่สุด
คือการทรุดตัวไม่เท่ากันของฐานราก พังมาเยอะแล้ว

คืองี้ครับ อรัมภบทหน่อยนะครับ
ทีู่้รู้ๆกันคือการรับน้ำหนักของโครงสร้างอาคารจะถ่ายน้ำหนักของอาคารทั้งหมดที่มีไปที่ฐานราก
และฐานรากจะมีอยู่สองอย่างคือ ฐานรากแผ่ กับฐานรากแบบเสาเข็ม จะเลือกแบบไหนตอบง่ายนิดเดียว
คือว่าน้ำหนักอาคารที่ลงไปแต่ละฐานรากมีเท่าไร เอาไปลบกับการรับน้ำหนักของดินตรงนั้น ว่ารับได้ไหวหรือป่าว
ถ้ารับได้ก็ใช้ฐานแผ่ ถ้ารับไม่ได้ก็ต้องเป็นเสาเข็มทิ่มลงไปอยู่บนที่ชั้นดินที่แข็งกว่า

ทีนี้ไปดูเสาเข็มการรับน้ำหนักของเสาเข็มมันก็มีสองส่วนคือ รับน้ำหนักที่ปลายเข็มกับ กับแรงฝืดรอบเข็มอย่างไหนมากกว่ากัน
ตอบคือถ้าปลายเข็มไปนั่งอยู่บนชั้นดินแข็งนะ จะรับน้ำหนักได้เป็นหลายเท่าของแรงฝืดเลยทีเดียว


















ทีนี้จะรู้ได้ไงว่าดินตรงนั้นเป็นยังไงรับได้เท่าไร ต่อให้วิศวกรเก่งแคไหนมาดูหน้างานก็ไม่รู้ครับ มั่วเอาทั้งนั้น
นอกจากการทำการทดสอบ

คือสภาพดินที่อยู่ใต้ดินมันไม่เท่ากันครับ (ไม่เรียบเหมือนผิวดิน)ตามรูป













แล้วการทดสอบก็มีหลายอย่างครับคือว่าเราอยากรู้อะไรและอยากรู้แม่นแค่ไหน ยิ่งแม่นมากก็แพงมากครับ
เช่น อยากรู้ว่าเราจะวางฐานรากแผ่ที่ระดับลึกจากผิวดินไป 1 เมตร ดินจะรับน้ำหนักได้เท่าไร ก็ต้องขุดเอาดินตรงนั้นไปทดสอบ หาค่าความหนาแน่นของดิน ฯลฯ แล้วคำนวนหา
การรับน้ำหนักของมันครับ แต่ถ้า่อยากรู้แบบแม่นๆ ก็ ต้องเอาน้ำหนักจริงมากดแล้ว ค่อยๆเพิ่มๆดูว่ามันพังที่กี่ตัน
ผมเคยทำงานที่โรงกลั่น จ้างคนมาทดสอบ เอาแมคโคตัวใหญ่มากด รอหลุมละครึ่งวัน หลุมละหลายบาทเลย แล้วเขาอยารู้ทุกจุดด้วยนะ บาน

แต่ ที่คนส่วนใหญ่ทำการทดสอบการรับน้ำหนักของดินกันคือ การทำ Borring Log คือการเจาะเอาดิน โดยใช้ปั้นจั่นตัวเล็ก เจาะเอาดินมาแล้วทำบันทึกชั้นดินแต่ละชั้น
แล้วเก็บตัวอย่างไปทดสอบในแลป ว่ามีดินแต่ละชั้นเป็นไงมีคุณสมบัติยังไง แล้วเอามาคำนวน หาการรับน้ำหนักของดิน อยากรู้กี่จุด ก็สั่งได้ตามงบ

บางคนต้องการจะรู้ว่าเขาจะต้องตอกเข็มยาวเท่าไรเขาก็สั่งเข็มยาวๆมาลองตอกดูเลยครับ ตอกหลายๆจุดบน site เพราะใต้ดินไม่เหมือนกัน
เรียกว่า pilot test แล้วเอาค่าการทรุดตัวของเสาเข็มในแต่ละตุ้มที่ตอกลงไป โดยนับจำนวนตุ้มเทียบกับการทรุดของเสาเข็มเท่าไร
มาคำนวนการรับน้ำหนัก เรียกว่า Blow count ตอกเสร็จไม่มั้นใจเข็มเทสเข็มอีก แล้วแต่ความกลัวครับ

ที่ง่ายหน่อยคือ ถามข้างเคียงครับว่าเขาใช้เข็มเท่าไร แต่ได้แค่ใกล้เคียงนะครับ
กับอีกวิธีนึงคือถามบริษัทตอกเข็ม เจาะเข็ม เจ้าถิ่นครับ ถามข้อมูลว่าพอรู้ไหม ว่าดินแถวไซด์เราเป็นไง ตอกได้เท่าไร

เรื่องเทสมีอีกเยอะครับ

เสริม นิดนึงครับ การหาค่าความหนาแน่นของดินในสนาม (Field Density ) จะทราบผลแค่ผิวดินส่วนที่ทำการทดสอบเท่านั้นครับว่าแน่นหรือเปล่า
เป็นผลหยาบๆ เพราะเป็นการทดสอบในสนาม คร่าวๆเทียบกับผลในห้องแลป ที่ดินตรงนั้นสามารถทำบดอัดได้สูงสุดเท่าไร เทียบเป็นเปอร์เซนต์เอา
เช่น 90 - 95% เทียบกับ ผลที่ทดสอบในแลป
วิธี ทำ สนุกดีเหมือนทำกับข้าวคือใช้ช้อนตักดินในหลุมจำเพาะขึ้นมา แล้วเอาไปคั่วในกระทะ เตาแกสปิ๊กนิ๊ก หาค่าความชื้น ตอนทำคนมาลุ้นเยอะ
ส่วนใหญ่เอาไว้ใช้กับงานถนนครับเพราะว่าเขาต้องการรู้เดี๋ยวนั้นว่า รถมันบดได้แน่นพอยัง

ต่อตอน 2 ครับ http://my-construction-knowledge.blogspot.com/search/label/ดินทรุดจากการถมที่ก่อนการสร้างบ้านทำยังไง ตอนที่ 2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น