วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2552

เล่าเรื่องพื้นๆ ตอนที่ 3 พื้นไร้คาน (Flat Slab)

ต่อตอนที่ 3 นะครับ


1.3. พื้นไร้คาน (Flat Slab)

พื้นชนิดนี้ก็คือ พื้นคอนกรีตหล่อในที่เหมือนพื้นออนบีมนั่นเอง แต่เป็นการออกแบบคนละระบบกัน เพียงแต่ว่าพื้นไร้คานเป็นพื้นที่ทำการออกแบบโดยไม่ได้มีการถ่ายน้ำหนักไปยังคาน (ชื่อมันก็บอกอยู่แล้วว่าพื้นไร้คาน มันจะมีคานได้ไง 55)

ทีนี้หลายคนคงสงสัยว่า เอ๊ะ พื้นไร้คานแล้วมันจะอยู่ได้มั๊ย แข็งแรงมั๊ย ตอบคืออยู่ได้ครับ และพื้นแบบนี้อาคารขนาดใหญ่นิยมทำมากกว่าพื้นออนบีมซะด้วยซ้ำ คำถามต่อมาคือ

“อ้าวถ้างั้นบ้านทั่วๆไปทำไมถึงไม่นิยมใช้ล่ะ เห็นไปที่ไหนก็คานตรึม ถ้าไม่มีคานได้ แล้วจะสร้างคานไปทำไม”

ตอบคือ ผมว่ามันอยู่ที่ความคล่องตัวของผู้ออกแบบมากกว่าครับ เช่นอาคารขนาดเล็กพวกบ้าน, สำนักงาน ลักษณะรูปแบบการวางผังของอาคารจะไม่เป็นกริดๆเป็นตารางๆ การออกแบบพื้นให้เป็นระบบพื้นออนบีมจะสามารถทำการถ่ายน้ำหนักได้ง่ายกว่าและทำให้โครงสร้างโดยรวมประหยัดกว่า การออกแบบพื้นเป็นพื้นระบบไร้คานครับ

เพราะสมมุติฐานของการออกแบบพื้นไร้คานคือ “แผ่นพื้นที่เสริมเหล็กสองทางหรือมากกกว่า และถือเสมือนว่าเป็นแผ่นพื้นเดียวทำการถ่ายน้ำหนักไปยังหมวกหัวเสา หรือ แป้นหัวเสา และทำการถ่ายน้ำหนักไปยังเสาอีกที” ทำให้ความหนาของแผ่นพื้นไร้คานในบางช่วงต้องหนามาก และไหนยังเรื่อง ระบบการก่อสร้างที่ไม่ชำนาญ, การทำแป้นหัวเสา, การทำหมวกหัวเสา(ดูรูป)





















ต่างกันกับการออกแบบโครงสร้างให้เป็นระบบเสา,คาน คือ พื้นบางช่วงจะเป็นพื้นทางเดียว, พื้นสองทาง, พื้นยื่น อาจเสริมเหล็กไม่เท่ากัน ทำให้ต้นทุนในการก่อสร้างถูกกว่า และผู้รับเหมาคนไทย, ช่างไทย ทำพื้นออนบีมชำนาญมาก (อาจตีลังกาทำได้) บางท่านอาจทำโดยไม่ต้องดูแบบแค่นึกภาพเอาก็ทำได้


แต่ข้อดีของพื้นไร้คานก็มีเหมือนกันครับ คือ อย่างแรกคือ เมื่อมันไม่มีคาน มันก็สามารถเพิ่มความสูงของระดับชั้นต่อชั้นได้(Floor to Floor height) (การออกแบบของอาคารเรื่องความสูงของพื้นถึงฝ้าบางโครงการมีความจำเป็นมาก เช่นพวกอาคารที่มีความต้องการจำนวนชั้นมากๆ แต่ถูกควบคุมโดยกฎหมาย ห้ามความสูงเกินเท่านั้นเท่านี้ ทำให้ระดับความสูงของชั้นแต่ละชั้นจำเป็นมาก) ที่เพิ่มได้ก็เพราะมันไม่มีคานนั่นเอง


อีกเรื่องคือลักษณะของอาคารที่เป็นกริดๆ ตารางๆ เท่ากัน ซ้ำๆกันหลายชั้น การออกแบบให้เป็นพื้นไร้คานอาจสามารถทำให้ลดต้นทุนในการก่อสร้างได้ อย่างน้อยคือเรื่องระยะเวลาการก่อสร้าง โดยเฉพาะผู้รับเหมาหรือช่างที่ชำนาญ สามารถทำได้เร็วมาก ส่วนเรื่องปริมาณวัสดุเช่นจำนวนคอนกรีตกับเหล็กเสริม ผมว่าขึ้นอยู่กับการออกแบครับว่าจะเป็นยังไง ถ้าสำหรับตัวผมที่เคยทำ ผมว่ามันขึ้นอยู่กับลักษณะอาคารมากกว่า บางอาคารก็ประหยัดได้ บางอาคารก็ไม่ครับ

5 ความคิดเห็น:

  1. ขออนุญาตฝากลิงค์นะคะ
    ขั้นตอนง่ายๆ กับการสมัครเล่นบาคาร่าออนไลน์ ให้บริการเกมส์คาสิโนอันดับหนึ่งและมีรูปแบบโปรแกรมที่ใช้งานง่าย ที่นี่เลยค่ะ
    https://www.111player.com

    ตอบลบ