มาต่อเรื่องวิธีการ เลือกเสาเข็ม ว่ามีกี่แบบ และจะเลือกใช้ยังไง
เท่าที่จำได้ประเภทของเสาเข็ม มีดังต่อไปนี้
1. เสาเข็ม สั้น พวกเสาเข็มไม้ หรือ เสาหกเหลี่ยมอัดแรงกลวง, ตัวไอ
2. เสาเข็มตอก เป็นคอนกรีตอัดแรงหล่อสำเร็จ จะมีหลายรูปทรง เช่น กลม เหลี่ยม ไอ เสาเข็มสปัน, เข็มเหล็ก
3. เข็มเจาะ
3.1 เสาเข็มเจาะขนาดเล็ก (สามขาหยั่ง)
3.2 เสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ (รถเครนติดหัวสว่าน คันยังกับยักษ์ เห็นตามโครงการใหญ่ๆในกรุงเทพ)
3.3 เข็มเจาะเสียบ (เจาะดิน เสียบเข็ม แล้วตอกซ้ำ)
3.4 ไมโครไพล์
นึกออกแค่นี้ครับ ใครรู้ว่ามีมากกว่านี้แนะนำด้วยครับ
จะใช้เสาเ็ข็มยังไง เอาทีละอันนะครับ
ก่อน อื่น ถ้าเป็นกรุงเทพ ฟันธง เสาเข็มแน่นอนเพราะดินอ่อน ปากแม่น้ำ ที่แถวนี้อดีตกาลเป็นทะเล ส่วนใหญ่ 90% ชั้นดินแข็ง อยู่ลึกลงไปใต้ดิน ประมาณ 19-22 เมตร ใกล้เคียงกันหมด
็
1. เสาเข็ม สั้น พวกเสาเข็มไม้ หรือ เสาหกเหลี่ยมอัดแรงกลวง เป็นเสาเข็มที่ใช้สำหรับงาน หรืออาคารที่รับน้ำหนักไม่มาก หรือ ฐานรากแบบตอกเข็มปูพรม เช่นพวก รั้ว บ่อปลา กำแพงกันดิน แต่มีอาคารอยู่เยอะเหมือนกันที่ใช้เสาเข็มสั้น เพราะว่า น้ำหนักอาคารที่ลงแต่ละฐานไม่มากและใช้ฐานนึงหลายต้น เลยพอไหว ถามว่า มันจะทรุดไหม ตอบว่าทรุดครับแน่นอน 100% แต่ไม่พัง เพราะ มันจะทรุดตัวเท่าๆกัน ไม่เป็นไร ยืนยันได้ ตัวอย่างคือ บ้านยุคเก่าในกรุงเทพรวมทั้งบ้านผม เป็นเข็มสั้นเกือบทั้งหมด ผมได้ยินมาว่าตึกลุมพินี(ชื่อไม่แน่ใจ)ที่เป็นอาคารสูงยอดแหลมๆอยู่บนสี่แยก ลุมพินี(ตรงข้ามสวนลุมไนท์)ที่เป็นโรงแรมใหย่โตก็เป็นเสาเข็มสั้น เสาเข็มสั้นจะรับน้ำหนักได้จากแรงฝืดรอบตัวเสาเข็มกับดิน และตามหลักวิศวกรรมยอมรับได้ถ้ามันทรุดตัวเท่าๆกันครับ
งั้นต่อเลยนะครับ
2. เสาเข็มตอก มันก็คือเสาเข็มตอกโดยใช้ปั้นจั่นนั่นหละครับ ส่วนใหญ่การตอกเข็มจำเป็นต้องตอกให้ลึกลงไปอยู่ที่ชั้นดินแข็ง ถ้าเป็นกรุงเทพ ก็อยู่ที่ความยาวประมาณ 21 เมตร ส่วนจะใช้เสาเข็มประเภทไหนรูปทรงอะไร ตอบคือ ถ้าเสาเข็มรูปตัว ไอจะเป็นเสาเข็มที่สามารถรับแรงฝืดรอบเสาเข็มแถมมาให้ด้วยเพราะการหล่อเสา เข็มเป็นรูปตัวไอ จะทำให้เสาเข็มมีพื้นที่รอบรูปมากขึ้นกว่า เสารูปสี่เหลี่ยมธรรมดา แต่มีข้อเสียของเสารูปตัวไอคือตอกยาก หักง่ายกว่าเสารูปสี่เหลี่ยม ที่มีพื้นที่หน้าตัดมากกว่า คนตอกเข็มสามารถตอกเข็มเหลี่ยมแรงๆได้มากกว่าเข็มไอ ถ้าเป็นดินแข็งๆ ส่วนใหญ่จะต้องเป็นเข็มเหลี่ยมครับ ไม่งั้นหัวเข็มกระจุย
ส่วนชนิดของเสา เข็มตอกส่วนใหญ่จะเป็นคอนกรีตอัดแรง ที่ต้องอัดแรงเพราะว่าจะสามารถหล่อคอนกรีตได้ยาวกว่าเข็มที่ไม่ได้อัดแรง (ไว้ทีหลังจะอธิบาเรื่องคอนกรีตอัดแรงอีกทีนะครับ มีสองอย่าง อัดแรงก่อน กับอัดแรงหลัง เรื่องมันยาว) จะต้อสั่งจากโรงงานผู้ผลิตเข็มเพื่อที่จะกำหนดคุณสมบัติของเสาเข็มด้วยครับ ไว้ว่าเราต้องการรับแรงเท่าไร
ที่สำคัญของเสาเข็ม อัดแรงอีกเรื่องนึงคือ การขนย้าย กับการยกเข็มขึ้นตอก จะต้องยกตามจุดที่โรงงานเขากำหนดมาให้เท่านั้น ถ้าสังเกตุเสาเข็มที่สั่งมาจากโรงงานนะครับจะเห็นว่าเขาจะมีห่วงอยู่ที่เสา เข็มมาให้ 2 ห่วง โดยเวลาขนส่งจะต้องยกที่ห่วงนี้เท่านั้น ไม่งั้นเข็มจะหักได้ก่อนตอก เสาเข็มจะเสียไปเลย เวลาเขามาส่งเสาที่หน้างานให้สังเกตุด้วยครับว่ามีเสาร้าวหรือเปล่า ถ้ามีให้คืนโรงงานกลับไปเลย หรือทิ้งเสาต้นนั้นไปครับ
เสาเข็มอีกแบบ หนึ่งทีเห็นบ่อยคือ เข็มสปัน จะเป็นเข็มกลม กลวงตรงกลาง มีเพลทเหล็กแปะที่หัวเสา ผลิตโดยใช้เครื่องจักรเหวี่ยง คอนกรีตขณะเทเสาให้กลวงตรงกลาง แล้วอัดแรง ข้อดีของเข็มสปันคือสามารถรับแรงได้มากๆ เหมาะสำหรับโครงการใหญ่ๆ ตอกลึกๆ แต่ข้อเสียคือเสาสปันสามารถรับแรงเฉือนหรือแรงดันจากด้านข้างได้น้อยครับ
หัวใจ สำคัญของเสาเข็มตอกที่ห้ามลืมคือ การเชคโบลเคาท์ครับ ต้องเชคทุกต้นอย่าลืม อย่าปล่อยละเลย ผมเคยเล่าไปแล้วในกระทู้ก่อน หาอ่านดูนะครับ
ต่อไปคือ เสาเข็มเจาะ
เสาเข็มเจาะจะมีหลายแบบเท่าที่แยกออกมาได้คือ
3.1 เสาเข็มเจาะขนาดเล็ก แบบใช้สามขาหยั่ง ขอโฆษณา หน่อยนึงนะครับ ธุรกิจของที่บ้าน คือบริษัทของน้าผม เป็นบริษัทรับทำเข็มเจาะขนาดเล็กนี้แหละครับ ผมกำลังหัดทำเวปอยู่ และก็คิดจะโพสโฆษณาบนบอร์ดครับ (ยังไงช่วยสนับสนุนหน่อยนะครับ) ดังนั้นผมจึงมีความรู้เกี่ยวกับเข็มเจาะแบบนี้พอควร
ลักษณะของเสา เข็มแบบนี้คือการ ตอกปลอกเหล็กเป็นท่อนๆลงไปในดิน แล้วเจาะเอาดินในปลอกขึ้นมาทิ้ง จนถึงระดับดินที่ต้องการ เสร็จแล้ว ใส่เหล็ก เทคอนกรีตลงไปในหลุมที่เจาะไว้ แล้วก็ถอนปลอกออก เป็นอันเสร็จ
ข้อ ดีของเข็มเจาะแบบนี้มีหลายอย่างครับ อย่างแรกคือ มันจะไม่กระทบกระเทือนอาคารข้างเคียงเวลาตอกเข็มครับ เพราะว่าเวลาตอกเข็ม ดินบริเวณข้างเคียงในรัศมี 50 เมตรจะสะเทือนอาจมีผลทำให้อาคารข้างเคียงแตกร้าว หรือเสียหายได้ อาคารที่สร้างติดกับอาคารอื่นข้างเคียง หรืออาคารที่ต่อเติม จำเป็นต้องใช้เสาเข็มแแบบนี้ เพราะปลอดภัย ไม่ต้องกลัวมีปัญหา อีกอย่างคือการเจาะเข็มแบบนี้สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก เพราะเป็นสามขาหยั่ง สามารถเจาะเข็มชิดอาคารข้างเคียงหรือห่างจากผนังออกมาแค่ 0.75 เมตรได้ ความสูงที่ต้องการก็แค่ 3.00 เมตร สามารถมุดเข้าไปตอกเข็มที่ชั้นล่างของอาคารเก่าได้ใน กรณียต้องเสริมเสาเข็ม การรับน้ำหนักก็สามารถรับได้มากพอสมควร อาจมากกว่าเสาเข็มตอกด้วย แต่ข้อเสียก็มีครับ อย่างแรกคือราคาที่แพงกว่าเสาเข็มตอก ประมาณ 2 เท่า และการควบคุมงานควรจะต้องทั่วถึงเพราะในขั้นตอนการทำงาน บริษัทเข็มเจาะจะลักไก่ได้ตลอด เช่น เจาะไม่ถึงชั้นดินที่ควรเป็นบ้าง ไม่ใส่เหล็กให้ครบบ้าง หลุมพังในระหว่างเจาะบ้างทำให้เสาแคบเป็นคอขวด และอีกเยอะครับ ไว้จะตั้งกระทู้ใหม่ เล่ารายละเอียดพร้อมโฆษณาไปในตัวด้วย อิอิ
3.2 เสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ ผมไม่ค่อยรู้รายละเอียดเท่าไร คร่าวๆ หลักการมันก็เหมือนเสาเข็มเจาะขนาดเล็ก แต่เจาะลงไปลึกกว่า ขนาดใหญ่กว่า มีขั้นตอนยุ่งยากกว่าครับ เท่าที่ทราบคือ โดยมากมันจะต้องเจาะให้ทะลุชั้นทราย ลงไปใต้ดิน มากกว่าเข็มเจาะขนาดเล็กจะทำได้ (เกิน 21 เมตร) และมันจะเจอตาน้ำ กับปัญหาการพังทลายของข้างหลุม ต้องใช้สารเคมีเรียกว่า เบนโทไนท์ ป้องกันดินพัง กับเครื่องจักรกลหนักในการทำงาน เช่นพวก steam hammer, Hydraulic jack, หรือการอัดน้ำ
3.3 เสาเข็มเจาะเสียบ มันก็ใช้เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงเหมือนข้อ 2 นั่นแหละครับ แต่ตอนต้นจะเป็นการเจาะรูนำให้เกินระดับความลึกชั้นดินอ่อนเสียก่อน โดยใช้รถเจาะ แล้วค่อยแทงเข็มลงไปตอกซ้ำ ที่ต้องทำแบบนี้ เพราะเป็นการลดการสั่นสะเทือนของอาคารข้างเคียง อาจเป็นแค่บางแนวที่ใกล้กับอาคารข้างเคียงมากเกินไป ข้อเสียคือ จะการรับน้ำหนักของเข็มที่เกิดจากแรงเสียดทานด้านข้างจะลดลงไป และต้องทำงานซ้ำซ้อน ราคาแพงขึ้น
3.4 ไมโครไพล์ ผมไม่ค่อยรู้เรื่องเข็มแบบนี้มากนักครับ เป็นงานเฉพาะทาง ที่เสาเข็มเจาะสามขาหยั่งแบบข้อ 3.1 เข้าไปทำไม่ได้ เพราะไมโครไพล์ จะมีขนาดเล็กกว่า ใช้พื้นที่ในการทำงานน้อยกว่า และก็แพงกว่าด้วย คร่าวๆของไมโครไพล์คือ จะใช้ท่อเหล็กเป็นท่อนๆ ขนาดเส้นผ่าศูยน์กลาง ประมาณ 15-25 เซน ยาวท่อนละ 2-3 เมตร ปลาย 2ด้านเป็นเกลียว ต่อด้วยข้อต่อ ฝังลงไปในดิน แล้วอัดน้ำปูน และฝังท่อเหล็กที่ว่าเป็นเสาเข็มไปเลยครับ
แถม เสาเข็มอีกแบบครับ เป็นรถสว่านทำเข็มเจาะขนาดเล็ก เป็นเสาเข็มเจาะขนาดเล็ก เหมือนข้อ 3.1 แต่สามารถ เจาะความลึกได้จำกัด อาจแค่ 6-8 เมตร ขึ้นอยู่กับความยาวของสว่านที่วางอยู่หลังรถ 10ล้อแค่นั้น ถ้าเกินกว่านั้นก็ทำไม่ได้ ส่วนใหญ่ผมเห็นอยู่ตาม ภาคกลาง กับแถบชลบุรี ที่ชั้นดินมีความลึกไม่เกิน 8.00 เมตร รับงานเจาะเข็มได้ถูกกว่า เพราะขนย้ายง่ายและทำได้ง่ายกว่า
ขออนุญาตฝากลิงค์นะคะ
ตอบลบสำหรับผู้ที่สนใจชื่นชอบการเสี่ยงดวง เชิญทางนี้
เกมส์คาสิโน แทงบาคาร่า, เล่นรูเล็ต , กำถั่ว และอื่นๆ อีกมากมาย
https://www.111player.com
ขอแชร์นะคะ
ตอบลบขอแชร์นะคะ
ตอบลบขออนุญาต ฝากสินค้าหน่อยครับ
ตอบลบราคากันเอง ผู้รับเหมาสบายใจเราก็โอเคคับ.
#บริการตอกเข็ม Micropile
Tel:064-1969024
Line ID:armza3007
# รับตอกเสาเข็มไมโครไพพ์ (ปั่นจันขนาดเล็ก) ในพื้นที่จำกัด
# เข็ม I-18 ,I-22 กลม 20 , กลม 25 มีให้เลือกตามความเหมาะสม
# ตอกลึก 18-20 เมตร
# ตอกลึกถึงดินชั้นดินดาน
# สามารถตอกได้ในพื้นที่แคบๆ (งานต่อเติม งานปรับปรุง)
#หน้างานไม่เลอะ ลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง
#แรงสั้นสะเทือนน้อย
รับงานทั่ว กรุงเทพ ปริมณฑล และจังหวัดใกล้เคียง
ควบคุมการดูแล และให้คำปรึกษาโดยวิศวกรมืออาชีพ ฟรี
สนใจติดต่อ 064-1969024